คุยกับ ‘ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์’ ไทยพร้อมแค่ไหน? ก้าวสู่ยุคฟินเทค - ศก.ดิจิทัล

คุยกับ ‘ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์’ ไทยพร้อมแค่ไหน? ก้าวสู่ยุคฟินเทค - ศก.ดิจิทัล

ยุคสมัยที่โลกขับเคลื่อนไปด้วยความเร็วจากเทคโนโลยีที่ เศรษฐกิจดิจิทัล บิ๊กดาต้า บล็อกเชน และฟินเทค เร่งตัวขึ้นจากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด ความพร้อมขององค์กร และความพร้อมของประเทศในการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนที่สำคัญครั้งนี้

“กรุงเทพธุรกิจ” สัมภาษณ์  ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ Founder & CEO บริษัท Siametrics Consulting และกรรมการผู้จัดการสถาบันอนาคตไทยศึกษา (Thailand Future ) หนึ่งในผู้บุกเบิกสาขาอาชีพ “นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล” หรือ “Data Strategist” ในประเทศไทย รวมทั้งการเป็นนักเศรษฐศาสตร์บิ๊กดาต้า และ “Tech Entrepreneur” แถวหน้าของเมืองไทย

ณภัทรเล่าถึงทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัล และฟินเทคว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกระทบต่อเนื่องในหลายส่วนมากโดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปหันมาอยู่บ้าน ทำงานจากบ้านมากขึ้นธุรกรรมทางการเงิน การลงทุนต่างๆเกิดจากที่บ้าน มีธุรกรรม (transaction) ที่สูงมากในแต่ละวัน

สิ่งนี้ทำให้ผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน รวมทั้ง Retail Consumer  ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก แม้แต่แบรนด์เก่าแก่ที่มีความแข็งแรงอยู่แล้วแต่ยังไม่เคยทำในเรื่องให้บริการส่งสินค้าถึงบ้านก็ต้องหันมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง

โดยเมื่อธุรกิจมีการปรับตัวการพัฒนาของเทคโนโลยี ฟินเทคและดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการพัฒนาแอพลิเคชั่นขึ้นมารองรับ แต่มีการพัฒนาไปในหลายส่วนนำไปสู่ทั้งช่องทางการชำระเงินและการปล่อยกู้ โดยช่องทางการชำระเงิน มีทางเลือกในการซื้อสินค้าและจ่ายเงินมากกว่าเดิมผู้ค้าก็ไม่ต้องมีการเชื่อมโยงกับช่องทางชำระเงินแบบเก่า แต่สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับช่องทางใหม่ๆที่ได้ทำให้ร้านค้าได้ส่วนแบ่งต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

ใช้ข้อมูลเครดิตสกอร์ริ่งปล่อยกู้ 

อีกส่วนก็มีการทำเครดิตสกอร์ลิ่งที่มาใช้แทนข้อมูลจากเครดิตบูโร และนำมาประกอบการตัดสินใจในการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่เรามีข้อมูลในส่วนนี้ได้ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับสถาบันการเงิน

ในตอนนี้ก็คือว่าทุกคนรู้ว่าจุดแข็งของตัวเองคืออะไรก็ยืนอยู่บนจุดแข็งของตัวเอง ธนาคารก็อยู่ในที่ที่เก่งแล้วคงไม่ได้เข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพราะว่ามันไม่คุ้มเพราะเงินของธนาคารมีมากต้องการวอร์ลุ่มที่มากในการปล่อยกู้

แต่ถ้าผมมีธุรกิจฟินเทคแล้วผมไปปล่อยสินเชื่อในที่ที่มีจำนวนคนไม่ได้มาก คนที่ต้องการสินเชื่อก็ไม่ได้มีมาก ซึ่งทางธนาคารมาทำตรงนี้ก็อาจจะเหนื่อย แต่ธนาคารอาจจะใช้รูปแบบว่าปล่อยเงินกู้ให้ฟินเทคปล่อยต่ออีกทีนึงซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบแบบนี้หรือลงทุนร่วมหุ้นกันก็ได้เหมือนกันซึ่งตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างออกไป

“ผมก็มีธุรกิจที่ทำเรื่องปล่อยสินเชื่อให้กับคนที่ไม่มีใครกล้าที่จะปล่อยโดยการใช้ข้อมูลจากเครดิตสกอร์ลิ่ง เสร็จแล้วพบว่าตัวเลขเอ็นพีแอลมันต่ำกว่า 1% ข้อมูลแบบนี้มันทำได้แล้วก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อซึ่งจริงๆแล้วมันดีเพราะว่าสามารถที่จะเปิดโอกาสให้กับคนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่เราแค่ไม่มีข้อมูลอยู่จากพฤติกรรมของเขาที่มากพอในอดีต

เรียกว่าดีกว่าทั้งสองฝ่ายคือทั้งผู้ที่ให้กู้ที่จะได้ผลตอบแทนในตลาดใหม่ส่วนคนที่มาขอกู้ ที่ไม่ได้ต้องการเงินเพื่อไปบริโภคแต่ต้องการที่จะไปทำธุรกิจที่สอดคล้องกับการสร้างรายได้ของเขาซึ่งธนาคารก็ยืนอยู่บนความถนัดของตัวเองไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจในส่วนนี้”

คุยกับ ‘ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์’ ไทยพร้อมแค่ไหน? ก้าวสู่ยุคฟินเทค - ศก.ดิจิทัล

สำหรับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล และฟินเทคที่เข้าสู่โลกของ “Web 3.0”ณภัทร กล่าวบอกว่าเรื่องที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในขณะนี้คือเรื่องของ สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) เช่นเรื่องของ NFT ที่มีการวางรากฐานมานานวันนี้ก็กลายเป็นสินทรัพย์ มีการออกโทเค่นดิจิทัลในหลายรูปแบบ และสามารถเป็นสินทรัพย์ได้ซึ่งจะมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆในระยะ 3 – 5 ปีข้างหน้า

เทคโนโลยีพัฒนาเร็วก้าวกระโดด

ในฐานะที่มีธุรกิจที่ทำอยู่บนเรื่องพวกนี้ก็ รู้สึกทึ่งมากในอัตราการเร่งของนวัตกรรมว่ามันไปไกลมาก แล้วมันเปลี่ยนแปลงทุกวัน มีเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นแล้วมันก็ตายทุกวัน วงจรการเกิดแก่เจ็บตายของเทคโนโลยีพวกนี้ค่อนข้างที่จะสั้นมากเป็นระดับอาทิตย์ บริษัทที่ทำได้ดีวันนี้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ อาจจะไม่อยู่แล้ว ตรงนี้หากมองในมุมของนักลงทุนถือว่าเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง

แปลว่าบนความเปลี่ยนแปลงนี้มีความเสี่ยงมากในมุมนักลงทุน ซึ่งอันนี้คือมองในเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีของบริษัทที่จะร่วมลงทุนในบริษัทที่คิดค้นเทคโนโลยีขึ้นใหม่ก็จะมีความเสี่ยงมากแล้วมันก็เปลี่ยนเร็วมากซึ่งคนที่เข้ามาสู่ธุรกิจนี้ต้องรู้อยู่แล้วมันมีความเสี่ยงสูงอาจจะเป็นการกระจายการลงทุนลงทุนไป 10 บริษัทอาจจะมีสักหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ

“สิ่งที่น่าทึ่งก็คือมันมีผู้ประกอบการเก่งๆที่เข้ามาให้ความสนใจกับตรงนี้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในตลาดขาลงแบบนี้มันยิ่งพิสูจน์ว่าคนที่ทำตรงนี้อยู่ตรงนี้ได้คือมีความหลงไหลในสิ่งนี้สูงมาก ถึงแม้ว่าตรงนั้นยังไม่มาถึงเรื่องแมสแต่ก็ยังมีอะไรที่เกิดขึ้นใหม่ใหม่เช่นเพลย์เม้นใหม่ใหม่ที่สะดวกกว่าแบบเดิมหรือสะดวกกว่าแบบ PayPal

โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคลิปโตเคอเรนซ์ซี่ก็ได้ แต่เป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนที่โอเพ่นซึ่งอันนี้มันเป็นเรื่องที่บียอนเรื่องเหรียญแล้วเพราะเหรียญเป็นเรื่องที่มีการชวนเชื่อมากมีการปั่นมีอะไรที่มันเป็นเรื่องฉาบฉวยซึ่งแล้วแต่คนมองว่าสนุกสนุกหรือเปล่าแต่ผมก็มองว่ามันมีโอกาสมียูทีลิตี้จริงๆ สุดท้ายแล้วมันสามารถสร้างอะไรที่มันเป็นประโยชน์กับโลกจริงๆหรือเปล่าถ้าเกิดไม่มีประโยชน์จะทำไปทำมันก็เสียเวลาเปล่าๆ”

ทั้งนี้ประเทศไทยยังต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น เริ่มการใช้ข้อมูล รวมทั้งในส่วนของฟินเทคก็ต้องพัฒนาอีกมากเริ่มจากการที่ภาครัฐต้องนำเรื่อข้อมูล และเทคโนโลยีดิจิทัล ไปใช้งานให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่ในเรื่องของการทำธุรกิจ แม้แต่งานราชการภาครัฐการให้บริการประชาชน เพราะทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นใช้เวลาน้อยลงได้ผลงานมากขึ้นขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้เรื่องการทำงานบนฐานของข้อมูลเป็น Mindset ของภาครัฐ เพื่อให้การทำงานและการอนุมัติงบประมาณต่างๆมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องคนไทยยังขาดแคลนเรื่องของคนที่มีความสามารถและทักษะดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมมีปัญหาเพราะคนที่เข้าถึงจะชนะทางเศรษฐกิจอย่างมาก มีโอกาสอีกมากเมื่อเทียบกับคนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี แรงงานที่ไม่มีทักษะดิจิทัลก็จะถูกแทนที่ ซึ่งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้มีความแตกต่างกันมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

แนะหน่วยงานกำกับวางบทบามให้ชัดเจน

นอกจากนี้การสร้างความชัดเจนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญในการกำกับดูแล ระหว่างสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกรมสรรพากร ซึ่งบางส่วนก็จะมีที่เกี่ยวข้องกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ด้วย

ซึ่งหน่วยงานก็ต้องมีความชัดเจนในการกำกับดูแล รู้เท่าทันสามารถที่จะสนับสนุน มีการออกกฎหมายที่ทันต่อยุคสมัยไม่ใช่การกำกับดูแลเข้มงวดด้วยกฎหมายที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัย เพราะหากทำเช่นนั้นจะเกิดเป็นอุปสรรคมากกว่าโอกาสที่จะให้ประเทศสามารถพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจดิจิทัลและฟินเทคได้ ซึ่งหากมีอุปสรรคเรื่องพวกนี้สุดท้ายอาจทำให้คนที่มีความสามารถ หรือธุรกิจที่อยากจะเติบโตในสาขานี้ย้ายไปประเทศอื่นๆที่เอื้อต่อการลงทุนมากกว่า

ยังขาดผู้ลงทุน และงบประมาณสนับสนุนที่มากพอ

นอกจากนั้นในแง่ของนักลงทุนที่สนับสนุนกิจการฟินเทค สตาร์ทอัพ โดยเฉพาะในรายที่ยังเริ่มต้นธุรกิจแต่มีไอเดียร์ธุรกิจที่ดี เพราะขณะนี้ Venture Fund ที่ให้การสนับสนุนมักเข้าไปส่งเสริมธุรกิจที่ขึ้นไประดมทุนในระดับซีรี่ย์ที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยพื้นที่ว่างส่วนนี้ไม่มีใครมาสนับสนุนแต่ตรงนี้บางทีก็มีไอเดียที่ดีแล้วมันอาจจะเป็นไอเดียที่เปลี่ยนประเทศได้แต่กลายเป็นว่ามันไม่เกิดเพราะว่าไม่มีใครที่เข้าไปสนใจไปดูแลในส่วนนี้ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่

“ประเทศเราไม่ได้ขาดแค่ทาเลนต์ในสาขานี้เท่านั้นแต่ยังขาดในส่วนที่เป็นนักลงทุนด้วยที่มองว่าศักยภาพของธุรกิจ พวกนี้ก็เป็นเรื่องของนโยบายซึ่งถ้าไปเทียบกับประเทศอื่นๆเค้าสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับล่างมากๆตั้งแต่ไอเดียยังเป็นวุ้นอยู่เลยเค้ากล้าที่จะมีการสนับสนุนมากกว่า ซึ่งหากภาครัฐสามารถเข้ามาสนับสนุนส่วนนี้ได้ก็จะช่วยประคองให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้สามารถอยู่รอดและสร้างสรรค์ผลงานต่อไปได้”ณภัทร กล่าว