ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์ตามหลักสถิติศาสตร์ แต่ก็สามารถสะท้อนการบริโภคของประเทศได้ระดับหนึ่ง

    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retail Sentiment Index)  ซึ่งจัดทำร่วมกันระหว่าง สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นดัชนีที่สำรวจความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการค้าปลีกสินค้าและค้าปลีกบริการและน่าจะ เป็นปัจจุบัน UPDATE ที่สุดในขณะนี้ เพราะเป็นดัชนีรายเดือน แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์ตามหลักสถิติศาสตร์ น่าก็สามารถสะท้อนการบริโภคของประเทศได้ระดับหนึ่ง และเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและภาคเอกชนในการกำหนดทิศทางและนโยบายของธุรกิจอย่างดีในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ การจัดทำ ดัชนีค้าปลีก

  1. เป็นดัชนีชี้เศรษฐกิจมหภาคด้านการบริโภคของประเทศ
  2. เป็นดัชนีชี้การบริโภคในแต่ละกลุ่มธุรกิจ
  3. เป็นดัชนีชี้การบริโภคในระดับระดับภูมิภาค เพื่อให้เป็นข้อมูลแก่ภาครัฐในการกำหนดทิศทางและนโยบายที่เหมาะสม

ภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปี 2563 

161115412660

  1.   ปัจจัยการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ที่เริ่มปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก ภาคีสมาคมผู้ค้าปลีกไทย หดตัวอย่างรุนแรงนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ลดต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50  และหลังจากผ่านช่วงการ Lock Down ในเดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกค่อยขยับเพิ่มขึ้นสูงสุดเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นผลจากมาตรการเยียวยาการจ้างงานของภาครัฐ จากนั้น เมื่อมาตรการเยียวยาสิ้นสุด ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกก็ค่อยๆ ลดลงเป็นลำดับจนถึงเดือนกันยายน

 

             อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน ก็ขยับเพิ่มขึ้นจากแรงกระตุ้นการจับจ่ายตามโครงการภาครัฐริเริ่มนับจาก ไทยเที่ยวไทย ช้อปดีมีคืน คนละครึ่ง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกตลอดปีที่ 2563 เฉลี่ยก็ยังต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยกลางอยู่มาก

 

         และแล้ว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก เดือนธันวาคม 2563 กลับลดลงอย่างแรงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน  และเป็นการปรับลดลงเป็นเดือนแรกนับจากเดือนกันยายน โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่ำกว่าค่าเกณฑ์เฉลี่ยกลาง 50  ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ระลอกสอง และยังผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า  (มกราคม-มีนาคม 2564) ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางระดับ 50 ซึ่งต่ำกว่าความเชื่อมั่นในเดือนพฤษภาคมที่เป็นระยะการใช้มาตรการ Lock Down อย่างเข้มข้น

      161115418468             

           2.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในเขตกรุงเทพปริมณฑล (แผนภูมิลำดับที่สองจากทางขวามือ) ซึ่งน่าจะเป็นภาพสะท้อนความอ่อนไหวต่อความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ทั้งนี้สัดส่วนภาคการค้าในเขตกรุงเทพปริมณฑลมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42 ของภาคการค้าทั้งประเทศ และด้วยอยู่ในพื้นที่ใกล้กับศูนย์กลางการบริหารภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จึงเปรียบเสมือนตัวแทนดัชนีความเชื่อมั่นทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยและรายละเอียดบางส่วนที่แตกต่างจากดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละภูมิภาคอยู่บ้าง

            3.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกภาคกลาง (ประกอบด้วย ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก) (แผนภูมิลำดับที่สามจากทางขวามือ) ก็ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยที่ 50 นับตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นมา ปัจจัยสำคัญที่ส่งให้ดัชนีความเชื่อมั่นลดต่ำลง ก็สืบเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดเป็นอย่างมาก

                 เมื่อมีการ Lock Down ดีมานด์ต่างๆลดลงจากการจับจ่ายโดยฉับพลัน ส่งผลให้ขบวนการซัพพลายเชน หยุดชะงัก และมีการปิดกิจการในภาคการผลิตเป็นจำนวนมาก แรงงานถูกเลิกจ้างหรือจ้างงานไม่เต็มที่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคกลางจึงมีทิศทางที่ลดลง ขณะที่ภาคเกษตรกรรมซึ่งมีผลผลิตข้าวเป็นหลักก็มีผลผลิตเกินความต้องการ ราคาจึงไม่ได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้กำลังซื้อทั้งภาคกลางค่อนข้างอ่อนตัวลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกจึงลดต่ำลงอย่างที่เห็น

