Penquin Eat Shabu ปรับตัวอย่างไรในโควิด

Penquin Eat Shabu ปรับตัวอย่างไรในโควิด

Penguin Eat Shabu ก่อตั้งโดย คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี และคุณธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ซึ่งมองเห็นว่าธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนดี

เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น แม้จะมีความเสี่ยงสูงเช่น แต่จากทั้งคู่มองว่า คุณธนพงศ์ซึ่งเป็นสถาปนิกและจบด้านอสังหาริมทรัพย์น่าจะช่วยดูแลเรื่องการตกแต่งร้าน ซึ่งถือเป็นเงินส่วนหลักในการลงทุนได้ ส่วน คุณธนพันธ์ ช่วยดูแลรับผิดชอบด้านการตลาดของร้าน

เริ่มต้นจากการสำรวจตลาด คุณธนพงศ์ พบว่า 80% ของร้านชาบูตั้งชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น ที่เหลืออย่างละ 10% เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การสร้างความแตกต่าง จึงเลือกที่จะตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ 

นอกจากนั้นพบว่า ร้านส่วนใหญ่ใช้สีโทนมืดในการตกแต่ง Penguin Eat Shabu จึงเลือกแตกต่างโดยการทำร้านโทนสีสว่าง และเน้นให้เกิดบรรยากาศความสนุกสนานในการรับประทาน Shabu และเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจนว่าเป็นผู้หญิง ซึ่งมี engage สูงกับโซเชียลมีเดียต่างๆ ลูกค้าส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้หญิงสามารถถ่ายรูปได้เยอะ แสงสวย โดยไม่ต้องพึ่งแอพต่างๆ

เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างโควิดซึ่งร้านอาหารได้รับผลกระทบโดยตรง ร้านอาหารหลายๆร้านปรับตัวโดยการดิลิเวอรี่ ซึ่ง คุณธนพงศ์ มองว่า ทำให้รูปแบบของการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป เดิมคู่แข่งอาจเป็นเพียงแค่ร้านที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงกัน แต่กลายเป็นว่า จำนวนคู่แข่งมีเยอะขึ้น เนื่องจากหลายๆร้านขึ้นไปอยู่บน platform ออนไลน์เหมือนกันดังนั้นการปรับตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก การลดค่าใช้จ่าย เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ Penquin Eat Shabu ได้นำมาใช้ 

เริ่มจากการที่ผู้บริหารตัดสินใจ Downsize องค์กรลง 50% ทั้งในแง่พนักงานและสาขาที่ให้บริการ ทั้งมีนโยบายLeave Without Pay และอีกส่วนคือเปลี่ยนจากพนักงานเงินแบบรายเดือน เป็นพนักงานรายวัน เพื่อให้ธุรกิจคล่องตัวที่สุด

ทั้งนี้การปรับตัวอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทสามารถสร้างสรรค์แผนการตลาดใหม่ๆ และฟื้นฟูธุรกิจกลับมาได้ระดับหนึ่ง จนท้ายที่สุด Penquin Eat Shabu สามารถที่จะให้พนักงานที่ถูก Leave Without Pay กลับมาทำงานกับบริษัทได้ทั้งหมด

สำหรับการทำดิลิเวอรี่ในช่วง COVID-19 ของ Penguin Eat Shabu เริ่มต้นจากการโพสต์รูปเมนูพิเศษบน Facebook ของร้าน และใช้ระบบจ่ายเงินผ่าน Messenger ของ Facebook ทั้งหมด คิดค่าใช่จ่ายในการขนส่งเพียง 20 บาท ซึ่งแทบไม่มีกำไร

ต่อมาบริษัทจึงตัดสินใจลองทำตลาดเดลิเวอรี่อีกรอบ ผ่านการทำแคมเปญชาบูแถมหม้อจน Penguin Eat Shabu ต้องแก้ไขผ่านการร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Event Pop และการจัดโปรโมชั่น เซทชาบูแถมหม้อชาบู พิเศษลูกค้า 100 คนแรก ได้ TinderPlus หรือแอพพลิเคชั่นหาคู่ มูลค่า 300 บาท ไปใช้กันฟรีอีกด้วยอีกทั้ง Penguin Eat Shabu ยังร่วมกับ Line Man โดยการเชื่อมต่อโดยตรงกับ Line Man กดสั่งอาหารได้เลยโดยที่ไม่ต้องสลับแอปพลิเคชั่นและสร้างโปรโมชั่นสั่งผ่าน Line Man 1 แถม 1 อีกด้วย

คุณธนพงศ์ มองว่า สำหรับการปรับตัวในปัจจุบัน ผู้ประกอบการร้านอาหารควรนำเทคโนโลยีมาช่วย โดยเฉพาะในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างเช่น การให้บริการแบบบุฟเฟ่ต์นั้น หัวใจอย่างหนึ่งคือการจัดการต้นทุน โดยทางร้านมีการเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่า ลูกค้าผู้ชายหนึ่งคนรับประทานอาหารประมาณเท่าไร ผู้หญิงหนึ่งคนรับประทานเนื้อเท่าไร รับประทานข้าวเท่าไหร่ ดังนั้น Penguin Eat Shabu สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในขณะเดียวกันก็บริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้จากพันธมิตรทางธุรกิจ ทาง Penguin Eat Shabu นำมาใช้ในการเลือกสินค้ามาจำหน่าย และมองถึงอนาคตว่าการจากใช้ข้อมูล ต่อไป Penguin Eat Shabu จะไม่เป็นเพียงแค่ ร้าน Shabu แต่จะเป็นแพลตฟอร์มการตลาดที่จำหน่ายได้ทุกผลิตภัณฑ์

กรณีศึกษา Penguin Eat Shabu สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการในยุค new normal ที่ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ช่องทางบริการ ช่องทางซื้อขายสินค้า แต่เปลี่ยนแม้กระทั่งวิธีการประทานอาหาร การส่งสินค้ากลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านทางออนไลน์ ดังนั้น Data is the future การให้ความสำคัญและการนำมาใช้ จะช่วยผู้ประกอบการในอนาคต แต่การแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันโอกาสใหม่ๆจากการปรับตัวก็เกิดขึ้นได้

-------

เครดิตกรณีศึกษา โดยคุณนัฏฐริณีย์ วงษ์ชัยมงคล นักศึกษาปริญญาโท สาขาผู้ประกอบการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล