TRUE - ขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจหลักหนักขึ้น

TRUE - ขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจหลักหนักขึ้น

TRUE ขาดทุนสุทธิ 761 ลบ. ใน 2Q22 แย่ลงจากที่ขาดทุน 298 ลบ.ใน 2Q21 แต่ดีขึ้นจากที่ขาดทุนถึง 1.6 พันลบ.ใน 1Q22 โดยบริษัทมีการบันทึกกำไร 1.6 พันลบ.จากรายการพิเศษใน 2Q22

ได้แก่ กำไรจากการขายหน่วยลงทุนใน DIF, กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และกำไรจากการปรับมูลค่าเหมาะสมของสินทรัพย์ของบริษัทลูก แต่หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว ผลขาดทุนจากธุรกิจหลักจะเป็นไปตามคาดที่ 2.3 พันลบ. จากที่ขาดทุน 1.7 พันลบ.ใน 1Q22 โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยถูกหักล้างโดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการขาย และการตลาด ทั้งนี้ ผลขาดทุนใน 1H22 อยู่ที่ 4 พันลบ. มากกว่าประมารการผลขาดทุนเต็มปีของเราที่ 3.2 พันลบ. เรายังไม่เห็นว่าปัจจัยพื้นฐานจะเปลี่ยนแปลงไปได้มากนักในระยะสั้น เพราะภาวะเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ และการแข่งขันด้านราคาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านการตลาดจะเพิ่มขึ้นเพื่อเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดังนั้น เราจึงปรับลดประมาณการปีนี้เป็นขาดทุน 7.7 พันลบ. จากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุนเพียง 3.2 พันลบ. และปรับลดประมาณการปี 2023 เป็นขาดทุน 6.1 พันลบ. จากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 891 ลบ.   

 

การแข่งขันทำให้รายได้ลดลง และต้นทุนเพิ่มขึ้น

รายได้อยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท (+1% yoy แต่ -3% qoq) โดยในภาพรวม การแข่งขันที่เข้มข้นของทั้งธุรกิจมือถือ และ FBB ฉุดให้ ARPU ลดลง โดยรายได้จากธุรกิจมือถือลดลง 1.2% และรายได้จาก FBB ลดลง 0.9% ในขณะที่  ARPU ของธุรกิจมือถือลดลง 8.6% yoy และ 1.5% qoq ส่วน ARPU ของธุรกิจ FBB ลดลง 11% yoy และ 4% qoq ส่วนยอดผู้ใช้บริการรายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในทั้งสองบริการ โดยเฉพาะบริการมือถือ ซึ่งได้อานิสงส์จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับมา โดยยอดผู้ใช้บริการมือถือใหม่เพิ่มขึ้นถึง 769k  (prepaid +542k, postpaid +227k) ในขณะที่ยอดผู้ใช้บริการ FBB เพิ่มขึ้น 95k ใน 2Q22 ในขณะเดียวกัน EBIT margin ลดลงเหลือ 4.2% จาก 9% ใน 2Q21 และ 6% ใน 1Q22 เนื่องจากค่าใช้จ่าย SG&A สูงขึ้น

 

 

 

 

ปรับลดคำแนะนำเป็น ถือ และปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 5 บาท จาก 5.50 บาท

เราปรับ TP ลงเพื่อสะท้อนการปรับลดประมาณการกำไรลง ทั้งนี้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมารับโอกาสที่บริษัทจะควบรวมกับ DTAC ไปแล้ว จึงไม่เหลือ upside ถึง  TP ของเรา