โอกาสลงทุนมีเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยลบเดิมกดดัน

โอกาสลงทุนมีเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยลบเดิมกดดัน

มาเริ่มกันด้วยเรื่องราวที่เป็นบทต่อเนื่องจาก ปี พ.ศ. 2563 ลากข้ามปีมาจนถึง ปี พ.ศ. 2564

โดยมาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้าง และ มองเข้าไปถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อขุดให้เห็นผลที่จะเกิด และเป็นไป จะดี หรือจะแย่ ตามมาดูกันครับ


สถานการณ์ COVID-19 ก็ยังคงทวีความรุนแรง และเริ่มเกิด Second wave ในหลายๆ ประเทศ ทั่วโลก ทั้งนี้ ยังไม่นับถึงการกลายพันธุ์ ของเชื้อใน UK ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายสูงกว่าเชื้อเดิมถึงกว่าร้อยละ 70 ความรุนแรงยังคงมีอยู่ แต่มีข้อต่างจากต้นปี 63 อยู่หลายประการ ประการแรก เรารู้จัก COVID-19 ดีขึ้นมาก เรารู้ว่าสู้อยู่กับอะไรและจะป้องกันตัวได้อย่างไร ประการที่สอง มีการค้นพบวัคซีน ต้าน เชื้อไวรัส ข้อมูลล่าสุดก็มีวัคซีนของ Pfizer Moderna และ Astrazeneca ซึ่งประเทศเรามีเอี่ยวด้วย ดังนั้นความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อยังคงอยู่แต่เรารู้และมีวิธีที่จะสู้กับ COVID-19 ดังนั้นสถานการณ์ ย่อมดีกว่า 1 ปี ที่ผ่านมาแน่ๆ


ภาวะเศรษฐกิจ ที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3 ปี 63 จาก ภาวะการถดถอยที่มาจากการ Lock down ประเทศในช่วงปลายไตรมาส 1/63 ถึง ไตรมาส 2/63 นั้น แต่ก็ดีใจกันได้ไม่นาน เมื่อการแพระกระจายระลอกที่ 2 เกิดขึ้นในช่วง ไตรมาส 4/63 หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศขนาดใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สเปน สวีเดน เกหลีใต้ ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วทุกมุมโลก ต้องเผชิญ กับการระบาดอย่างรุนแรงจนถึงขึ้นต้อง Lockdown รอบสอง ส่งผลให้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ น่าจะเป็นไปได้ยาก ถึงแม้ว่าจะมีการอุดหนุนเงิน เพื่อช่าวเหลือธุรกิจให้ผ่านช่วงนี้ไปได้ ด้วยตัวเลขการอุดหนุน เฉลี่ยทั้งโลก อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 20 ของ GDP ก็ตาม แต่การ Lockdown รอบสอง อาจจะทำให้เศรษฐกิจ โลกต้องเข้าสู่ช่วงชะงักงันอีกครั้งหนึ่ง


ก้าวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 64 วัคซีนเริ่มมีการผลิตออกมาใช้ในวงกว้าง การ Lock down เริ่มคลายตัวลง การจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคจะเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจ และ หากได้รับแรงกระตุ้นที่ดี โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ก็จะเป็นผลบวกกับ ประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย


เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ข้างต้น ก็จะพบ ว่าปีนี้ น่าจะใช้คติไทยที่ว่า “ ต้นร้าย ปลายดี” ก็น่าจะเหมาะอยู่นะครับ ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุด ก็ยังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ท่ามกลางภาวะที่ผลตอบแทนจากตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ สินทรัพย์เสี่ยงมีความน่าสนใจมากกว่าบวกกับมุมมองที่ดีในช่วงครึ่งปีหลัง การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแบบ Dollar Cost Average ซึ่งเป็นการทยอยเข้าลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ถือเป็น กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน


อย่างไรก็ดีปีนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลก ยังคงได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ที่ยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพราะจะมีสภาพคล่องเข้ามาในระบบมากขึ้น ประกอบกับ ความคืบหน้าของวัคซีนต้าน Covid-19 จึงช่วยให้นักลงทุนเริ่มมองเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 จบลง จึงแนะนำ ให้นักทุนทยอยลงทุนสะสมกองทุนที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง และมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี หลังจากจบการแพร่ระบาด Covid-19 นอกจากนี้ การทยอยสะสมหุ้นในกลุ่ม new economy หรือ กลุ่มเทคโนโลยี จะยังเป็นการป้องกันการเสียโอกาสการลงทุนได้ในปีนี้ ในส่วนของผู้ที่ยังสนใจลงทุนหุ้นไทย ผมมองว่า หุ้นไทยรวมถึงหุ้นในแถบเอเชีย ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพราะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ตาม Fund Flow ที่คาดว่าจะไหลเข้ามาบ้าง ทั้งนี้ ผมแนะนำให้ลงทุนในกองทุนหุ้นปันผล หรือ กองทุนหุ้น SET50 แต่อย่างที่กล่าวข้างต้น ผมยังเน้นลงทุนแบบทยอยสะสม หรือ DCA ครับ


สำหรับผู้ที่ ไม่นิยมความผันผวน การลงทุนแบบกระจายสินทรัพย์ โดยมีการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ร้อยละ 45 หุ้นไทยและต่างประเทศ รวมกัน ร้อยละ 40 ที่เหลืออีกร้อยละ 15 เป็นทอง น้ำมัน และ กอง REIT ในสัดส่วนเท่าๆกัน ก็น่าจะสามารถรักษาผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3 –5 ได้ครับ แต่ถ้าหากไม่มีเวลา ไม่ต้องการความผันผวน และมีความคุ้มครองประกันภัย หรือ ประกันสุขภาพให้ด้วย บลจ. ก็มีกองทุนประเภทนี้อยู่ เป็นกองทุนประเภทลงทุนใน Multi Asset ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงการลงทุนพร้อมรับสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติม ผมมองว่า เริ่มต้นปีลงทุนพร้อมรับสิทธิประโยชน์อื่นๆควบคู่กันก็ถือเป็นการลงทุนที่เบ็ดเสร็จอีกรูปแบบหนึ่งครับ