กรมชลประทาน เปิดสถานการณ์น้ำท่วม 23 จังหวัด

กรมชลประทาน เปิดสถานการณ์น้ำท่วม 23 จังหวัด

หลังจากที่ไทยผ่านอุทกภัยครั้งใหญ่ ในปี 54 ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า ในปี 65 นี้จะเกิดน้ำท่วมซ้ำรอย อีกหรือไม่ เพราะเริ่มมีฝนมาตั้งแต่ต้นฤดู และหนักมากขึ้นในเดือน สิงหาคมและกันยายน จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าประเทศไทยอาจจะมีฝนยาวจนถึงเดือน ตุลาคมนี้

รายงานจากกรมชลประทาน ระบุว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นปี 2565 มีสาเหตุเนื่องจากอิทธิพล คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของประเทศไทย (วันที่ 2-10 ส.ค.65)

พายุดีเปรสชัน “มู่หลาน” ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง และเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ ประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาว ตอนบน (วันที่ 11-13 ส.ค.65) ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความ กดอากาศต่ำบริเวณประเทศเมียนมาตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง (วันที่ 20-22 ส.ค.65)

 

กรมชลประทาน เปิดสถานการณ์น้ำท่วม 23 จังหวัด กรมชลประทาน เปิดสถานการณ์น้ำท่วม 23 จังหวัด

พายุดีเปรสชัน “หมาอ๊อน” ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณประเทศลาวตอนบน (วันที่ 24-26 ส.ค.65) ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง (วันที่ 5-9 ก.ย.65)

ส่งผลทำให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 45 จังหวัด โดยปัจจุบันมีจังหวัดที่เข้าสู่ภาวะปกติ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน เชียงราย น่าน ลำปาง พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร นครสวรรค์ อุดรธานี เลย สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ระนอง และภูเก็ต

จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ระยอง ฉะเชิงเทรา ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครปฐม

 

ทั้งนี้สถานการณ์ ของ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ เกิดฝนตกหนักและต่อเนื่องช่วงวันที่ 9-10 ก.ย.65 ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมทั้งจังหวัดทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำสาขา สายหลัก เช่น น้ำแม่กลาง มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และล้นตลิ่ง เข้าท่วมหลายพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง สถานีวัดน้ำฝนยอดดอยอินทนนท์ วัดได้ 68.8 มม. สถานีวัดน้ำฝนกิ่วแม่ปาน วัดได้ 85.5 มม. และสถานีวัดน้ำฝนเกษตรหลวงอินทนนท์ วัดได้ 73.0 มม.

ปัจจุบัน ยังมีฝนในพื้นที่อยู่ ทำให้มีพื้นที่น้ำท่วม 12 อำเภอ ได้แก่ อ.จอมทอง อ.กัลยานิวัฒนา อ.สันป่าตอง อ.แม่วาง อ.ดอยหล่อ อ.สะเมิง อ.แม่อาย อ.พร้าว อ.แม่ออน อ.ฝาง อ.แม่แจ่ม และ อ.เชียงดาว เกิดน้ำป่าไหลหลากในลำน้ำระดับน้ำในลำน้ำแม่กลางเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งเข้าท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ

การช่วยเหลือและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักงานชลประทานที่ 1 บริหารจัดการน้ำโดยการยกบานระบายน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำจากน้ำแม่กลางลงสู่แม่น้ำปิงโดยเร็ว พร้อมทั้งเปิดบายระบายของ ประตูระบายน้ำแม่สอย 5 ช่อง และได้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

จังหวัดตาก  เกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ ส่งผลให้ภาคเหนือมีฝนตกหนักและหนักมากบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลและพื้นที่ลุ่ม ประกอบกับมีปริมาณน้ำฝนที่ตกรวมถึงลำน้ำสาขาไหลลงสู่แม่น้ำวังเป็นจำนวนมากส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำวังในพื้นที่อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่ง

ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา เนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำวัง ได้ล้นขึ้น เข้าท่วมพื้นที่ บ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรของราษฎร โดยสถานีวัดน้ำ W.23 แม่น้ำวัง อ.สามเงา จ.ตาก มีระดับน้ำ 7.52 ม. สูงกว่าตลิ่ง 1.23 ม. สถานีวัดน้ำ W.24 แม่น้ำวัง อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำ 9.36 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.86 ม. ปริมาณน้ำ 767.30 ลบ.ม./วินาที แต่ แนวโน้มลดลง ยกเว้น สถานีวัดน้ำ W.4A แม่น้ำวัง อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำ 6.94 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.06 ม.ปริมาณน้ำ 542.00 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การช่วยเหลือและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โครงการชลประทานตาก สำนักงานชลประทานที่ 4 ได้แจ้งให้จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นทราบ แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ใกล้แม่น้ำวัง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมรับมือแม่น้ำวังเอ่อล้นตลิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของ อุปกรณ์ต่าง ๆ สัตว์เลี้ยง ไว้ในพื้นที่สูง และเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ เพื่อช่วยเหลือจุดเกิดอุทกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ ต่อไป

 จังหวัดหนองบัวลำภู  เกิดฝนตกหนัก เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 8-11 ก.ย. 65 ในเขตพื้นที่ อ.นากลาง และ อ.นาวัง ทำให้แม่น้ำลำพะเนียงเพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง แม่น้ำลำพะเนียงเอ่อล้นตลิ่งต่ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำลำพะเนียงยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 โดยโครงการชลประทานหนองบัวลำภู สำนักงานชลประทานที่ 5 ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ ในลำพะเนียงอย่างต่อเนื่อง และประสานงานร่วมกับหน่วยงานป้องกันและบรรเทาภัยจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือในพื้นที่

จังหวัด ชัยภูมิ  เกิดจากร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก จึงทำให้ระดับน้ำในพื้นที่พรม-เชิญมีปริมาณน้ำในระดับที่สูงขึ้น และไหลเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ 

ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสาร พื้นที่ ต.ทุ่งพระ ต.ทุ่งนาเลา ต.ดงบัง ต.คอนสาร ต.โนนคูณ และ ต.ดงกลาง พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 5,000 ไร่ ถ้าไม่มีฝนตกในพื้นที่เพิ่ม คาดว่าพื้นที่น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพรม-เชิญ มอบหมายเจ้าหน้าที่ เฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างใกล้ชิด

จังหวัดขอนแก่น เกิดจากอิทธิพลจากร่องมรสุมพัดผ่านทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น ประกอบกับปริมาณน้ำที่ไหลจากจังหวัดชัยภูมิ ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำชี แม่น้ำเชิญ ได้รับผลกระทบมีน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  ปัจจุบัน  มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ชุมแพ อ.ภูผาม่าน อ.เมือง และ อ.มัญจาคีรี โดย ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรมและลำน้ำสาขามีปริมาณน้ำในระดับที่สูงขึ้น และไหลเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ ต.หนองเขียด ต.โนนสะอาด ต.โนนหัน ต.ชุมแพ ต.ไชยสอ ต.โนนอุมด และ ต.นาเพียง พื้นที่ประมาณ 3,000ไร่

อ.ภูผาม่าน ระดับน้ำในลำน้ำเชิญสูงขึ้น และไหลเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ ต.โนนคอม และ ต.ภูผาม่านพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ อ.เมือง พื้นที่กลับรถใต้สะพานถนนมิตรภาพ ต.เมืองเก่า ระดับน้ำขึ้นจากเดิม 0.3-0.4 ม. อ.มัญจาคีรี มีน้ำท่วมขังบริเวณ ต.กุดเค้า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.1-0.2 ม.

ทั้งนี้ ถ้าไม่มีฝนตกในพื้นที่เพิ่ม คาดว่าพื้นที่น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยโครงการชลประทานขอนแก่น สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้บริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชี โดยการยกบานระบายน้ำที่เขื่อนชนบทและเขื่อนมหาสารคามขึ้นทุกบาน และยกการระบายน้ำเพิ่มการระบายน้ำที่บึงกุดเค้าให้ลงลำน้ำชีเพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ำให้เร็วขึ้น

จังหวัดร้อยเอ็ด มีสาเหตุจาก อิทธิพล ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงวันที่ 19-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ในเขต จ.ร้อยเอ็ด และจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง เป็นเหตุให้ระดับน้ำ ในลุ่มน้ำชี น้ำยัง ลำเสียวใหญ่ และลำน้ำสาขา เพิ่มสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่ง

ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วม 17 อำเภอ รวมพื้นที่ทั้งหมด 81,191 ไร่ ได้แก่ อ.เกษตรวิสัย 21,270 ไร่, อ.เสลภูมิ 19,845 ไร่, อ.เชียงขวัญ 8,080 ไร่, อ.ทุ่งเขาหลวง 6,145 ไร่, อ.โพธิ์ชัย 5,957 ไร่, อ.ธวัชบุรี 3,478 ไร่, อ.จังหาร 3,122 ไร่, อ.ปทุมรัตต์ 2,973 ไร่, อ.สุวรรณภูมิ 2,966 ไร่, อ.อาจสามารถ 2,376 ไร่, อ.พนมไพร 2,509 ไร่, อ.โพนทราย 2,156 ไร่, อ.หนองฮี 171 ไร่, อ.โพนทอง 113 ไร่, อ.เมืองสรวง 60 ไร่, อ.เมืองร้อยเอ็ด 19 ไร่ และอ.จตุรพักตรพิมาน 11 ไร่

ทั้งนี้แม่น้ำชี สถานีวัดน้ำ E.66A บ้านม่วงลาด อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำ 11.78 ม. สูงกว่าตลิ่ง0.18 ม. ปริมาณน้ำ 753.00 ลบ.ม./วินาที แต่มีแนวโน้มทรงตัว ด้าน สถานีวัดน้ำ E.95 บ้านวังยาง-หนองแก่ง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำ 7.59 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.09 ม. ปริมาณน้ำ 877.23 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น และที่สถานีวัดน้ำ E.18 บ้านท่าสะแบง อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำ 8.80 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.00 ม. ปริมาณน้ำ 851.87 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น

