Private Equity ทางเลือกการลงทุนที่เติบโตยุค Covid-19

Private Equity ทางเลือกการลงทุนที่เติบโตยุค Covid-19

เมื่อพิจารณาสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset) ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าสินทรัพย์ไหนเหมาะที่จะลงทุนในช่วง Covid-19

ผู้ลงทุนส่วนใหญ่ที่คุ้นเคยกับการฝากเงิน , การลงทุนในตราสารหนี้ , หุ้น หรือกองทุนรวม อาจมีความกังวล เนื่องจากผลกระทบ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจอาจทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนและอัตราผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ดังกล่าวเปลี่ยนไปจากภาวะปกติ   

อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset Class) ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมในผู้ลงทุนต่างประเทศรวมถึงผู้ลงทุนไทยที่มีสถานะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมในช่วง Covid-19 ได้แก่ กลุ่มสินทรัพย์ตราสารทุนนอกตลาด (Private Equity) ที่มีกลยุทธ์การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจถดถอย อาทิ Distressed Assets/ Turnaround ซึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการกระจายการลงทุน เนื่องจากมีค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) กับอัตราผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นต่ำขณะเดียวกันมีอัตราผลตอบแทนคาดหวังค่อนข้างสูง จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation)

โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนบางรายตั้งกองทุนประเภทที่นำเงินไปลงทุน (Feeder Fund) ให้กับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Private Equity ต่างประเทศให้เห็นบ้างแล้ว ดังนั้นคาดว่าเมื่อสินทรัพย์ประเภทนี้เติบโตเป็นที่รู้จักของนักลงทุนไทยมากยิ่งขึ้น การลงทุนใน Private Equity จะเป็นที่นิยมและมีมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มมากขึ้นตามทิศทางการขยายตัวของสินทรัพย์ประเภทนี้ในตลาดการเงินโลก

ตลาด Private Equity ที่กำลังเติบโตในไทย

เราจะเห็นได้ว่าพัฒนาการตลาด Private Equity ในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปี พ.ศ. 2557 เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกกฎเกณฑ์อนุญาตให้ก่อตั้งทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust: PE Trust) ได้ โดยมีเงื่อนไขการลงทุนที่ยืดหยุ่น เพื่อให้ธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงธุรกิจเกิดใหม่ ได้มีโอกาสรับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 

ทั้งนี้โดยโครงสร้างของ PE Trust นั้นจะประกอบด้วย ทรัสตี (Trustee) ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและกำกับดูแลให้การบริหารงานของทรัสต์เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมี ผู้จัดการทรัสต์ (Trust Manager)ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากทรัสตีให้บริหารจัดการกองทรัสต์และจัดหาผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่กองทรัสต์

ตัวอย่างของกอง PE Trust ที่จัดตั้งขึ้นและมีชื่อเสียงคือ SMEs Private Equity Trust ที่ตั้งขึ้นโดยการร่วมลงทุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ มีนโยบายจัดหาประโยชน์ด้วยการลงทุนใน ธุรกิจ SMEs หรือ Start ups เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ร่วมลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวม

สถานการณ์ปัจจุบันและอาจจะต่อเนื่องไปอีกระยะในการที่เราต้องเผชิญกับ Covid-19 คาดว่าหลายธุรกิจอาจมีความจำเป็นต้องระดมทุนผ่าน Private Equity มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจประเภทโรงแรมในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จึงเป็นโอกาสที่ บริษัท Destination Capital PTE. LTD. (DC) และ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  ได้จัดตั้ง “กองทรัสต์ DESCAP 1 Private Equity Trust เตรียมเปิดให้นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ที่สนใจจองซื้อหน่วยทรัสต์ได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

ด้วยโมเดลธุรกิจที่ร่วมลงทุนซื้อกิจการ รีสอร์ท ,โรงแรม ในเมืองใหญ่ และนำมาปรับปรุงตกแต่ง (Renovate) พร้อมกับเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาด (Reposition) และ ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ (Rebrand) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินทรัพย์ อีกทั้งเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงขึ้น และนำกำไรจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในกองทรัสต์ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่เป็นประเทศเป้าหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ให้สามารถรองรับการฟื้นตัวหลัง COVID-19 คลี่คลาย

KTBST SEC จึงมองว่าเป็นโอกาสและจังหวะในการลงทุนที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่จะแสวงหาผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม ด้วยจัดสรรเงินลงทุนไว้ในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง “DESCAP 1 Private Equity Trust ที่เป็นประโยชน์ทั้งกับผู้ถือหน่วย , เจ้าของธุรกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไทย   **ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูล ความเสี่ยง ให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน**