ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์

การบริหารธุรกิจในบ้านเรา ยึดตรรกะและเหตุผลเป็นเครื่องมือในการนำทาง เป็นผลให้พัฒนาการของประเทศเดินได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น

ผมมีความเห็นความคิดสร้างสรรค์ คือเครื่องมือที่มีพลังเหนือกว่าตรรกะและเหตุผลอย่างเทียบกันไม่ได้ ข่าวร้ายมากไปกว่านั้นองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ต่ำมาก ทำให้นวัตกรรมธุรกิจเกิดขึ้นในอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก

ผมขอเริ่มเรื่องโดยทำความเข้าใจว่าอะไรคือคำจำกัดความของความคิดสร้างสรรค์

ในช่วงกลางทศวรรษ 1960 สถิติโลกของการกระโดดสูงไม่ถูกทำลายเป็นเวลาหลายปี ทำให้วงการกรีฑาโลกสงสัยอะไรคือสาเหตุ แต่ไม่มีใครมีคำตอบ

Dick Fosbury เป็นนักกระโดดสูงชาวอเมริกันให้ความเห็นว่าสาเหตุที่สถิติโลกไม่ถูกทำลายเพราะนักกระโดดสูงทุกคนใช้ท่ากระโดดท่าเดียวกัน เป็นท่ากระโดดข้ามไม้ โดยเอาหน้าหันลงกับพื้นดิน Dick Fosbury เป็นคนแรกในโลกที่ออกแบบการกระโดดสูงที่ “ทำตรงกันข้าม” กับท่ากระโดดเดิมโดยเขากระโดด โดยหันหลังให้กับไม้ด้วยท่านี้ที่เรียกว่า “back first technique” Dick Fosbury ทำลายสถิติการกระโดดสูงด้วยสถิติ 2.24 เมตรในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 1968 และนี่คือความหมายของความคิดสร้างสรรค์ มันคือ “คำตอบใหม่กับปัญหาเก่าที่สร้างผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าเดิม” ที่สำคัญคือเราสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในบริหารธุรกิจเพื่อสร้าง new solution to old problem that generates better result

วิธีการสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ 2 รูปแบบ

หนึ่งมองสิ่งที่คุ้นเคยเป็นเรื่องผิดปกติ เพื่อความกระจ่างผมขอตั้งคำถามว่าเวลาผู้อ่านไปเบิกเงินที่ตู้ ATM เมื่อเราเสียบบัตร ATM พร้อมกดรหัส คำถามคือเครื่อง ATM ควรจะคาย “เงิน” หรือ “บัตร ATM” ออกมาก่อน ในระบบธนาคารของบ้านเราเครื่อง ATM จะจ่าย “เงิน” ออกมาก่อน หลังจากนั้นค่อยคืนบัตร ATM ให้กับลูกค้า ถ้าคิดให้ดีนี่เป็นสิ่ง “ผิดปกติ” เพราะถ้าลูกค้ามีความเร่งรีบในการทำ transaction การจ่าย “เงิน” ออกมาก่อนลูกค้ามีโอกาสที่จะลืมบัตร ATM ไว้ที่เครื่อง ในมุมกลับกันถ้าให้เครื่องคืนบัตร ATM ให้กับลูกค้าก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินให้กับลูกค้า นี่เป็น sequential order ที่ถูกต้อง

ถามว่าทำไม เพราะลูกค้าไม่มีวันที่จะลืมหยิบเงินไม่ว่าเขาจะรีบแค่ไหน เพราะ เงินคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และนี่เป็นตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างคุณประโยชน์กับลูกค้า ผมมีความเห็นว่าในบ้านเรามีสิ่งที่คุ้นเคยที่เป็นเรื่องผิดปกติมากมาย ถ้าผู้ประกอบการกล้าคิดและทำสวนทางจะส่งผลให้ลูกค้าของท่านมีคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ

วิธีที่สอง ในการสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์คือ cross industry learning ตัวอย่างคือเรื่องราวของ Southwest Airlines ซึ่งเป็น low cost airline แรกของโลก หลักในการทำ operation management มีง่ายๆ เพียงประการเดียว คือต้องให้เครื่องบินบินตลอดเวลา และเวลาเครื่องบินจอดที่สนามบินเพื่อ unload สัมภาระจากเที่ยวบินเก่า และ load สัมภาระของเที่ยวบินใหม่ ประเด็นคือต้องทำให้เร็วที่สุด เพื่อให้ downtime ของเครื่องบินใช้เวลาน้อยที่สุด เพราะ downtime คือ inefficiency ที่เพิ่มต้นทุนในการบิน