โดยโครงการชลประทานร้อยเอ็ด ได้จัดเตรียม ติดตั้งพร้อมเดินเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 45 เครื่อง บริเวณท้ายเขื่อนร้อยเอ็ด และติดตั้งผลักดันน้ำ จำนวน 15 เครื่อง บริเวณใต้สะพานค้อเหนือนางาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 5 เครื่อง ที่ ท้าย ประตูระบายน้ำห้วยดางเดียว อ.ทุ่งเขาหลวง

จังหวัดมหาสาคาม  สาเหตุจาก เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณ ต้นแม่น้ำชี ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำชีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน  มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ รวมพื้นที่ทั้งหมด 12,688 ไร่ คือ อ.เมือง  มีพื้นที่น้ำท่วม ต.ท่าตูม พื้นที่ประมาณ 1,229 ไร่ อ.กันทรวิชัย มีพื้นที่น้ำท่วม 2 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าขอนยาง และต.มะค่า พื้นที่ประมาณ 5,688 ไร่ อ.วาปีปทุม มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรบริเวณ ต.หนองแสง ต.โพธิ์ชัย ต.หนองแซง และหัวเรือ พื้นที่ประมาณ 3,450 ไร่

อ.โกสุมพิสัย(เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย) มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรและบริเวณชุมชน ต.เลิงใต้ และ ต.แห่ใต้ 3,305 ไร่

 ซึ่งแม่น้ำชี สถานี E.8A บ้านดินดำ อ.เมือง จ.มหาสารคาม ระดับน้ำ 9.90 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.40 ม. และมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยโครงการชลประทานมหาสารคาม สำนักงานชลประทานที่ 6 ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สำนักเครื่องจักรกล ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่เขื่อนมหาสารคาม จำนวน 15 เครื่อง เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำชี และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 12 เครื่อง เพื่อเร่งผลักดันน้ำในแม่น้ำชี

จังหวัดยโสธร มี สาเหตุ จากอิทธิพลร่องมรสุมกำลังแรง พาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงวันที่ 19-21 ส.ค.65 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่เป็นเหตุให้ระดับน้ำ ในแม่น้ำชี ลำน้ำยัง ลำน้ำลำเซบาย และลำน้ำสาขา เพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 6 อำเภอ 19,774 ไร่ โดย แม่น้ำชี-ลำน้ำยัง จำนวน 19,395 ไร่ ประกอบด้วย อ.เมืองยโสธร 6,573 ไร่, อ.มหาชนะชัย 4,591 ไร่, อ.ค้อวัง 3,600 ไร่, อ.ทรายมูล 7 ไร่, อ.กุดชุม 26 ไร่ และ อ.คำเขื่อนแก้ว 4,598 ไร่ ลำเซบาย

582 ไร่ ประกอบด้วย อ.คำเขื่อนแก้ว 379 ไร่ 

ซึ่งแม่น้ำชี สถานีวัดน้ำ E.2A (เหนือเขื่อนยโสธร) อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร ระดับน้ำ 11.76 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.24 ม. ปริมาณน้ำ 996.69 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มทรงตัว สถานีวัดน้ำ E.97 อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ระดับน้ำ 11.60 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง -0.90 ม. ปริมาณน้ำ 911.94 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง และ สถานีวัดน้ำ E.20A (เหนือเขื่อนธาตุน้อย) อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำ 9.80 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.20 ม. ปริมาณน้ำ 1,052.67 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น

โดยโครงการชลประทานยโสธร ได้จัดเตรียม เครื่องสูบน้ำ จำนวน 13 เครื่อง, รถบรรทุกน้ำ 1 คัน, เครื่องผลักดันน้ำ (ขอรับการสนับสนุน) จำนวน 12 เครื่อง พร้อมรับมืออุทกภัยตามมาตรการการช่วยเหลือและบรรเทาอุทกภัยของกรมชลประทาน และแจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัดในการประชุมคณะกรมการจังหวัดเป็นประจำทุกเดือน ในการช่วยเหลือประชาชน

จังหวัดอุบลราชธานี  สาเหตุจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “มู่หลาน” เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำเอ่อส้นตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำ ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 8 อำเภอคือ อ.วารินชำราบ น้ำจากลำห้วยพับเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ตำบลคูเมือง, ท่าลาด, โนนโหนน, โนนผึ้ง และแสนสุข ระดับน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 ม. พื้นที่ 2,123 ไร่

อ.เดชอุดม จากลำโดมใหญ่เข้าท่วมพื้นที่ตำบลเมืองเดช,กุดประทาย, ตบหู, กลาง, แก้ง, ท่าโพธิ์ศรี โพนงาม และโนนสมบูรณ์ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.05-0.10 ม.พื้นที่ได้รับความเสียหายประมาณ 1,421 ไร่  อ.นาจะหลวย น้ำจากลำโดมใหญ่เข้าท่วมพื้นที่ตำบลบ้านตูม,โนนสมบูรณ์, พรสวรรค์ และตำบลโนนสวรรค์ พื้นที่การเกษตร คาดว่าจะได้รับความเสียหายประมาณ 1,960 ไร่

อ.นาเยีย น้ำจากลำโดมใหญ่เอ่อเข้าท่วมเส้นทางสัญจรและพื้นที่การเกษตรตำบลนาเรือง ระดับน้ำสูง 0.50-0.60 ม. พื้นที่ได้รับความเสียหาย 104 ไร่  อ.น้ำยืน น้ำจากลำโดมใหญ่เข้าท่วมพื้นที่ตำบลยางใหญ่ พื้นที่การเกษตรประมาณ 151 ไร่  อ.ดอนมดแดง มีน้ำจากลำเซบกเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ตำบลท่าเมืองเป็นพื้นที่การเกษตร คงเหลือประมาณ 64 ไร่  อ.ตระการพืชผล มีน้ำจากลำเซบกเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ตำบลตระการ และขามเบี้ย เป็นพื้นที่การเกษตร คงเหลือประมาณ 285 ไร่ และ อ.ม่วงสามสิบ น้ำจากลำเซบกเอ่อท่วมบริเวณจุดลุ่มต่ำพื้นที่ตำบลดุ่มใหญ่ และตำบลเหล่าบก พื้นที่การเกษตรประมาณ 2,050 ไร่

ซึ่ง ระดับน้ำในลำโดมใหญ่ลดลง และปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลมีแนวโน้มลดลง โดย โครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนลำโดมใหญ่ให้ระบายลงสู่แม่น้ำมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ สำนักเครื่องจักรกล ติดตั้งเครื่องผลัก ดันน้ำในลำน้ำมูล 140 เครื่อง บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร

จังหวัดนครราชสีมา  สาเหตุจากฝนตกหนักในพื้นที่ เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์ปัจจุบัน

มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองยาง เกษตรกรได้รับความเสียหาย 870 ราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 8,592 ไร่ ในพื้นที่ 3 ตำบล 24 หมู่บ้าน ซึ่ง ลำน้ำสายหลักและสายรอง มีระดับน้ำทรงตัวและคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์

โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลกลาง สำนักงานชลประทานที่ 8 ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 8 เครื่อง แบ่งเป็น บริเวณสะพานลำน้ำมูล บ้านขามใต้ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา 8 เครื่อง และเร่งระบายน้ำบริเวณแม่น้ำมูล ด้วยการลดฝายยางทั้งหมดในลำน้ำมูล เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

จังหวัดบุรีรัมย์   สาเหตุจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.พุทไธสง เกิดน้ำไหลหลากบริเวณพื้นที่ ต.พุทไธสง ผ่านท่อระบายน้ำทางหลวงหมายเลข 202 (สายพุทไธสง - บ้านใหมไชยพจน์) อยู่ด้านทิศเหนือเทศบาลตำบลพุทไธสง เข้าท่วมขัง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นคูเมืองโบราณ และมีน้ำท่วมขังบริเวณ พื้นที่เทศบาลตำบลพุทไธสง มีระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 ม. ตาดว่าปริมาณน้ำมีแนวโน้มลดลง หากไม่มีฝนตกซ้ำลงมาในพื้นที่อีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ ภายใน 1 วัน

โดย โครงการชลประทานบุรีรัมย์ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผู้กระทบจากน้ำท่วมขัง และเร่งสำรวจความเสี่ยหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป

 จังหวัดระยอง  สาเหตุจากฝนตกหนักในหลายพื้นที่หลายอำเภอ ทำให้เกิด น้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่ง ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอบ้านค่าย ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง มีน้ำท่วมในหมู่บ้านจัดสรร และในเขตชุมชนอำเภอเมือง บริเวณ ต.เนินพระ ต.ทับมา และต.เชิงเนิน ซึ่งปริมาณน้ำในคลองทับมาอยู่มีเกณฑ์ปกติ มีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่อง

โดย สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 14 เครื่อง ในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขัง พร้อมทั้งเปิดประตูระบายน้ำจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ประตูระบายน้ำสาย 1,2 และ3 ทับมา และ คลองน้ำหู โดยยกบานพ้นน้ำทุกแห่งเพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปภ.จังหวัดระยอง และมูลนิธิฯเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) สภากาชาดไทย ได้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน และเตรียมศูนย์พักพิง อพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ บริเวณห้าง แม็คโคร สาขาระยอง

 จังหวัดฉะเชิงทรา สาเหตุจากฝนตกต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 3-8 ก.ย.65 ส่งผลให้เกิดสภาพน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร วัด ที่อยู่อาศัย รวมทั้งเกิดฝนตกหนักในพื้นที่โครงการฯรังสิตใต้ ปริมาณฝนสะสมวัดได้ 100 มม. ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ  คือ อ.ท่าตะเกียบ (สชป.9) ปริมาณน้ำหลากเข้าท่วมบริเวณอำเภอท่าตะเกียบบางส่วนได้ไหลลงอ่างฯสียัด และไหลลงด้านท้ายอ่างเก็บน้ำคลองสียัด   อ.สนามชัยเขต (สชป.9) เกิดน้ำไหลหลากบริเวณลงอ่างเก็บน้ำคลองระบม และไหลลงในคลองระบมด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ และ อ.บางน้ำเปรี้ยว (สชป.11) ปริมาณน้ำในคลองหกวาสายล่างล้นตลิ่งเป็นช่วงๆ เกิดน้ำท่วมขังบริเวณ ม.1 ต.ดอนฉิมพลี ได้รับผลกระทบ 30 ครัวเรือน

ซึ่งสภาพน้ำหลากบริเวณพื้นที่ต่างๆจะทรงตัวและค่อยๆลดระดับโดยระบายลงสู่คลองระบมและคลองสียัด ภายใน 1-3 วัน หากไม่มีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มเติม ขณะที่ปริมาณน้ำในคลองระบมและคลองสียัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งต้องติดตามสภาพน้ำในคลองท่าลาดซึ่งเป็นจุดรวมของคลองระบมและคลองสียัด

โดยโครงการชลประทานฉะเชิงเทรา และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสียัด สำนักงานชลประทานที่ 9 แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้หน่วยงานในพื้นที่ทราบ ขณะที่หน่วยงานปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานชลประทานที่ 11 เร่งระบายน้ำลงพื้นที่ตอนล่าง ออกทาง สน.เสาวภาผ่องศรี และ สน.สมบูรณ์ ลงแม่น้ำนครนายก

 จังหวัดลพบุรี  สาเหตุจากฝนตกในพื้นที่เมื่อวันที่ 4-10 ก.ย.65 ที่ผ่านมาในพื้นที่ อ.สระโบสถ์​ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี​ ส่งผลให้เกิดน้ำหลากเข้าพื้นที่การเกษตร ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.โคกสำโรง (โครงการชลประทานลพบุรี) เกิดปริมาณน้ำป่าไหลหลาก เข้าเขตพื้นที่ อ.โคกสำโรง และเดินทางถึงพื้นที่บริเวณฝั่งซ้ายคลองชัยนาท- ป่าสัก ส่งผลทำให้ เขตพื้นที่บ้านหลุมข้าว มีปริมาณน้ำสูงขึ้นในคลองธรรมชาติ ทำให้พื้นที่การเกษตรเกิดปริมาณน้ำท่วมขัง 15-30 ซม. จำนวน 300 ไร่ (ในพื้นที่เขตชลประทาน)

อ.บ้านหมี่ (โครงการชลประทานลพบุรี) เกิดฝนตกสะสมไหลบ่ามาจากพื้นที่ดอนดึง ทำให้มีน้ำท่วมบริเวณหนองเมือง ต.หนองเมือง ผลกระทบประมาณ 70 ครัวเรือน คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 3-5 วัน เนื่องจากปริมาณน้ำสะสม ในคลองธรรมชาติ ยังอยู่ในปริมาณมาก

โดยโครงการชลประทานลพบุรี สำนักงานชลประทานที่ 10 ได้เตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่คอยประสานงานกับหน่วยงานเฝ้าระวังในพื้นที่แจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

 จังหวัดสระบุรี  สาเหตุเนื่องจากมีฝนตกหนักสะสมในพื้นที่ ต.พุกร่าง อ.พระพุทธบาท  โดยมีปริมาณน้ำฝนที่สะสมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ เกิดน้ำท่วมขังในนาข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วมที่ อ.พระพุทธบาท โดยมี น้ำท่วมขังนาข้าวพื้นที่ ต.พุกร่าง ประมาณ 30 ไร่  ซึ่งทำการเร่งระบายโดยการสูบน้ำคาดว่าระดับน้ำจะลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติ โดยโครงการชลประทานสระบุรี สำนักงานชลประทานที่ 10 ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ประสบภัย แจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

จังหวัดปทุมธานี สาเหตุ จากเกิดฝนตกหนักเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ในพื้นที่โครงการฯรังสิตใต้ ปริมาณฝนสะสมวัดได้ 100 มม. จึงทำให้ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่บางจุด ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ คือ  อ.ธัญบุรี ปริมาณน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ มีน้ำล้นตลิ่งเป็นช่วงๆ ทำให้เกิน้ำท่วมขังบริเวณใต้สะพานข้ามคลองรังสิตฯ (ถนนวิภาวดี-รังสิต) ต.ประชาธิปัตย์ ส่งผลกระทบต่อการจราจร และ อ.ลำลูกกา คลองหกวาสายล่างล้นตลิ่งเข้าท่วมบริเวณ ม.3-4 ต.พืชอุดม ได้รับผลกระทบ 50 หลังคาเรือน

 ซึ่ง คลองรังสิตประยูรศักดิ์ และคลองหกวาสายล่าง ยังคงมีระดับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนและน้ำจากพื้นที่ตอนบนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น  โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักงานชลประทานที่ 11 เร่งระบายน้ำลงพื้นที่ตอนล่าง ออกทาง สน.เสาวภาผ่องศรี และ สน.สมบูรณ์ ลงแม่น้ำนครนายก รวมถึงระบายน้ำลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ผ่านคลองซอยที่ 14-17 พร้อมทั้งเดินเครื่องสูบน้ำที่ปากคลองรังสิตฯ จำนวน 20 เครื่อง

จังหวัดสมุทรปราการ มีสาเหตุจากมีย่อมความกดอากาศต่ำพาดผ่านจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 - 16 กันยายน 2565 บริเวณพื้นที่อำเภอบางพลี รวม 242.00 มม. ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่เป็นจำนวนมากจนเกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบ่อ (จุดที่ 1) มีฝนตกหนักส่งผลให้ปริมาณน้ำมาก จึงเกิดน้ำล้นตลิ่งที่มีระดับต่ำกว่า 0.20 ม.  อ.บางเพรียง (จุดที่ 2) เกิดน้ำล้นตลิ่งที่มีระดับต่ำกว่า 0.20 ม. และ อ.บางเสาธง (จุดที่ 3) มีฝนตกหนักส่งผลให้ปริมาณน้ำมาก จึงเกิดน้ำล้นตลิ่งที่มีระดับต่ำกว่า 0.20 ม.

