สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศโดย TGO

สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศโดย TGO

ปัจจุบัน คำว่า “Net Zero Green House Gas (GHG) Emission” หรือคำว่า “Carbon Neutrality” เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกๆ ที หลายคนก็ยังคงข้องใจว่า มันคืออะไร ทำไมต้องทำให้เกิดเป้าหมายนี้ด้วย?

และมันเกี่ยวกับพวกเราอย่างไร ถ้าเกี่ยวข้องแล้วเราจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและต้องทำอะไรกัน? นี่คือโจทย์ที่ผมและทีมงาน TGO (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) จะค่อยๆ ไขข้อข้องใจในพวกเราได้ทราบเป็นรายประเด็นไป อย่างต่อเนื่องครับ

ก่อนอื่นวันนี้อยากจะพูดถึง กรอบความจริง เกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกรวน หรือ Climate Change Insights เป็นปฐมบท โดยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะขอเทียบเคียงกับหลักอริยสัจของพระพุทธศาสนา ที่เราเคารพ คือ “มนุษย์เราเมื่อ ยังมีกรรมก็ยังต้องเกิดกันเรื่อยๆ ไป เรียกว่า เวียนว่ายตายเกิด เมื่อมีการเกิดก็ต้องเจอกับสภาพ “ทุกข์” หรือสภาพที่เราทนอยู่กับมันในสภาพเดิมได้ยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักรู้ ทั้งนี้ ทุกข์ ที่มีโทษภัยอย่างไร?? เรื่องของเรานี้ คือ ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง เมื่อตระหนักแล้ว ก็ต้องวางเป้าหมายที่จะหลุดพ้นจากทุกข์นั้น คือ ต้องการยับยั้งไม่ให้เกิดภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ สภาพที่เรียกว่า Climate Sensitivity ปัจจุบันมีการกำหนดเป็นเป้าหมายที่วัดผลในรูปแบบอุณหภูมิ 1.5-2.0 องศาเซลเซียล  (สถานการณ์สิ้นทุกข์ คือ สามารถคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5C ให้ได้) สถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศโดย TGO

เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วก็ต้องหาทางทำให้สำเร็จ ซึ่งในทางพุทธแนะนำว่า จะต้องรู้ถึงสาเหตุแห่งทุกข์ว่าเกิดจากอะไร (ภาษาพระ เรียกว่า “สมุทัย”) เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากการศึกษาติดตามข้อมูล พบว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (Average Weather) ในพื้นที่หนึ่งในหลายๆ ภูมิภาค ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ระยะเวลายาว ในทางวิทยาศาสตร์ของ IPCC (Inter-Governmental Panel on Climate Change) หรือคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่าหลังจากยุคปฏิรูปอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสำหรับปี ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 1.2 ± 0.1 °C เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม (1850–1900) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850-2019 โลกเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว 2,390 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) สุดท้าย วันนี้ พวกเรารู้ตัวแล้ว ว่าเราจะต้องเรียกร้อง และ รณรงค์ร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อแก้ปัญหาลดความเสี่ยง ด้วยกิจกรรม ต่างๆ ในวันนี้ หรือ หนทางรอด หรือเรียกว่า สิ่งที่ควรทำวันนี้ครับ ซึ่งก็จะเป็นเรื่อง “ที่สำคัญที่สุด คือ Climate Action?” หรือทางพุทธ ที่เรียกว่า “มรรค” หรือ ทางสายเอก ที่พวกเราต้องมาตั้งหน้าตั้งตาทำกันนั้นเอง ..... ในตอนต่อๆ ไป เราจะเริ่มเจาะลึกในแต่ละประเด็นๆ ไปเลยครับ