เฉลิมชัย จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล

เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล

เฉลิมชัย นำทีมติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ย้ำ อยู่ในเกณฑ์ปกติ กำชับกรมชลฯดูแลใกล้ชิด ขณะคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 1,800 - 2,000 ลบ.ม./วินาที

 เมื่อวันที่ 13 ก.ย.  2565 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน  นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้เกี่ยวข้อง ล่องเรือติดตามสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (13 ก.ย. 65) มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ ในเกณฑ์ 1,851 ลบ.ม./วินาที เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของเดือนกันยายน ปี 2564 มีการระบายน้ำอยู่ที่ประมาณ 2,800 ลบ.ม. ขณะที่ปัจจุบันได้ควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในเกณฑ์ 1,799 ลบ.ม./ วินาที

ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะระบายจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลเป็นหลัก ปริมาณน้ำดังกล่าวจึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และกรมชลประทาน จะควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 1,800 - 2,000 ลบ.ม./วินาที

 

เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล

ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำ อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังอยู่ในสถานการณ์ปกติ พร้อมกำชับให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรุงเทพมหานคร และจังหวัดทุกจังหวัด เป็นต้น รวมทั้งประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบสถานการณ์น้ำล่วงหน้า เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด

สำหรับกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สถานีสูบน้ำภาษีเจริญ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร สร้างเสร็จแล้วไม่สามารถเดินเครื่องสูบน้ำได้ นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน  ได้ชี้แจงว่า   โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำภาษีเจริญ เป็นสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำในคลองภาษีเจริญ

ซึ่งเป็นคลองสายหลักที่รับน้ำจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และนครปฐม ก่อนระบายออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมไปถึงพื้นที่ชุมชน พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่โดยรอบริมแม่น้ำท่าจีน สามารถระบายน้ำได้รวม 45 ลบ.ม./วินาที

เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล

ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คืบหน้าแล้วกว่า 87% ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการ ยังต้องดำเนินการในส่วนของระบบไฟฟ้า อย่างรอบคอบและรัดกุม และผู้รับจ้างยังไม่ได้ส่งมอบงานทั้งสัญญาให้แก่กรมชลประทาน เนื่องจากมีการแก้ไขแบบก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่างสูงสุด

 

ส่วนกรณีที่ผู้รับจ้างขออุทธรณ์การงด/ลดค่าปรับ นั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ทำให้การปฏิบัติงานต้องเป็นไปตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมชลประทาน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา นางสาวจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ สส.สมุทรสาคร เขต 3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และได้มีการทดสอบการเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่สถานีสูบน้ำภาษีเจริญ พบว่าเครื่องสูบน้ำสามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ

เฉลิมชัย  จี้กรมชลประทานดูแลเจ้าพระยา ยันไม่กระทบกทม.-ปริมณฑล

สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม อีกทั้งสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในช่วงนี้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ ได้ทำการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาในระยะต่อไป ด้วยการเปิดปิดประตูระบายน้ำ (ปตร.) ตามเวลาน้ำขึ้นน้ำลง อาทิ ปตร.บางพระ ปตร.แป๊ะกง  และ ปตร.ภาษีเจริญ เป็นต้น

แต่ทว่าหากเกิดฝนตกหนักจนระดับน้ำเริ่มเกินระดับควบคุม ทางโครงการฯ จะเดินเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำภาษีเจริญทันที เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ช่วยลดผลกระทบแก่พี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ใกล้เคียง