เลือกตั้งสหรัฐ:‘เทพ’ ต้องผจญ ‘มาร’

เลือกตั้งสหรัฐ:‘เทพ’ ต้องผจญ ‘มาร’

เลือกตั้งอเมริกาจบลงไปแล้วกว่า 4 วัน  แม้จะยังไม่อาจบอกได้ว่าใครชนะ แต่มีข้อสังเกตหลายประการจากการเลือกตั้งครั้งนี้

  ซึ่งเรื่องนี้ก็คาดเดากันไว้ก่อนหน้าแล้วจากปรากฏการณ์ที่คนลงคะแนนทางไปรษณีย์ และเอาบัตรมาหย่อนก่อนวันเลือกตั้งจริงอย่างท่วมท้นกว่า 100 ล้านคน     เมื่อกฎหมายเรื่องการนับบัตรลงคะแนนของแต่ละรัฐแตกต่างกัน     ความล่าช้าก็เป็นเรื่องธรรมดา     มีข้อสังเกตหลายประการจากการเลือกตั้งครั้งนี้

                        ประการแรก   ดูไปแล้วเลือกตั้งสหรัฐครั้งนี้จะไม่ต่างไปจากประเทศกำลังพัฒนา   เช่นไทย   ฟิลิปปินส์   อินโดนีเซีย  หรือที่ร้ายไปกว่านั้นคือบางประเทศในอเมริกาใต้และอาฟริกา   ตำรวจต้องเตรียมพร้อมรับมือฝูงชนที่เป็นฐานเสียงของแต่ละฝ่ายว่าจะออกมาสร้างความจลาจล (เป็นจริงในบางเมืองหลังเลือกตั้งหนึ่งวันและอาจมีอีกจนมี “เลือดตกยางออก”   การเลือกตั้งลักษณะนี้เขาสงวนสิทธิไว้เฉพาะประเทศเหล่านี้    ไม่ใช่สหรัฐอเมริกาที่มีการเลือกตั้งมาตลอด 244 ปีอย่างน่าชื่นชมและเป็นตัวอย่างของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                         อะไรที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่น่าอายแก่ชาวโลกเช่นนี้?      ความแตกแยกอย่างมากของคนอเมริกันในการถือหางพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกัน โดยเฉพาะในการเชียร์และไม่เชียร์ประธานาธิบดีทรัมป์ซึ่งโยงกับความรู้สึกในเรื่องการเหยียดผิว    การเหนือกว่าของคนผิวขาว     บทบาทของสหรัฐอเมริกาในโลก  นโยบายปราบโควิด     นโยบายเศรษฐกิจ     การแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ    ฯลฯ 

                        บุคคลที่มีบทบาทอย่างมากในการสร้างความแตกแยกด้วยการให้ท้ายพวก              เหยียดผิว   เหยียดเพศหญิง    พวกใช้ความรุนแรง    ฯลฯ ก็คือตัวประธานาธิบดีทรัมป์เอง   ด้วยการพูด   การกระทำ และการสื่อความหมายด้วยภาษากายและการตีความระหว่างบันทัด    สิ่งที่ทรัมป์ใช้ก็คือการโกหกอย่างซ้ำไปซ้ำมาอย่างมีวาทะศิลป์จนบรรดาแฟนเชื่อและบูชาทุกคำพูด และมองข้ามจุดด้อยของเขาคือความด้อยความสามารถในการดูแลปกครองประเทศ  การขาดคุณธรรมประจำใจ    การไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น     การไร้ความสุภาพ การไม่ให้เกียรติคนอื่น     การไม่เข้าใจการเสียสละเพื่อชาติ (เขาสงสัยว่าคนเป็นทหารนั้นโง่ยอมไปตายเพื่ออะไรก็ไม่รู้)     การขาดคุณค่าพื้นฐานของการเป็นพลเมือง     การขาดวัฒนธรรมในระบอบประชาธิปไตย  การไม่จริงใจต่อการรักษาและเชิดชูระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา    ฯลฯ

                        ทรัมป์ขาดคุณสมบัติเหล่านี้อย่างที่ทุกคนซึ่งมีใจเป็นกลางจะมองเห็นเพราะมีหลักฐานจากการกระทำและการพูดของเขา     คนอเมริกันส่วนใหญ่เกลียดเขาเพราะการขาดคุณธรรม    การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก (เขาอภัยโทษให้พรรคพวก 2-3 คน เพื่อปิดปากไม่ให้ซัดทอดเขาในการกระทำชั่วร้ายหลายอย่าง   ซึ่งจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเขาตกจากอำนาจและการขาดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของคนที่มีวัฒนธรรม   เช่น   การรู้จักแพ้     รู้จักชนะ    การรักษาเกียรติศักดิ์ศรีของสถาบัน    การรักษาขนบประเพณีของการเคารพความเห็นที่แตกต่าง   ฯลฯ  

                        ประการที่สอง   “ผีคอมมูนิสต์”  ยังขลังทำงานได้ผล    ทรัมป์บอกประชาชนอเมริกันตอนหาเสียงว่า    หากเลือกไบเด็นคู่แข่งแล้วจะถูกพวกโซเชียลลิสต์(เป็นคำแทนของคอมมูนิสต์ครอบงำ   จะมีนโยบายของโซเชียลลิสต์ออกมา     แบบแผนการดำรงชีวิตของคนอเมริกันจะหายไป    เศรษฐกิจจะ          พังพินาศ    ฯลฯ    ซึ่งก็มีคนเชื่อเป็นจำนวนไม่น้อย ( วันที่ 7 พฤศจิกายนมีคนเลือกทรัมป์ประมาณ 70    ล้านคน   ซึ่งน้อยกว่าไบเดน 4ล้านคน)   “ผีคอมมูนิสต์” ใช้หลอกคนในเมืองไทยไม่ได้ผลแล้ว    แต่คนอเมริกาส่วนหนึ่งยังกลัวเหมือนคนไทยเมื่อ 30 ปีก่อนเพราะคนอเมริกันจำนวนหนึ่ง  พ่อแม่หรือตนเองอพยพมาเพื่อหนีภัยคอมมูนิสต์     ดังนั้นการยกเอาผีตัวนี้มาขู่จึงได้ผลโดยเฉพาะบริเวณฟลอริดาซึ่งมีคนคิวบาและลูกหลานหนีภัยคอมมูนิสต์ของฟิเดลคาสโตรเมื่อกว่า 60 ปีก่อนอยู่เป็นจำนวนมาก

                        ในสหรัฐอมริกานักการเมืองที่ถือว่าเป็นคน liberal (เสรีนิยมนั้นเป็นที่น่ารังเกียจของพวกหัวโบราณ (Kamala   Harris ผู้สมัครรองประธานาธิบดีคู่กับไบเดนโดนอยู่บ่อย )  ทรัมป์พยายามป้ายสีว่าไบเด็นเป็นคนฝักใฝ่เช่นนี้    พร้อมกับเป็นคนสมองเลอะเทอะ     พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย  หมดสภาพแล้ว (ตอนเข้ารับตำแหน่ง    ไบเด็นจะมีอายุ 78 ปี ซึ่งมากกว่าทรัมป์เพียง 4 ปี)    ซึ่งดูจะไม่ได้ผลเพราะพวกที่มีมันสมองมองว่าทรัมป์นั่นแหละคือคนเข้าลักษณะนี้ (โฆษณาในโทรทัศน์ต่อต้านไบเด็นก็เอาภาพมาตัดต่ออย่างหน้าไม่อายเพื่อให้เห็นการพูดหรือการแสดงออกที่เหมือนคนแก่ขี้หลงขี้ลืม)

                                    ประการที่สาม   ทรัมป์ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นนักการเมืองอเมริกันที่แหกม่านประเพณีของการเป็นผู้มีใจเป็นนักกีฬา และพยายามรักษาสถาบันประชาธิปไตยด้วยการให้ความไว้วางใจกลไกลการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ผู้ชนะอันเป็นที่ยอมรับ

                        ขณะนี้ไบเดนนำคะแนนอยู่กว่า 30,000 ในรัฐเพนซิลวาเนีย  ส่วนมากจากบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์และหย่อนลงบัตรก่อนวันเลือกตั้งและมีทางโน้มเลือกไบเด็นท่วมท้นจนน่าเชื่อว่าไบเด็นจะชนะและได้เป็นประธานาธิบดี     รัฐอื่น  ที่ไบเด็นนำอยู่ก็คืออริโซนา และเนวาดา  ซึ่งหากชนะทั้งสองรัฐนี้ หรือชนะรัฐเพ็นซิลวาเนียไบเด็นก็ชนะอีกเช่นกัน

                        เมื่อสองวันก่อน   ทรัมป์ได้สั่งให้ทีมงานนักกฎหมายไปฟ้องศาลในหลายรัฐ    เช่น    วิสคอนซิน     เพนซิลวาเนีย และอื่น  ที่เขาคาดว่าจะแพ้ให้ระงับการนับคะแนนแต่ก็แพ้หลายคดีจนนับกันไปเรื่อย   คาดว่าในวันพรุ่งนี้คงจะจบ แต่ทรัมป์ก็จะไล่บี้ให้นับอีกครั้งในรัฐที่คะแนนใกล้เคียง   ซึ่งถ้าไบเด็นชนะทั้ง 3 รัฐที่เอ่ยถึงข้างต้นก็จบกันเพราะเพนซิลเวเนียคาดว่าจะชนะขาด

แต่ถึงอย่างไรก็จะยังไม่จบ   เพราะทรัมป์พูดทำนองว่าจะมีกลุ่มผู้ใช้กำลังออกมาต่อต้านอีกในช่วงเวลา 2 เดือนกว่าก่อนที่จะมีการปฏิญาณตนในต้นมกราคม 2021 ของไบเดน   และมีความเชื่อกันว่าถึงจะแพ้หมดทุกทางแล้วทรัมป์จะไม่ยอมอีก ถึงขนาดอาจไม่ยอมย้ายออกจากทำเนียบขาวเอาทีเดียว

                        ประเพณีของการแข่งเป็นประธานาธิบดีที่ผ่านมายาวนานก็คือเมื่อคะแนนแพ้แล้วก็จะออกมายอมรับว่าแพ้ และโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งที่ชนะ และบอกว่าเราจะร่วมทำงานกันต่อไปเพื่อคนอเมริกัน    ภาพนี้คนอเมริกันเชื่อว่ายากที่จะเกิดขึ้น    เพราะทรัมป์เป็นคนที่ไม่รู้จักแพ้  ไม่รู้จักการมีความงดงามเชิงวัฒนธรรมเพื่อเชิดชูสถาบันประชาธิปไตยด้วยการช่วยกันสร้างความน่าเชื่อถือของการเลือกตั้ง

                        สิ่งที่ไม่น่าเชื่อก็คือท่ามกลางความผิดพลาดของโพลล์บ้างในบางรัฐ และการเชื่อว่าจะชนะกันขาดลอย และความน่ารังเกียจของความเป็น “ทรัมป์”  น่าอัศจรรย์ที่ยังมีคนอเมริกันถึงกว่า 70 ล้านคน ที่เลือกคนลักษณะนี้ให้กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง