“ปตท. - บีไอจี” ใช้ไฮโดรเจนกลุ่ม Mobility ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมไทย

“ปตท. - บีไอจี” ใช้ไฮโดรเจนกลุ่ม Mobility ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมไทย

“ปตท. - บีไอจี” เล็งใช้ไฮโดรเจนในกลุ่ม Mobility ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ระบุ การลงทุนด้านเทคโนโลยีจะต้องคูณด้วยเศรษฐกิจประเทศด้วย

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวในงานสัมมนา New Energy หัวข้อ การขับเคลื่อนพลังงานสะอาดด้วยนวัตกรรม จัดโดย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แม้ว่าปริมาณพลังงานในประเทศไทย มีใช้เพียงพอที่ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ในการนำเข้า 77% ดังนั้น ในเรื่องของราคาที่ผันผวน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานสะอาด ปตท. นำเข้าสู่ตลาดไทย ในอดีตก๊าซธรรมชาติมีเสถียรภาพค่อนข้างมีราคาถูก และเป็นพลังงานสะอาด เมื่อเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 40 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ดังนั้นการทำนวัตกรรมใหม่ อาทิ ไฮโดรเจน จึงถือเป็นโอกาสของพลังงานทดแทน

ทั้งนี้ ปตท. ได้กำหนดแผนกลยุทธ์  Go Green และ Go Electric เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก Electric จะเป็นพลังงานหลักในการที่จะใช้ และพลังงานตอบโจทย์เวที COP26 สามารถเกิดขึ้นได้จริง และที่สำคัญเชื่อว่าก๊าซธรรมชาติ ยังเป็นพลังงานหลักอยู่แต่บทบาทในเรื่องของน้ำมันถ่านหินจะลดลง และอนาคต ดังนั้น พลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มมากขึ้นถือเป็นสิ่งที่ ปตท.เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ Powering life with future energy and beyond

“วันนี้ ปตท.จะทำธุรกิจพลังงานให้เป็น future energy ในราคาที่คนเอื้อมถึงได้ และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโดยใส่นวัตกรรม ขณะเดียวกันเราก็จะไม่จบแค่ Energy ปตท. ทำธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้การผลิตของประเทศไทยเป็น New S-Curve เพื่อทำให้ประเทศไทย มีมูลค่าสูงขึ้น อีกทั้ง AI และ robotics จะต้องเข้ามาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความโปร่งใส และประสิทธิภาพ”

อย่างไรก็ตาม ปตท.จะเพิ่มพอร์ตพลังงานทดแทนจาก 2 กิกะวัตต์ เป็น 12 กิกะวัตต์ ในปี 2030 โดยร่วมกับต่างประเทศที่มีต้นทุนถูก พร้อมกับหานวัตกรรมที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ ส่วนการลงทุนที่ซ้ำซ้อนคือ Energy Storage ถือเป็นพลังงานทดแทนที่ต้องมีระบบกักเก็บพลังงานเพื่อให้มีเสถียรภาพซึ่ง ปตท. ได้ลงทุนแบตเตอรี่ต่อยอดไปสู่รถ EV ครบวงจร และอยู่ระหว่างสร้างโรงงานผลิตรถ EV จะแล้วเสร็จภายใน 2 ปี

“เรากระโดดเข้ามาในอุตสาหกรรมอีวี 2 ปีที่แล้ว เมื่อก่อนยังไม่มีคนทำเยอะ แต่วันนี้เริ่มมีผู้เล่นเยอะกว่าผู้ใช้แล้ว ถือเป็นสิ่งที่โชคดี นอกจากนี้ ยังมี EV มีที่ให้เช่ารถวันนี้เริ่มมีบริษัทรถเช่าเริ่มนำรถเข้ามาให้เช่าแล้ว เชื่อว่าทุกคนช่วยกัน ถือเป็นเรื่องดี ปตท. คิดว่าการทำเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เรามีคู่แข่ง แต่เราต้องการสร้าง Ecosystem ของ EV Value chain เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย 30@30 ของรัฐบาล”

อย่างไรก็ตาม วันนี้ ปตท.เดินในยุทธศาสตร์ที่สามารถแข่งขันได้กับบริษัทพลังงานชั้นนำข้ามชาติและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ ขณะเดียวกันสังคมก็สามารถอุ้มชูได้ในราคาพลังงานที่เหมาะสม เราจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลแต่เงินลงทุนอันนั้น ควรจะต้องมีคูณในเรื่องของเศรษฐกิจด้วย เพราะไม่เช่นนั้น จะเปลี่ยนรูปแบบการซื้อเชื้อเพลิงไปเป็นซื้อเทคโนโลยีจากคนอื่น ถือเป็นโจทย์ และยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เชื่อว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกองค์กร และทุกบริษัทในประเทศไทยเองวันนี้ตื่นตัวในเรื่องพวกนี้ เพื่อก้าวเข้าสู่ในเรื่องของพลังงานสะอาดที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก อินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) หรือ BIG กล่าว บริษัทแม่ของ BIG ได้มุ่งไปสู่เทคโนโลยีไฮโดรเจน ตามเป้าหมายการเข้าสู่ Net Zero ภายในปี 2050 และได้ลงทุนไปแล้ว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยทำไปแล้ว 3 เรื่องสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 20 ล้านตันต่อปี ดังนั้น เมื่อรู้ว่าไฮโดรเจนได้ผลดีกับทุกภาคส่วน จะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยหากจะผลักดันองค์กรไปข้างหน้าทั้งกลยุทธ์เป้าหมายสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ ทำยังไงให้สินค้าผลิตภัณฑ์ช่วยลดคาร์บอน

“กระบวนการผลิตเราก็ต้องลดการปล่อยคาร์บอนด้วย วันนี้เราช่วยเหลือชุมชน ซึ่งโควิด-19 ที่ผ่านมา เราได้นำเอาออกซิเจนไปช่วยโรงพยาบาลให้คนที่ติดโควิด-19 ได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย”

“ปตท. - บีไอจี” ใช้ไฮโดรเจนกลุ่ม Mobility ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT นำเอาพลังงานเย็นจาก LNG มาทดแทนพลังงานไฟฟ้าโดยแยกก๊าซสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 30% อีกทั้ง อุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในการเผาไหม้เยอะ บริษัทได้นำเอาแอปพลิเคชันเข้ามาใช้ในเรื่องของออกซิเจนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือไฮโดรเจน

ทั้งนี้ ปัจจุบันคนจะพูดถึงไฮโดรเจน อีโคโนมี ซึ่งกระทบทุกภาคส่วนเศรษฐศาสตร์ มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพราะมี 75% ในจักรวาล แต่จะอยู่แค่หลัก  2 อย่าง ถ้าไม่ไปแต่งงานกับคาร์บอนก็ไปแต่งงานกับออกซิเจน ในอดีตการเอามาใช้ไม่ง่าย เพราะแยกยาก ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถแยกได้ จากที่เทคโนโลยี Advance ขึ้น ไฮโดรเจนที่ได้จะสามารถใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมอีกมากมาย โดยบริษัท มีแผนร่วมกับ ปตท.นำมาใช้ในอุตสาหกรรม Mobility และจะทำร่วมกับหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง

 

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์