ในยุคแรก Southwest Airlines กำหนดว่า downtime ของเครื่องบินใช้เวลาเพียง 10 นาที มาถึงตรงนี้ผมอยากถามผู้อ่านว่า Southwest Airlines benchmark การดูแลเครื่องบินตอนที่จอดที่สนามบินกับอุตสาหกรรมอะไร ถึงทำให้ downtime ใช้เวลาที่น้อยมาก ผู้อ่านลองคิดในใจดูซิครับ

ผมแน่ใจว่าคำตอบของทุกท่านจะเป็นคำตอบเดียวกัน มันคืออุตสาหกรรมรถ formula one ที่เวลาจอดที่ pit stop หน่วยในการดูแลรถ formula one หน่วยเป็นวินาที โดย crew ที่ pit stop มีทั้งหมดประมาณ 20 คน และทุกคนรุมกันทำงานเพื่อให้ downtime ของรถ formula one มีค่าเฉลี่ยที่ 2.4 วินาที และนี่คือที่มาที่ Southwest Airlines สร้างความมหัศจรรย์กดตัวเลข maintenance time ให้ต่ำสุดที่ 10 นาที

ถ้าผู้อ่านอยากเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ นี่คือคุณสมบัติที่จะเปลี่ยนให้คุณเป็น creative thinker ประการแรกตัดขาดจากวิธีคิดเดิม โยนทิ้งประสบการณ์เก่าๆ เพราะอดีตไม่สามารถพาคุณไปสู่โลกแห่งความคิดสร้างสรรค์ คุณต้องเดินออกจาก “กรอบแห่งความคุ้นเคย” และ relearn เรียนรู้ใหม่ ติดอาวุธทางปัญญาว่าโลกแห่งความคิดสร้างสรรค์เขามี playbook อย่างไร

ประการที่ 2 คุณต้องมี can if attitude มาถึงตรงนี้ขอเล่าเรื่อง Audi ในยุคกลางทศวรรษ 2000 ซึ่งเข้าแข่งขัน Le Mans race เป็นการแข่งขันรถยนต์ 24 ชั่วโมง ทีม Audi ทราบดีว่าพวกเขาไม่สามารถพัฒนารถที่วิ่งเร็วกว่าคู่แข่ง คำถามคือพวกเขาจะทำอย่างไรที่จะเป็นที่หนึ่งของการแข่งขันอันแสนทรหดนี้ได้ ทีมวิศวกรซึ่งมี can if attitude บอกว่าเรื่องนี้อยู่ในวิสัยที่ทำได้ พวกเขาพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลที่กินน้ำมันน้อย ถึงแม้รถ Audi วิ่งไม่เร็วกว่าคู่แข่ง แต่รถของพวกเขาจอดที่ pit stop น้อยครั้งกว่าคู่แข่ง เพราะรถ Audi ไม่ต้องหยุดเติมน้ำมันที่ pit stop บ่อยครั้งเท่ากับคู่แข่ง ด้วย can if attitude นี้ทำให้ Audi คว้าแชมป์ถึง 3 ปี

ประการที่ 3 คุณต้องเป็นคนขี้สงสัย มองทุกอย่างรอบตัวแล้วมี “เอ๊ะ moment” ผมขอยกตัวอย่างเรื่องของ Ingvar Kamprad ผู้ก่อตั้ง IKEA บริษัทเฟอร์นิเจอร์ระดับโลก มีอยู่วันหนึ่งเขาเดินเข้าไปในตลาดสด สิ่งที่เขาเห็นก็เหมือนกับคนทั่วไป มีแผงวางขายไก่ ที่พ่อค้านำมาแขวนไว้บนราว สำหรับคนทั่วไปจะเห็นไก่ที่ตายแล้ว แต่ Ingvar มี “เอ๊ะ moment” เขามองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองข้าม เขาตั้งคำถามว่าพ่อค้าขายไก่นำขนไก่ไปทำอะไร แน่นอนพวกเขานำขนไก่ไปทิ้ง Ingvar มองเห็นว่านี่เป็นโอกาสทางธุรกิจ ขอซื้อขนไก่มาทำเป็นผ้านวม ซึ่งต้นทุนจะต่ำกว่าของคู่แข่ง เพราะพ่อค้าขายไก่ต้องขายขนไก่ในราคาถูก

ประการสุดท้าย ถ้าผู้อ่านต้องการเป็น creative thinker คุณต้องมีจิตวิญญาณของความเชื่อบนคำว่า Impossible is nothing and anything is possible

สุดท้ายผมมีข่าวดีมาบอกกับผู้อ่านว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ พรสวรรค์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ ประเด็นสำคัญคือ คุณต้องกล้าที่จะก้าวเดินออกจาก comfort zone

[credit : Adam Morgan]