Sideways ซื้อเก็งกำไร KBANK TTB SCB (18 ส.ค. 2565)

Sideways ซื้อเก็งกำไร KBANK TTB SCB (18 ส.ค. 2565)

คาดดัชนีฯ Sideways แนวต้าน 1,650 / 1,660 จุด แนวรับ 1,630/1,617 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร KBANK TTB SCB ทางเทคนิค ดัชนีฯ เกิดสัญญาณซื้อเพิ่ม หลังจากปิดเหนือ 1,630 จุด โดยระยะสั้นมีโอกาสแกว่งตัวขึ้นทดสอบ 1,650 จุด

โมเมนตัมลบ คือ FOMC Minutes บ่งชี้ว่า กรรมการเฟดยังมีความ Hawkish ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม เพื่อ ทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯ กลับสู่ระดับเป้าหมาย 2% ไฮไลท์วันนี้ คือ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค. ของ EU และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน รายสัปดาห์ และยอดขายบ้านมือสองเดือน ก.ค.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH AOT KKP CPN MINT KTB BDMS (ซื้อ PTG) พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ DOD KSL RS SYNEX TWPC SAT TMT PORT TK (ซื้อ SKN)

+ Daily Recommendations: KBANK TTB SCB (รับประโยชน์เชิง Sentiment จากการปรับขึ้นของ Bond Yield 10 ปี หลังเฟดมีแนวโน้มเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อยับยั้งเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%)

+ หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ: CENTEL ERW MINT BA AAV CPN

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นของ Bond Yield: KBANK TTB SCB BBL

+ หุ้นกลุ่ม Anti-Oil ได้ประโยชน์ราคาน้ำมันที่ลดลง: TASCO PTTGC SCC

 

ปัจจัยบวก

+ Fund Flow: วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยเพิ่มเป็นวันที่ 8 +5,701.15 ล้านบาท ทำให้มียอดซื้อสะสมเดือน ส.ค. +35,036.57 ล้านบาท และสะสมปี 2022 +152,387.36 ล้านบาท ส่วนตลาดอนุพันธ์ กลับมาเปิดสถานะ Long สุทธิใน SET50 Index futures สูงถึง +19,288 สัญญา (สะสมตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. ถึงปัจจุบัน สูงถึง 206,901 สัญญา)

 

ปัจจัยลบ

- USA: FOMC Minutes บ่งชี้ว่า เฟดยังคงให้ความสำคัญต่อการยับยั้งเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับเป้าหมายระยะยาวที่ 2% ทำให้มีโอกาสที่เฟดจะยังคงเร่งเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยการประชุมเฟดครั้งถัดไปในวันที่ 21 ก.ย. ตลาดคาดว่าคณะกรรมการเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% สู่ระดับ 3.00% ด้วยโอกาส 64.5% และปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็น 3.25% ด้วยโอกาส 35.5%

 

 

 

 

ประเด็นสำคัญ

- EU: เงินเฟ้อเดือน ก.ค. คาด +8.9% YoY และ +0.1% MoM (Vs เดือน มิ.ย. +8.6% YoY และ +0.8% MoM

- USA: จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ คาดที่ 2.65 แสนราย (Vs สัปดาห์ที่แล้ว 2.62 แสนราย)

- USA: ยอดขายบ้านมือ 2 เดือน ก.ค. คาดที่ 4.89 ล้านหลัง (Vs เดือน มิ.ย. ที่ 5.12 ล้านหลัง)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 4: ดัชนีฯ เคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น Sideways Up ตลอดการซื้อขายก่อนปิดตลาดที่ 1,639.72 จุด +9.77 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.4 หมื่นล้านบาท นำบวกโดยกลุ่มธนาคาร +1.39% กลุ่มพาณิชย์ +1.38% กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม +1.13% และกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค +0.53% หุ้นบวก >4% CPR NFC SPRC CPL MAJOR RBF SUTHA TC JWD AFC PLUS BYD HL หุ้นลบ >4% KWI TSR NSI BIOTEC EFORL INSURE BGT TKT

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดลบ: DJIA -0.50% S&P500 -0.72% NASDAQ -1.25% นำลงโดยกลุ่มเทคโนโลยี (Meta Alphabet Netflix) หลังยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ปรับขึ้น หลังจากรายงานการประชุม FOMC Minutes บ่งชี้ว่า กรรมการเฟดมีความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงสุดเท่าที่จำเป็น จนกว่าจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ (แต่ยิลด์อ่อนตัวลงในเวลาต่อมา หลังเฟดส่งสัญญาณว่าอาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจมีความเสี่ยงเผชิญภาวะขาลง) และการร่วงลงของหุ้นกลุ่มค้าปลีก เพราะผิดหวังรายงานผลกำไร 2Q22 หุ้น TARGET (USD0.39 Vs คาด USD0.72) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดลบวันแรกรอบ 6 วัน CAC40 -0.97% DAX -2.04% FTSE -0.27% หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของ UK เดือน ก.ค. สูงกว่าคาดที่ 10.10% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 1982 ทำให้ตลาดกังวลว่า BoE อาจจะใช้นโยบายการเงินเข้มงวดมากยิ่งขึ้น และรายงาน 2Q22 GDP อียู ครั้งที่สอง เติบโตลดลงจากเดิมเล็กน้อย
 

+/- น้ำมันดิบกลับมาปิดบวก ส่วนทองคำร่วงต่อเป็นวันที่ 3: WTI +USD1.58 ปิดที่ USD88.11/บำร์เรล Brent +USD1.31 ปิดที่ USD93.65/บาร์เรล หลังจาก EIA รายงานสต็อกน้ำมันลดลงมากกว่าคาด (น้ำมันดิบ-7.05 ล้านบาร์เรล น้ำมันเบนซิน -4.64 ล้านบาร์เรล Vs คาด -1.7 ล้านบาร์เรล และ -1.09 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ) และ Goldman Sachs คาดว่าน้ำมันดิบจากอิหร่านจะยังไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้จนกว่าจะถึงปีหน้า แม้ทุกฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ส่วนราคาทองคำร่วงต่อเป็นวันที่สาม -USD13.00 ปิดที่ USD1,776.70/ออนซ์ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ จากแรงกดดันดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง 2% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง ส่วนจำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์ลดลง 5% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง 1% ในสัปดาห์ที่แล้ว และลดลง 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

- UK: เงินเฟ้ออังกฤษแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีอีกครั้ง พุ่งขึ้น 10.1% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 1982 โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 9.4% ในเดือน มิ.ย. และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในการสำรวจของรอยเตอร์ที่ 9.8% จากค่าอาหารและค่าพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลให้วิกฤติค่าครองชีพทวีความรุนแรงเป็นประวัติการณ์

- Thailand: รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2023 ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 6.95 แสนล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ 2022 ที่ขาดดุล 7 แสนล้านบาท ภายใต้ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2023 จะขยายตัวได้ 4-5% โดยการจัดทำงบประมาณขาดดุลที่ลดลงนั้น ถือเป็นสัญญาณที่รัฐบาลพยายามจะบอกว่าในอนาคตต้องลดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้มีการปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ควบคู่ไปด้วย

+ Thailand: เลขาธิการบีโอไอ เผยสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 (ม.ค.-มิ.ย.) มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน 784 โครงการ เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ารวม 219,710 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์-ชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมดิจิทัล มีการขยายตัวสูง

+ China: ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 2 พันล้านหยวน (ประมาณ 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 2% ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะรักษาสภาพคล่องในระบบธนาคารให้มีเสถียรภาพอย่างเหมาะสม

แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: ERW AOT CPN

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: KBANK TTB SCB

Derivatives: แนะถือ Long S50U22 รอทำกำไรตามเป้า