             4.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกภาคเหนือ (แผนภูมิลำดับที่ 4 จากทางขวามือ) ภาคเหนือมีจุดเด่นคือทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชหลายชนิด และมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคเหนือภาคการท่องเที่ยวและบริการมีสัดส่วนร้อยละ 60 ซึ่งจัดว่าเป็นเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ อย่างไรก็ตามสัดส่วนรายได้จากนักท่องท่องเที่ยวต่างประเทศในภาคเหนือมีสัดส่วนเพียง 40% อีก 60% เป็นนักท่องเที่ยวคนไทย ผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิดต่อรายได้จากการท่องเที่ยวจึงมีผลกระทบน้อยกว่าภาคใต้

            ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 26  ก็มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย สตรอว์เบอร์รี, ชา และกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีรายได้ดีตลอดปี 2563 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังอยู่ในเกณฑ์เชื่อมั่นปานกลาง

            5.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แผนภูมิลำดับที่ห้าจากทางขวามือ) ค่อนข้างมีทิศทางใกล้เคียงกับภาคเหนือ แม้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวต่ำกว่าภาคเหนือ แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนภาคการค้า (ค้าปลีกค้าส่ง) ที่ใหญ่กว่าภาคเหนือ ด้วนประชากรกว่า 22 ล้านคนหรือราวหนึ่งในสาม ส่งผลให้เกิดการบริโภคที่สูงเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดน้อยเมื่อเทียบกับภาคกลางและภาคใต้ ก็เพราะแรงงานส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างจากโรงงานอุตสาหกรรมในภาคกลางย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังซื้อจากเงินบำเน็จบำนาญ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการลดลงในช่วงแรกและฟื้นตัวขึ้นอย่างเร็วในระยะต่อมา

             6.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคใต้ ปี 2563 พิจารณาในมิติภูมิภาค จะพบว่า ภูมิภาคทางใต้ (แผนภูมิทางขวามือสุด) ดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าภูมิภาคอื่นๆและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่เส้น 50 ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสูงเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภาค แม้ว่าจะมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวจาก โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แต่โครงการดังกล่าว สามารถชดเชยรายได้จากต่างชาติที่หายไป ในภาคใต้ได้เพียง 3-10% เท่านั้น ขณะเดียวกัน โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ยังพึ่งพิงภาคเกษตรเป็นหลักขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยมีรายได้จากภาคนอกเกษตรเป็นสำคัญ อาทิ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการค้า ร้อยละ 83 ของภาคเกษตรประกอบด้วยพืชเศรษฐกิจหลักเพียง 2 ชนิด คือ ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน ซึ่งราคาในปี 2563 ก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ กำลังซื้อโดยรวมต่ำกว่าเกณฑ์มาตลอดปี

  

        7.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อยอดขายเดิมในเดือนธันวาคม ปี 2563 รายภูมิภาคปรับลดลงจากเดือนพฤศจิกายนในทุกภาค สะท้อนถึงสภาวะความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งได้รับผลกระทบก่อนภาคอื่นๆ ขณะที่แนวโน้มในอีก 3 ข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบมีความเชื่อมั่นลดลงกว่าเดือนที่ผ่านมา ในทุกภูมิภาคเช่นกัน

            8.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเมื่อจำแนกตามประเภทความร้านค้าปลีก Hypermart Supermarket และ Convenience store พบว่า ผลกระทบต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิดปี 2563 มีผลกระทบต่อ ร้านค้าปลีกประเภท Hypermarket ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่จับจ่ายต่อครั้ง Per Basket ลดลง และความถี่ในการเข้าร้านประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตก็ลดลง ในขณะที่ ร้านค้าปลีกประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าสะดวกซื้อ ได้รับผลกระทบระดับหนึ่ง จากการจับจ่ายต่อครั้ง Per Basket ที่ใกล้เคียงเดิม แต่ความถี่ในการจับจ่ายลดลง อีกทั้ง ห้างค้าปลีก Modern Chain Store ไม่มีสิทธิที่ให้บริการโครงการสวัสดิการภาครัฐและโครงการคนละครึ่ง ทำให้มีผลกระทบเป็นทวีคูณ

             9.ในทางกลับกัน ร้านค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ามีความวิตกต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ค่อนข้างมากสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในเดือนธันวาคมลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 อย่างชัดเจน ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน ความเชื่อมั่นของ ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางระดับที่ 50 บวกกับ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ “ช้อปดีมีคืน”  ไม่ปังเท่าที่คาด ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว มีหลายโครงการ อาทิ เราเที่ยวด้วยกัน, ,คนละครึ่งจึงส่งผลทำให้ประชาชนมีทางเลือกค่อนข้างเยอะ แม้ว่าทางร้านค้าปลีกจะจัดส่งเสริมการขายควบคู่กับโครงการอย่างมากมายก็ตาม

              แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มกราคม-มีนาคม 2564) ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายังคงมีความเชื่อมั่นที่ลดลงและลดลงต่ำกว่าเดือนธันวาคม  สะท้อนถึงความเชื่อมั่นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ามีความกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ที่อาจลากยาวไปกว่า 3 เดือน

            10.สำหรับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ในเดือนธันวาคม มีความเชื่อมั่นทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน อาจจะเป็นช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว การก่อสร้างอาจจะยังไม่เริ่มต้น และ โครงการต่างๆของภาครัฐยังอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างและยังไม่เริ่มเบิกจ่าย ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ ดูเหมือนไม่มีความกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 แต่อย่างไร

              11.ผลจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการร้านอาหาร ภัตตาคาร และเครื่องดื่ม มีความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างมีนัยยะชัดเจนมากกว่าร้านค้าประเภทอื่นๆ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 ค่อนข้างมาก และเมื่อเทียบกับความเชื่อมั่นในเดือนพฤศจิกายนที่อยู่เหนือระดับ50 อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะร้านอาหารมีความไวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการให้บริการรวมถึงผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องอาหารที่อาจได้รับการติดเชื้อ อีกทั้งผู้ประกอบร้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นการบริหารแบบเชนสโตร์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า ที่อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิดระลอกใหม่ ส่งผลให้ปริมาณการสัญจรยังอยู่ระดับที่ลดต่ำลงมาก

 

             ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการร้านอวหารภัตตาคาร เครื่องดื่ม ในอีก 3 เดือนข้างหน้าก็ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงสถานการณ์ผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ที่อาจจะแย่ลง (สำหรับเดือนธันวาคม เป็นเดือนที่สี่ ที่ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้เพิ่มผู้ค้าปลีกบริการประเภทร้านอาหาร ภัตตาคาร และเครื่องดื่ม ซึ่งผู้เข้าร่วมกรอกแบบสอบถามเป็นร้านอาหารเชนสโตร์ที่มีสาขารวมกันมากกว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศ)

             

การคาดการณ์ผลกระทบการแพร่ระบาดโควิดต่อภาคค้าปลีกระลอกใหม่ 2564 

              สมาคมผู้ค้าปลีกไทยคาดว่า สถานการณ์การค้าปลีกค้าส่งในครึ่งปีแรก 2564 น่าจะมีแนวโน้มและทิศทางเดียวกับครึ่งปีหลังของปี 2563 กล่าวคือ จะมีแนวโน้มที่ลดต่ำลง ส่งผลให้ ในไตรมาสแรกของปี 2564 (.-มี..) จะมีความคล้ายคลึงกับไตรมาสสามของปี 2563 ( Jul-Aug-Sep)  คือมีทิศทางที่ลดลง แล้วจะค่อยๆดีขึ้น เมื่อมีข่าวคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนในเฟสแรก บวกกับ มาตรการกระตุ้นการจับจ่ายภาครัฐอย่างต่อเนื่อง (โครงการคนละครึ่ง)

           ส่วนในไตรมาสสองของปี 2564 (เม..-มิ..) ก็จะมีทิศทางคล้ายกับไตรมาสแรกปี 2563 (..-..) กล่าวคือ เมื่อมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐค่อยๆแผ่วลง บวกกับผลกระทบจากการปิดกิจการ การเลิกจ้าง และการจ้างงานไม่เต็มเวลาสะสมเพิ่มขึ้น

           ส่วนครึ่งปีหลังของปี 2564 ก็จะมีแนวโน้มและทิศทางคล้ายกับครึ่งปีแรกของปี 2563 กล่าวคือค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ เป็นลำดับ