คาดว่าหากไม่มีฝนตกในพื้นที่เพิ่มขึ้น สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติภายใน 2 - 3 วัน โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร สำนักงานชลประทานที่ 11 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ รวม 20 เครื่อง  และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 4 เครื่อง ที่ สำนักชลประทานชลหารพิจิตร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  สาเหตุจากเกิดฝนตกในพื้นที่ประกอบกับการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำ รวม 10 อำเภอ   คือ อ. บางบาล (เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล) บริเวณ ต.บ้านคลัง ต.น้ำเต้า ต.บางชะนี ต.วัดตะกู ต.บางหลวงโดด ต.บางหลวง ต.ทางข้าง ต.กบเจา ต.บางหัก ต.บางบาล ต.วัดยม และ ต.ตะพานไทย จำนวน 1,179 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.3-1.76 ม. (เขตพื้นที่โครงการชลประทาน พระนครศรีอยุทธยา) น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองบางกุ้ง ต.บางกุ่ม

.อ.เสนา (เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล) ปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำน้อยบริเวณ ต.บ้านแพน จำนวน 36 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 2.30 ม. ต.หัวเวียง จำนวน 14 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.5-1.30 ม. (เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่) มีน้ำท่วมขังใต้ถุนบ้านริมแม่น้ำน้อยบริเวณ ต.บ้านบางกระทุ่ม ต.หัวเวียง ต.บ้านโพธิ์ และ ต.รางจระเข้ จำนวนประมาณ 87 ครัวเรือน

อ.ผักไห่ (เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่) มีน้ำท่วมขัง ใต้ถุนบ้านริมแม่น้ำน้อยบริเวณ ต.ท่าดินแดง ประมาณ 50 ครัวเรือน (เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี) ปริมาณน้ำท่วมใต้ถุนบ้านประมาณ 10-40 ซม. บริเวณ ต.บ้านโคก ประมาณ 40 ครัวเรือน 

อ.ท่าเรือ(เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงเพรียว-เสาไห้) มีน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ฝั่งซ้ายคลองระพีพัฒน์ กม. 1+800 ตำบลท่าหลวง เป็นพื้นที่ประมาณ 300 ไร่อ.วังน้อย(เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้) น้ำท่วมขังที่พักอาศัยและพื้นที่การเกษตร ต.หันตะเภา และ ต.ชะแมบ พื้นที่ประมาณ 1000 ไร่

อ.นครหลวง(เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง) น้ำท่วมขังต.บ่อโพง ในพื้นที่การเกษตร 500 ไร่ และต.บ้านเกาะ พื้นที่การเกษตร250 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการเสียหาย 10 ครัวเรือน

อ.อุทัย(เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครหลวง) มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร ต.ข้าวเม่า ประมาณ 1,972 ไร่ (เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้) มีพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณบ้านพักอาศัยและพื้นที่การเกษตร บริเวณต.เสนา และ ต.บ้านหีบ

อ.บางปะอิน(โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา) มีน้ำท่วมขังพื้นที่ชุมชนระดับน้ำสูง 0.5 ม.บริเวณชุมชนคลองบ้านเลน ชุมชนคลองตามา คลองบ้านเลน ต.บ้านเลน และชุมชนคลองจิก ต.คลองจิกอ.บางไทร(โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา) มีน้ำท่วม

พื้นที่เพาะปลูกคลองร่มไทร ต.ช้างใหญ่ รวม 1,600 ไร่อ.พระนครศรีอยุธยา(โครงการชลประทานพระนครศรีอยุทธยา)

มีน้ำท่วมขัง ต.คลองสวนพลู ระดับน้ำสูง 0.50 ม.

ปัจจุบันกรมชลประทานได้เพิ่มการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยาตามปริมาณน้ำเหนือที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน (06.00 น.) เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 1,948 ลบ.ม./วินาที  แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีวัดน้ำ C.35 บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำ 4.47 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.12 ม. (ระดับตลิ่ง 4.35 ม.) ปริมาณน้ำ 1,188.00 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น

คลองโผงเผง สถานีวัดน้ำ C.36 บ้านบางหลวงโดด อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำ 5.86 ม.รทก. สูงกว่าตลิ่ง1.50 ม.รทก. (ระดับตลิ่ง 4.36 ม.รทก.) ปริมาณน้ำ 768.00 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น

 แม่น้ำน้อย สถานีวัดน้ำ C.67 บ้านบางหลวงโดด อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำ 4.96 ม.รทก. สูงกว่าตลิ่ง 2.21 ม.รทก. (ระดับตลิ่ง 2.75 ม.รทก.) แนวโน้มทรงตัวและที่สถานีวัดน้ำ C.68 ตลาดเสนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำ 3.95 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.75 ม. แนวโน้มทรงตัว

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นในอัตราระหว่าง 1,800-2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.40-0.50 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ

โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมทั้งทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนในพื้นที่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง โดยสูบจากคลองระบายใหญ่มหาราช 3 ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ ปตร.บางกุ้ง

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 6 เครื่อง เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 3 เครื่อง และรถสูบน้ำเคลื่อนที่ชนิดไฟฟ้า จำนวน 4 คัน

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 15 เครื่อง บริเวณแม่น้ำน้อย ที่ ปตร.กุฎี 3 เครื่อง ปตร.วัดใบบัว 3 เครื่อง ปตร.คลองตานึ่ง 1 เครื่อง ปตร.เจ้าเจ็ด 2 เครื่อง คลองตาแย้ม 2 เครื่อง บ้านใหญ่ 1 เครื่อง และ ปตร.ลาดชะโด 1 เครื่อง และ ปตร.บางกุ้ง 1 เครื่อง

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงราง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 2 เครื่อง บริเวณ ปตร.เกาะเลิ่ง ต.บางเพลิง และ ต.ทางกลาง อ.บางปะหัน และกำลังดำเนินการขอรับการสนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำ 10 เครื่อง เพื่อติดตั้งที่ปลายคลองบงพระครูก่อนระบายลงแม่น้ำป่าสัก 5 เครื่อง และหน้าโรงปูน SCG ท่าหลวง อีก 5 เครื่อง

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองเพรียว-เสาไห้ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 1 เครื่อง โดยสูบน้ำจากพื้นที่ลงคลองระพีพัฒน์บริเวณ กม.1+800 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 2 เครื่อง เพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่ลงสู่คลองระบายใหญ่ป่าสักใต้และโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง บริเวณศูนย์สิลปาชีพเกาะเกิด และ ท่อระบายน้ำคลองตามา

จังหวัดอ่างทอง สาเหตุเกิดจากฝนตกในพื้นที่ ประกอบกับการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำและบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำน้อย นอกเขตคันกั้นน้ำ รวม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำน้อยในพื้นที่บ้านเรือนราษฎร หมู่ 1,2,3,6,7,8,9,10,11,12 ต.บางจัก ระดับน้ำประมาณ 0.1-0.3 เมตร บ้านเรือนได้รับผลกระทบประมาณ 416 หลังคาเรือน ,ที่ ต.ไผ่ดำพัฒนา ระดับน้ำท่วมขังในแปลงนา 0.30-0.40 ม. พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ,ที่ ต.สี่ร้อย น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำน้อยในพื้นที่บ้านเรือนราษฏร หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7 ระดับน้ำประมาณ 0.10–0.30 เมตร จำนวน 53 ครัวเรือน

อ.โพธิ์ทอง เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.3-0.4 เมตร พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ และอ.ป่าโมก (เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล) มีน้ำท่วมขังพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ บริเวณ ต.โผงเผง จำนวน 102 ครัวเรือน

 ซึ่งระดับน้ำในแม่เจ้าพระยายังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น โดยการช่วยเหลือและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ สำนักงานชลประทานที่ 12 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 10 เครื่อง และแจ้งเตือนราษฎรที่อยู่ริมตลิ่ง ให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

จังหวัดสุพรรณบุรี  สาเหตุเนื่องจากเกิดฝนตกในพื้นที่ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำเอ่อล้นคลองระบายและมีพื้นที่น้ำท่วมขังการเกษตรลุ่มต่ำ ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วมขังนอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำน้อย 4 อำเภอ พื้นที่่ประมาณ 17,657 ไร่  คือ  อ.อู่ทอง (เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง) ปริมาณน้ำในคลองระบายได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกที่ใกล้เก็บเกี่ยว บริเวณ ต.สระยายโสม ต.ดอนมะเกลือ พื้นที่ประมาณ 4,695 ไร่ 

และ อำเภอบางปลาม้า (เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา) ปริมาณน้ำเอ่อล้นจากคลองระบายใหญ่สองพี่น้องเข้าที่ปลายคลอง ร.1 ซ้ายสองพี่น้อง บ้านดอนยอ ตำบลวังน้ำเย็น จึงทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวจำนวน 102 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.20 ม. และบริเวณ ต.วัดโบสถ์ น้ำท่วมพื้นที่นาข้าว 73 ไร่ ระดับน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรสูงเฉลี่ย 0.50 ม. (เขตโครงการชลประทานสุพรรณบุรี) พื้นที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณ ต.บางปลาม้า ต.โคกคราม ต.บ้านแหลม และ ต.บางใหญ่ พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 3,707 ไร่

อำเภอสองพี่น้อง (เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง) ปริมาณน้ำในคลองระบายได้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกที่ใกล้เก็บเกี่ยว บริเวณ ต.หัวโพธิ์ พื้นที่ประมาณ 5,700 ไร่ (เขตโครงการชลประทานสุพรรณบุรี) พื้นที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณ ต. บางตะเคียน และ ต.บางกุ่ม พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 1,055 ไร่

และอำเภอเมือง (เขตโครงการชลประทานสุพรรณบุรี) พื้นที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณ ต. ทับตีเหล็ก ต.โพธิ์พระยา ต.สนามชัย และ ต.ท่าระหัด พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 2,325 ไร่

คาดการณ์ว่าระดับน้ำในคลองโผงเผงและแม่น้ำน้อย จะลดลงตามปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา โดยเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักงานชลประทานที่ 12 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง ที่คลองระบายใหญ่สามชุก 2 ที่ กม.30+000 หมู่ที่ 6 ต.กระจัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เพื่อเร่งสูบน้ำจากคลองหนองเกวียนเข็น-กระดานป้ายลงคลองระบายใหญ่สามชุก 2

เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา สำนักงานชลประทานที่ 12 เปิด ปตร.ริมแม่น้ำ 7 แห่ง ได้แก่ ปตร.บางใหญ่ ปตร.บางแม่หม่าย ปตร.บ้านกุ่ม ปตร.บางสะแก ปตร.เภาทะลาย ปตร.บางหัวบ้าน และ ปตร.สองพี่น้อง เพื่อระบายน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งโพธิ์พระยา และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในเขตอำเภอเมืองจำนวน 31 เครื่อง บริเวณอำเภอเมืองและอำเภอบางปลาม้า ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 10 เครื่อง บริเวณ ปตร.เภาทะลาย 8 เครื่อง และ ปตร.สองพี่น้อง 6 เครื่อง พร้อมทั้งนำเครื่องจักร รถแบคโฮ จำนวน 7 คัน เข้ากำจัดวัชพืชบริเวณคลองระบายใหญ่สองพี่น้อง หน้าปตร.สองพี่น้อง

เขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่รวม 5 เครื่อง และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณ ปตร.กระเสียว-สุพรรณจำนวน 2 เครื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสองพี่น้อง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่รวม 9 เครื่อง ในพื้นที่ ต.สระยายโสม อ.อู่ทอง, ต.ดอนมะเกลือ และ ต.หัวโพธิ์ อ.สองพี่น้อง

จังหวัดสิงห์บุรี   สาเหตุเนื่องจากวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 07.00 น. เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 1,898 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ  2 อำเภอ คือ อินบุรี และ อ.เมือง รวมจำนวนประมาณ 61 ครัวเรือน ซึ่งระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการระบายของเขื่อนเจ้าพระยา จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป โดย โครงการชลประทานสิงห์บุรี สำนักงานชลประทานที่ 12 มีหนังสือประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 30 เครื่อง บริเวณ ต.บางพุทธา ต.บางมัญ และต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง ต.ทับยส ต.อินธุ์บรี และ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี

จังหวัดชัยนาท สาเหตุเนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง จึงทำให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง ต.หาดท่าเสา ต.ท่าชัย และต.ธรรมมูล จำนวน 13 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 10 ไร่ โดยปริมาณน้ำเริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ

 ซึ่งที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,988 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ที่สถานี C.13 อ.สรรพยา ในอัตราประมาณ 1,898 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน 16.76 ม. ส่งผลทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาทยอยเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ของวันที่15 ก.ย. 65 ในอัตราประมาณ 1,950 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.10 เมตร หลังจากนั้นคงอัตราเดิมต่อเนื่อง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

  โดยสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้ประสานหน่วยงานระดับพื้นที่,เกษตรกร,ท้องถิ่น,อำเภอ,โครงการส่งน้ำฯ และ ปภ.จังหวัด เพื่อให้รับทราบข้อมูลและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ

และ จังหวัดนครปฐม   สาเหตุ เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม ประกอบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้เอ่อล้นตลิ่งต่ำในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม ปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำท่วมนอกคันกั้นน้ำริมแม่น้ำท่าจีน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี อ.บางเลน และ อ.สามพราน เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นตลิ่งบริเวณ สถานีวัดน้ำ T.1

 ขณะที่สถานีวัดน้ำ T.1 ที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ระดับน้ำ 1.64 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.02 ม. แนวโน้มลดลง  ซึ่งระดับน้ำขึ้นอยู่กับจังหวัดการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเล

-และสถานีวัดน้ำ T.14 บ้านตลาดสามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม ระดับน้ำ 0.59 ม.รทก. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.16 ม. แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยระดับน้ำขึ้นอยู่กับจังหวัดการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเล

 การช่วยเหลือในพื้นที่ ทางสำนักงานชลประทานที่ 13 ร่วมกับสำนักเครื่องจักรกล และโครงการชลประทานในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนบริเวณจังหวัดนครปฐมรวม 61 เครื่อง แบ่งเป็น สะพานวัดบางไผ่นารถ 10 เครื่อง สะพานวัดสำโรง 19 เครื่อง สะพานรวมเมฆ 10 เครื่อง สะพานทรงคะนอง 10 เครื่อง และสะพานโพธิ์แก้ว 12 เครื่อง