ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของคน

ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของคน

ในยุคที่ใครๆ เชื่อกันว่า 'เทคโนโลยีนำการบริหาร' เช่นทุกวันนี้ เรื่องต่างๆ ก็ยังหนีไม่พ้นการต้องใช้คนเป็น 'ปัจจัยแห่งความสำเร็จ' อยู่ดี

          ส่วนรื่อง คน ก็ยังคงต้องอาศัย “ประสบการณ์ที่แต่ละคนสั่งสมมาในอดีต (รวมถึงประสบการณ์ของผู้รู้และผู้อื่นด้วย)  เพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ในขณะที่ยังสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วย

            เรื่องที่เราจะคิดใหม่ทำใหม่โดยไม่อาศัยประสบการณ์ หรือ อดีตเลย จึงมีน้อยมาก

            แม้แต่เรื่องของ “เทคโนโลยี และ นวัตกรรม ที่มีความสำคัญยิ่งต่อทุกองค์กรในปัจจุบัน ก็ยังต้องอาศัย เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์เก่าๆ เป็นฐานรากในการต่อยอดความคิด เพื่อออกแบบและสร้างประดิษฐกรรมใหม่ๆ

            ผลิตภัณฑ์  บริการ  เทคโนโลยี  และนวัตกรรมใหม่ๆ ในปัจจุบัน  จึงเป็นผลพวงที่ต่อยอดหรือดัดแปลงมาจากการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่หรือใช้อยู่  เพื่อให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น (เช่นใช้งานง่ายขึ้น  ทนทานขึ้น  ทำงานเร็วขึ้น  สะดวกขึ้น  น้ำหนักเบาขึ้น  ต้นทุนต่ำลง  ผลิตภาพสูงขึ้น เป็นต้น)

            ทุกวันนี้  เราจึงไม่ค่อยเห็นอะไรที่เป็นประเภท “ใหม่เอี่ยมถอดด้ามเลย  สิ่งที่เห็นก็มีแต่ที่เกิดจากการปรับปรุงหรือลอกเลียนจาก ของเดิมเป็นส่วนใหญ่  บางอย่างก็เปลี่ยนเร็ว บางอย่างก็เปลี่ยนช้า หลายอย่างก็เปลี่ยนไปจนแทบจะไม่เห็นรูปแบบเดิมเลย

            สถานะหรือรูปแบบใหม่เอี่ยมชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย  ซึ่งพอจะยกเป็นตัวอย่างได้ ก็คือ เรื่องที่เกิดจากการปฏิวัติทางความคิด หรือเกิดการค้นพบ ของใหม่ที่ไม่ได้ยึดโยงเกี่ยวเนื่องกับ ของเดิมเลย  โดยเฉพาะ การปฏิวัติทางความคิดอ่านด้านทฤษฎีทางสังคม”  “การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industry 4.0)  รวมถึงผลงานที่เกิดจาก การวิจัยและพัฒนาของนักวิชาการ ตลอดจน การเกิด Disruption อันเกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ

            แต่ทุกอย่าง ก็ยังต้องอาศัย “ฐานความคิดเก่าและ ประสบการณ์เป็นตัวต่อยอด หรือปรับเปลี่ยนเป็น ของใหม่

            บ่อยครั้งที่การดัดแปลงหรือปรับแต่งก็เพื่อให้เกิด “ความแตกต่างกัน เท่านั้นเอง บางอย่างก็เหมือน ก๊อปปี้กันเลย  ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้รอบตัวเรา เช่น พัดลมแต่ละยี่ห้อ  หม้อทอดไร้น้ำมัน  วิทยุ  โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์  สบู่  ยาสระผม  ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

            ความคล้ายคลึงกันทางความคิดนี้ ยังครอบคลุมไปถึง “วรรณกรรมต่างๆ ด้วย  ซึ่งออกมาในรูปของ ดนตรี ทำนอง เนื้อร้อง นิยาย บทประพันธ์ และบทภาพยนต์ ที่เราเห็นมากมายในชีวิตประจำวัน

            แม้แต่เรื่องที่ชอบวิจารณ์กันว่า  หนังไทยที่เกี่ยวกับเรื่องผี มักจะให้ตัวแสดงวิ่งหนี  และวิ่งลงตุ่มน้ำเพื่อซ่อนตัว รวมทั้งผีปอบ กระหัง กระสือ  ที่มักจะออกมาในเชิงของตลกขบขัน ก็ไม่ต่างจากหนังผีฝรั่งในเรื่องของซอมบี้ ที่เดินคอเอียง ชักกระตุก กระหายเลือด ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกันบนเค้าโครงเรื่องที่ต่างกันเท่านั้น หรือ หนังที่เกี่ยวกับการแข่งรถซิ่งหรือการรวมทีมปล้นธนาคาร ก็มีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

            ที่พูดมายืดยาวนี้  เพียงอยากจะชี้ให้เห็นว่า การลอกเลียนแบบกัน  ก็เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วโลก  แต่ที่ยอมรับกันได้  ก็คือต้องไม่ใช่การก๊อปปี้แบบเหมือนกันเป๊ะๆ เลยทั้งหมด  ความสำคัญอยู่ที่การต้องสร้างความแตกต่างจากของเดิมที่มีอยู่ให้ได้  ซึ่ง “ความแตกต่าง ที่มีลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ก็มีให้เห็นมากมาย

แต่การสร้างความแตกต่างต้องอาศัย “การเรียนรู้ และ องค์ความรู้เป็นหลัก เรื่องที่จะคิ ดได้เอง จึงมีน้อยมาก

            ดังนั้น  เราต่างต้องเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่และอาศัยความรู้และประสบการณ์ของแต่ละคนมาสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นจนเป็น “ความคิดสร้างสรรค์”  ที่ปรากฏในตัวสินค้าหรือบริการ  รวมทั้งการนำไปสู่วิธีปฏิบัติ  วิธีการผลิตหรือวิธีบริหารจัดการใหม่ๆ ด้วย

            ทุกวันนี้ การสร้าง “นวัตกรรมหรือของใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากความคิดอ่านและประสบการณ์ของพนักงานที่ทำงานในโรงงานหรือในออฟฟิสจึงมีความสำคัญมากขึ้นทุกที

            ทุกวันนี้ เราต่างรู้ดีว่า ความสำเร็จขององค์กรใดๆ อยู่ที่ “คุณภาพของคน ในองค์กรนั้นๆ

            ดังนั้น  เราจึงต้องเร่งพัฒนา “คุณภาพของพนักงาน ในทุกรูปแบบ เพื่อจะได้ร่วมคิดร่วมสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร ครับผม !