DITP เสริมแกร่งธุรกิจใช้ให้เป็น กลไกBCG-คาร์บอนฟุตพริ้นท์

DITP เสริมแกร่งธุรกิจใช้ให้เป็น  กลไกBCG-คาร์บอนฟุตพริ้นท์

เมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ได้จัดกิจกรรมสัมนาเสริมองค์ความรู้และฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ(workshop)ด้าน BCG : เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy),เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy),เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และ Carbon footprint

เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยรับมือและปรับตัวเชิงรุกต่อกติกาการค้าโลกเศรษฐกิจสีเขียว 

สำหรับกิจกรรมนี้DITP ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) นำร่องยกระดับผูประกอบการไทยให้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของ BCG Economy Model  

เบื้องต้น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์คือ : ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน 

การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูป

ของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(CO2- equivalent)

DITP เสริมแกร่งธุรกิจใช้ให้เป็น  กลไกBCG-คาร์บอนฟุตพริ้นท์

ก๊าซเรือนกระจกที่พิจารณา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ,ก๊าซมีเทน (CH4),ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O),ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs),ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)

ทั้งนี้ ก๊าซต่างชนิดกันก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่างกัน หน่วยต่างกัน เปรียบเทียบกันได้อย่างไร เปลี่ยนให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน

ได้แก่ “คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-eq)”

หากผู้ประกอบการมีความเข้าใจเรื่อง Carbon footprint และ BCGแล้วก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจแบบคาร์บอนต่ำซึ่งจะสามารถสร้างแต้มต่อทางธุรกิจได้อีกมากพร้อมเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจเองให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้