SMEs ไทยกับสงครามโรคครั้งที่ 3 ตอน 2

SMEs ไทยกับสงครามโรคครั้งที่ 3 ตอน 2

การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม

การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ส่งผลให้ความเสี่ยงด้านเครดิตในระบบการเงินของประเทศปรับสูงขึ้นมาก ภาครัฐจึงได้มีการตราพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือ เพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม รวมถึงมีมาตรการลดภาระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจโดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนทรัพย์สินชำระหนี้แก่สถาบันการเงินโดยมีเงื่อนไขซื้อคืนในราคาที่โอนไป

และมีสิทธิ์เช่าทรัพย์สินกลับไปใช้ในการประกอบธุรกิจ โดยได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศที่ สกส1.1/2564 ลงวันที่ 19 เมษายน 2564 เรื่องมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อ และประกาศที่ สนส.4/2564 ลงวันที่ 19 เมษายน 2564 เรื่องมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ 

มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยธนาคาร แห่งประเทศไทยให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ภายในวงเงินไม่เกิน 250,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 0.01% ต่อปี ภายในสองปีนับแต่วันพระราชกำหนดใช้บังคับ โดยสถาบันการเงินต้องนำไปใช้ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน หรือมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยสองปีแรกของสัญญาให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี การคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญาตามที่ ธปท กำหนดต้องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบธุรกิจในระหว่างหกเดือนแรก ให้สถาบันการเงินชำระคืนเงินที่ได้กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยแก่ ธปท ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับเงินกู้

ผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสงค์จะขอสินเชื่อต้องไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สามารถขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อเดิม สูงสุด 150 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง สามารถขอวงเงินสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท โดยนับรวมทุกวงเงินจากสถาบันการเงิน กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระยาวถึง 10 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียม Front End Fee ในการขอสินเชื่อ ในการขอสินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจ จะต้องได้รับการค้ำประกันจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย) ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันเฉลี่ยไม่เกิน 1.75% ต่อปี โดยรัฐบาลจะชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันตลอดอายุสัญญาเฉลี่ยไม่เกิน 3.5% ต่อปี

มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ให้ ธปท กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน พายในวงเงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบธุรกิจที่จะร่วมโครงการ ต้องเป็นลูกหนี้ของสถาบันการอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 มีสิทธิ์ซื้อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคืนภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่โอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิ์เช่าทรัพย์สินเพื่อไปประกอบธุรกิจได้ ตามอัตราค่าเช่าที่ตกลงกัน โดยต้องแจ้งความประสงค์การเช่าภายใน 15 วัน นับแต่วัน โอน ราคาทรัพย์สินที่สถาบันการเงินจะขายคืน ต้องไม่สูงกว่าราคาที่รับโอนรวมกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่ ธปท กำหนด หักด้วยค่าเช่า สถาบันการเงินจะต้องชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 0.01% ต่อปี แก่ ธปท ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับเงินกู้

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท เปิดแผนว่ามาตรการที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 ยอดการให้สินเชื่อ มีทั้งสิ้น 16,060 ล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 6,697 ราย 60% กระจายลงไปยัง SMEs ขนาดเล็ก วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ขณะที่โครงการพักทรัพย์พักหนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 4 ราย มูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับโอนมากกว่า 700 ล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมาการดำเนินมาตรการอาจยังไม่ทันต่อความคาดหวังของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนหนึ่งเกิดจากแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังซบเซา โครงการพักทรัพย์ พักหนี้เป็นโครงการที่เพิ่งเกิดใหม่ มีรายละเอียดที่ลูกหนี้ต้องเจรจาหารือเพิ่มเติม การให้ความช่วยเหลือช่วงต้นจึงอาจจะยังไม่สูงนัก

ตอนต่อไปผมจะนำเสนอรายละเอียด ปัญหา อุปสรรค และเสี่ยงบ่นของผู้ประกอบธุรกิจ ที่โครงการนี้อาจไม่ได้ผลเหมือนโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ ที่ทำมาหลายครั้ง ใช้เงินไปจำนวนมาก ผู้ประกอบการธุรกิจที่เดือดร้อนไม่ได้รับความช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือไม่ได้เดิอดร้อนจริง เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป........