ที่ปรึกษากฏหมาย​ (ทรัพย์สิน)​ .... เรื่องสำคัญไม่ควรมองข้าม

ที่ปรึกษากฏหมาย​ (ทรัพย์สิน)​ ....  เรื่องสำคัญไม่ควรมองข้าม

อย่างไรก็ตาม​ ระบบอาคารชุด​ คอนโดมิเนี่ยม​ นิติบุคคลอาคารชุด​ หรือการจัดสรรที่ดิน​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร​ ภายหลัง​

หรือได้รับการจดทะเบียนอาคารชุดตามกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด​ และ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร​ ตามกฏหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน​ เมื่อได้รับการจดทะเบียนตามกฏหมายดังกล่าวแล้ว​ จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย​ ระบบอาคารชุด​ จะมีผู้มีอำนาจ​ ได้แก่​ ผู้จัดการ​ และคณะกรรมการ​ แบ่งแยกอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน​ ระบบการจัดสรรที่ดิน​ มีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร​ เป็นผู้แทน​ ผู้มีอำนาจ​ และกระทำการแทนสมาชิก​ ในนาม​ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร​ ทั้งสองกรณี​ ทั้งนิติบุคคลอาคารชุด​ และหมู่บ้านจัดสรร​ จะถูกกำกับ​ ควบคุม​ ดูแลโดยที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​ ตามข้อบังคับจดทะเบียน และกฏหมายที่เกี่ยวข้องตามลำดับ

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ​ คณะกรรมการคอนโดมิเนี่ยม​ ตลอดจนคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร​ กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ด้านการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง​ ระบบสาธารณูปโภค​ หรือบริการสาธารณะทั้งปวงภายในอาคารชุด​ และหมู่บ้านจัดสรร​ เกี่ยวข้องทั้งระบบบัญชี​ การเงิน​ ธนาคาร​ และ ภาษีเงินได้​ การติดตามทวงถามหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระ​ การจัดซื้อ​ จัดจ้าง​ การประชุมต่างๆ​ ทั้งการประชุมย่อย​ และประชุมใหญ่​ การใช้ทรัพย์สินส่วนบุคคลของสมาชิก​ และทรัพย์สินส่วนกลาง​ การกำหนดระเบียบ​ ข้อกำหนดการปฏิบัติต่างๆ​ การแก้ไขข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกับสมาชิก​ หรือบุคคล​ นิติบุคคลภายนอก​ การจดทะเบียนมติที่ประชุมกับพนักงานเจ้าหน้าที่​ กรมที่ดิน” การบำรุงรักษาระบบวิศวกรรมประกอบอาคารเชิงป้องกัน​ การรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิก​ เจ้าของร่วม​ เป็นต้น​ ซึ่งหากเป็นโครงการ อาคารชุด​ หรือหมู่บ้านจัดสรร​ ขนาดใหญ่ ด้วยแล้ว​ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคล​ ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรง​ดังกล่าว ย่อมมีจำนวนมากโดยลำดับอีกด้วย

เรื่องแปลก แต่จริง พบว่าทั้งนิติบุคคลอาคารชุด​ และหมู่บ้านจัดสรร​ โครงการ​ *ขนาดใหญ่*จำนวนมาก​ มักละเลย​ หรือไม่ให้ความสำคัญด้านกฏหมาย​ ข้อบังคับ​ จึงได้พบความเสียหาย​ จากทั้งไม่รู้​ ไม่ทราบ​ กฏหมาย​ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง​ เหตุเพราะผู้มีอำนาจ​ ไม่ศึกษากฏหมาย​ ข้อบังคับ​ หรือนิติบุคคลอาคารชุด​ หรือหมู่บ้านจัดสรร​ หรือการขาดที่ปรึกษากฏหมาย​ ทนายความ​ รองรับ​ อาจกระทำเรื่องใด​ เรื่องหนึ่ง​ ไม่ถูกต้อง​ จนเป็นความเสียหายเกิดขึ้นแก่นิติบุคคล​ และสมาชิก​ อาจยกตัวอย่าง​ *ข้อผิดพลาด* จากกรณี​ ดังต่อไปนี้

ระบบอาคารชุด​ คอนโดมิเนี่ยม​ และหมู่บ้านจัดสรร

วาระการดำรงตำแหน่งของผู้จัดการ​ คณะกรรมการ​ (หมู่บ้านจัดสรร)​ และการพ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ​ และคณะกรรมการ​ (หมู่บ้านจัดสรร)​ หรือข้อบังคับ​ หมวดว่าด้วยการออกค่าใช้จ่ายร่วมกัน​ หรือการใช้​ และการจัดการทรัพย์ส่วนกลาง​ ตามข้อบังคับ การกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล​ น้ำประปา​ และค่าส่วนกลาง​ (ค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค)​ ตามข้อบังคับ

การจัดทำบัญชีรายรับ​ -​ รายจ่าย​ และการติดประกาศรายรับ​ และรายจ่าย​ ตลอดจนการรายงานผล การติดตาม​ ทวงถาม​ เร่งรัดหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระ

การประชุมคณะกรรมการ​ เเละประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ (ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร)​ ตามข้อบังคับ การฟ้องร้องดำเนินคดี​ การบังคับคดี​ และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน​ ห้องชุด​ และสิ่งปลูกสร้าง​ ที่ดินจัดสรร​ และทรัพย์สินส่วนควบอื่น อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ​ คณะกรรมการ​ (หมู่บ้านจัดสรร)​ และการถอดถอน​ แต่งตั้ง​ ตามข้อบังคับ คุณสมบัติ​ และลักษณะต้องห้ามของผู้จัดการ​ และคณะกรรมการ​ คอนโดมิเนี่ยม​ ตามข้อบังคับ การละเมิด​ ฝ่าฝืนข้อบังคับ​ ระเบียบ​ และกฏหมาย การรับผิดทางแพ่ง​ และอาญาของผู้มีอำนาจ​ บอร์ดบริหาร เป็นต้น

ข้อผิดพลาด อันเกิดจากการใช้ข้อบังคับ​ ระเบียบ​ และกฏหมาย​ดังกล่าวข้างต้น​ ของผู้มีอำนาจ​ บอร์ดบริหาร​ ทั้งทางแพ่ง​ และอาญา สามารถป้องกัน​ แก้ไขได้​ จากการศึกษาข้อบังคับ​ ระเบียบ​ และกฏหมายให้เข้าใจโดยถ่องแท้​ เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินเป็นไปอย่างถูกต้อง​ ซึ่งหากผู้มีอำนาจ​ บอร์ดบริหาร​ ไม่ศึกษา​ ทำความเข้าใจ​ หรือเรียนรู้​ อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุด​ หรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรร​ ในภายหลัง​ รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ไม่ดี​ โครงการขาดความน่าเชื่อถืออีกด้วย

โดย...

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