สหรัฐจะแบนติ๊กต๊อก-วีแชท ปกป้องข้อมูลชาวอเมริกัน

สหรัฐจะแบนติ๊กต๊อก-วีแชท ปกป้องข้อมูลชาวอเมริกัน

ไม่กี่วันที่ผ่านมานิตยสารฟอร์จูนได้อัพเดทรายการ“ฟอร์จูนโกลบอล 500” ซึ่งเป็นการรวบรวมรายชื่อของ500บริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในโลก

แต่ความแตกต่างในครั้งนี้คือกลับมีธุรกิจของจีนถึง124บริษัทซึ่งมากกว่าสหรัฐที่มีอยู่121บริษัทโดยเป็นครั้งแรกที่มีธุรกิจของจีนมากกว่าสหรัฐในการจัดอันดับฟอร์จูนโกลบอล500

เมื่อ30ปีที่แล้วที่มีการจัดอันดับฟอร์จูนโกลบอล500เป็นครั้งแรกไม่มีธุรกิจของจีนอยู่แม้แต่บริษัทเดียวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจจีนในไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งเริ่มแซงหน้าสหรัฐผู้ซึ่งเคยเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียวมานับแต่สิ้นสุดสงครามเย็น

การสั่นคลอนซึ่งสถานภาพของสหรัฐอาจเป็นหนึ่งปัจจัยที่นำมาสู่กระแสต่อต้านจีนในหมู่ประชากรสหรัฐจนกระทั่งรัฐบาลภายใต้การนำของประธานธิบดีทรัมป์สามารถออกมาแบนธุรกิจจีนครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งในครั้งหลังๆอาจทำให้ชาวโลกเริ่มมีความสับสนในจุดยืนของสหรัฐในฐานะผู้ที่สนับสนุนการค้าเสรีมาโดยตลอด

ซึ่งอาจเป็นเพราะในก่อนหน้านี้สหรัฐอยู่ในสถานะของผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเข้ายึดครองตลาดของประเทศอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจสัญชาติอเมริกันอย่างเช่น กูเกิลแอปเปิลเฟสบุค และอเมซอนสามารถช่วงชิงส่วนแบ่งของตลาดอย่างที่เกือบจะไร้ผู้ต่อต้าน

แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นดีเจไอ(ผู้ผลิตโดรน)หัวเว่ยที่ได้ถูกแบนไปแล้วในบางพื้นที่หรือทุกพื่นที่ของสหรัฐและล่าสุดที่เป็นติ๊กต๊อกและวีแชทที่กำลังจะถูกแบนล้วนเป็นธุรกิจสัญชาติจีนที่สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งของตลาดในสหรัฐและประเทศอื่นๆและมีโอกาสที่จะขยายฐานเพื่อต่อยอดเข้าสู่ธุรกิจอื่นในอนาคตอันใกล้

ข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกันที่จะอยู่ในมือของธุรกิจจีนหรือกระทั่งรัฐบาลจีนเป็นเหตุผลหลักของรัฐบาลสหรัฐในการแบนธุรกิจเหล่านี้

อย่างไรก็ดี ทั่วโลกอาจลืมการประกาศของประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อไม่กี่ปีก่อนว่ารัฐบาลอเมริกันจะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะของชาวอเมริกันเท่านั้นและไม่รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนของประเทศอื่นที่ใช้บริการของธุรกิจสัญชาติอเมริกันแต่มีข้อมูลเก็บไว้อยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ที่สหรัฐ

ทั้งนี้หากประเทศอื่นริอ่านที่จะใช้บรรทัดฐานเดียวกับของสหรัฐในการแบนธุรกิจต่างชาติที่ได้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนของชาติเป็นจำนวนมากทุกประเทศก็คงหาวิธีที่จะแบนธุรกิจจากสหรัฐเช่นกันเพราะว่าคงจะเหลือเพียงไม่กี่ประเทศที่ธุรกิจสัญชาติอเมริกันอย่างเช่น กูเกิลแอปเปิลเฟสบุค และอเมซอน จะไม่สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งของตลาดไปได้เลย

แต่ก็คงไม่มีประเทศไหนที่จะทำเพราะคงต้องคำนึงถึงการตอบโต้โดยรัฐบาลสหรัฐและต้องคำนึงด้วยว่าประเทศตัวเองจะมีสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลขึ้นมาทดแทนได้หรือไม่

แต่ก็ควรต้องตระหนักด้วยว่าหนึ่งในสาเหตุที่จีนมีความแข่งแกร่งทางดิจิทัลอยู่ทุกวันนี้อาจเป็นเพราะกว่าทศวรรษก่อนหน้านี้จีนได้แบนธุรกิจดิจิทัลสัญชาติอเมริกาออกจากประเทศของตนและก็ต้องจำด้วยว่าแม้แต่ประเทศไทยเองก็เคยได้แบนยูทูบของสหรัฐอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งช่วงนั่นก็มีธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยที่ได้เติบโตขึ้นมาเพราะปราศจากแข่งขันจากประเทศอภิมหาอำนาจ

เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่ตั้งแต่เกิดมาก็คุ้นเคยกับการที่มีชาติตะวันตกเป็นนายเป็นอภิมหาอำนาจและเป็นพระเอกในภาพยนตร์ทุกเรื่องสิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไปและคนส่วนใหญ่จะได้เห็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้วาทกรรมหรือปรัชญาที่สวยหรูของการค้าเสรีและทุกคนก็ยังอาจหลงลืมไปว่าความเจริญของโลกนับพันปีก่อนหน้านี้อยู่ที่ชาติตะวันออก ดังนั้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอาจเป็นการหวนคืนสู่สภาวะปกติก็เป็นได้