คริปโทเคอร์เรนซี: SMEs ควรรู้จัก (3)

คริปโทเคอร์เรนซี: SMEs ควรรู้จัก (3)

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ใครไม่ทันเป็นคนหลงทาง

ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น โดยธุรกิจที่ให้บริการส่วนใหญ่เป็นการให้บริการในลักษณะของศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนผู้ค้า และ P2P website ผู้ใช้บริการต้องเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เพื่อใช้ในการโอนเงินบาทเข้าออกจากบัญชีของศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนและผู้ค้า ผู้ใช้บริการเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อการเก็งกำไร แต่ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่อยู่เบื้องหลังอย่าง Blockchain มีความปลอดภัยและสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งาน และกระแส

Digital Disruption ที่ทำให้เทคโนโลยีทางด้านการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีนักลงทุนจากทั่วโลกสนใจเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก กระแสของคริปโตเคอร์เรนซี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินสกุลดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

การใช้เงินสกุลดิจิทัลที่เรียกว่าคริปโทเคอร์เรนซีที่เริ่มขึ้นในปี 2009 สกุลเงิน Bitcoin ตอนนั้นต้องใช้ 10,000 Bitcoin ในการซื้อพิซซ่า 1 ถาด ปัจจุบัน 1 Bitcoin มีมลค่าโดยประมาณ $ 55,000 และมีเหรียญดิจิทัลอื่น ๆ ในระบบรวมแล้วมากกว่า 8,888 สกุลเงิน มีมูลค่ารวมกัน $ 1,730,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่เราเคยชินกับการใช้ตัวกลางการแลกเปลี่ยนอย่างวีซ่า เพย์พาล อยู่แล้ว การใช้เงินคริปโทเคอร์เรนซี จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ การไม่ต้องพึ่งตัวกลางอย่างธนาคารพาณิชย์ เป็นเสรีภาพทางการเงินที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ยิ่งในช่วงที่การะบาดของโควิด 19 สถานการณ์ที่บังคับให้ผู้คนใช้เทคโนโลยีเพื่อเอาชีวิตรอด ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาขับเคลื่อนชีวิตให้เดินไปข้างหน้า การเข้าสู่โลกของคริปโทเคอร์เรนซีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

อำนาจควบคุมทางการเงินของภาครัฐกำลังลดลง ภาครัฐจึงพยายามเข้ามาควบคุมสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น เมื่อไม่สามารถตามความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ทันภาครัฐได้ออกมาเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้เงินสกุลดิจิทัลเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเทคโนโลยีแห่งอนาคตได้ บริษัทชั้นนำทั่วโลกเปิดรับ คริปโทเคอร์เรนซีเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแล้ว เช่น ไมโครซอฟ ,โอเวอร์สต็อค ,โฮม ดีปอน ,อะเมซอน,สตาร์บักส์ และล่าสุดบริษัทเทสลา อนุญาตให้ใช้ Bitcoin ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้แล้ว

อีลอน มัสก์ CEO ของเทสลา ได้เข้าซื้อ Bitcoin $ 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐสแควร์ บริษัทผู้ให้บริการเป็นตัวกลางในการชำระเงินซื้อ Bitcoin $ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดทีมเบสบอลชื่อดัง Oakland A’s ได้ประกาศว่าให้กำหนดราคาแพ็กเกจห้องชุดสุดหรูแบบเต็มฤดูกาลในมูลค่า 1 Bitcoin ที่ $65,000 ด้วยสกุลเงินดอลล่าร์ หากชำระเป็นสกุลเงินดิจิทัลจะมีส่วนลดให้ด้วย ยิ่งได้รับการยอมรับยิ่งทำให้มูลค่าตลาดของ Bitcoin เพิ่มสูงขึ้น สาเหตที่สกุลเงินดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะความรู้ของผู้คนในปัจจุบันมีมากเพียงพอ จนไม่ต้องการตัวกลางอย่างธนาคารในแบบเดิมอีก

ธนาคารกลางทั่วโลกพึ่งจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ที่กำลังศึกษาเรื่อง CBDC (Central Bank Digital Currency) โครงการอินทนนท์ ในการนำ CBDC ไปใช้ในภาคเอกชน และข่าวที่สะเทือนวงการคริปโทเคอร์เรนซีไทย โดยสำนักงาน

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่กำลังจะกำหนดคุณสมบัติของนักลงทุนสกุลเงินดืจิทัล ในขณะที่ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของตำนานรองเท้าช้างดาว ได้เพิ่มช่องทางให้ลูกค้านำเงิน คริปโทเคอร์เรนซี แลกสินค้านันยางได้แล้ว

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ใครไม่ทันเป็นคนหลงทาง ต้องติดตามตอนต่อไปครับ......