ยุโรปปลอดล็อคดาวน์โควิด-19

ยุโรปปลอดล็อคดาวน์โควิด-19

ใครกำลังเริ่มคิดอยากมาเดินทางมายุโรป คงต้องจับตาสถานการณ์โควิด-19 ยุโรปให้ดี ตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย. ประเทศในยุโรปจะเริ่มผ่อนคลายล็อคดาวน์

เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการเดินทางระหว่างประเทศและข้ามพรมแดนระหว่างประเทศยุโรปกลับมาเป็นไปได้อีกครั้งด้วยข้อจำกัดและมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด แต่หลังจากการผ่อนผันและปลดล็อคดาวน์ในหลายประเทศกลับทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มสูงขึ้นอีก อาทิ สเปน เบลเยี่ยม

สถานการณ์โควิด-19ในยุโรปในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนของยุโรป

ช่วง ก.ค. ถึงต้น ก.ย. เป็นช่วงปิดเทอมหน้าร้อนของยุโรป โรงเรียนทั่วยุโรปปิดยาวเป็นเดือนๆ หลังจากที่จริงๆ ก็ปิดตอบรับโควิด-19 ในช่วง มี.ค. ถึง มิ.ย. มาสักระยะหนึ่งแล้ว ปิดเทอมหน้าร้อนเป็นช่วงที่ชาวยุโรปปกติจะเดินทางพักผ่อนและท่องเที่ยว (เน้นออกไปรับแสงแดดร้อนๆ) ปีนี้การเดินทางออกนอกยุโรปไปเที่ยวไกลๆ อาจยังเป็นไปไม่ค่อยได้ ทำให้ชาวยุโรปท่องเที่ยวกันอย่างหนาแน่นในภูมิภาคยุโรปเอง หลังจากอัดอั้นเกือบตัวล็อคดาวน์มาหลายเดือน ยิ่งมีการเดินทางและเชื่อมต่อกันมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อก็เพิ่มขึ้นด้วย

ในภาพรวมผู้เชื้อทั้งหมดในยุโรป ณ วันที่ 17 ก.ค. 2563 รวมกลุ่มประเทศ EU/EEA (คือประเทศ EU 27 ประเทศและ EEA คือไอซแลนด์ ลิคเทนสไตน์ นอร์เวย์) และสหราชอาณาจักร มีจำนวน 1.6 ล้านคน และเสียชีวิต 180,000 คน จากผู้ติดเชื้อในโลก 13 ล้านคนสถานการณ์การตรวจพบเชื้อ โควิด-19 ต่างกันไปในแต่ละประเทศ และมีมาตรการควบคุมที่ไม่เหมือนกัน จะเดินทางไปประเทศไหนให้ตรวจสอบเป็นรายประเทศไป (ดูแผนที่) แนะนำให้ตรวจสอบจากองค์กร European Centre for Disease Prevention and Controlwww.ecdc.europa.eu

159505421433

159505422764

ที่มา European Centre for Disease Prevention and Control

 

รายชื่อกลุ่มประเทศปลอดภัยโควิด-19เดินทางเข้ายุโรปได้

ตั้งแต่ปลาย มิ.ย. อียูได้ออกประกาศ “รายชื่อประเทศปลอดภัยจากโควิด-19” ซึ่งสามารถเดินทางมายุโรปได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 โดยรายชื่อประเทศนี้จะได้รับการอัพเดททุกๆ สองสัปดาห์

รายชื่อล่าสุดของกลุ่มประเทศปลอดภัยโควิด-19เดินทางเข้ายุโรปได้ ณ วันที่ 16 ก.ค. ซึ่งรวมประเทศไทยอยู่ด้วย ได้แก่ แอลจีเรีย ออสเตรเลีย แคนาดา จอร์เจีย ญี่ปุ่น มอนเตเนโกร โมร็อกโก นิวซีแลนด์ รวันดา เกาหลีใต้ ไทย ตูนิเซีย และอุรุกวัย(สำหรับ จีน ขึ้นอยู่กับการให้แบบต่างตอบแทน)

ตรวจสอบรายชื่อดังกล่าวได้ที่ https://www.consilium.europa.eu/en/topics/covid-19/

อย่างไรก็ตาม รายชื่อประเทศเหล่านี้เป็นเพียงคำแนะนำจากอียูให้แก่ประเทศสมาชิกกลุ่มเชงเกนทั้งหมด และยังรวมไอซแลนด์ ลิคเทนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิสเซอร์แลนด์ด้วย โดยอียูหวังจะจัดการและควบคุมระบบการผ่านพรมแดนจากภายนอกยุโรปเข้ามายังยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ในทางปฏิบัติประเทศสมาชิกยุโรปยังมีอำนาจในการกำหนดมาตรการควบคุมพรมแดนของตนเอง ดังนั้น ก่อนเดินทางควรตรวจสอบมาตรการจากรัฐบาลแต่ละประเทศอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ

ล่าสุดตั้งแต่เมื่อวาน(วันที่ 17 ก.ค.) ได้มีการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปครั้งแรกแบบพบปะกันจริง (ไม่ผ่าน teleconference) ณ กรุงบรัสเซลส์ ครั้งแรกหลังจากการล็อคดาวน์ โดยได้มีการหารือเรื่องหลักๆ อย่างงบประมาณอียูและแผนการฟื้นฟูโควิด-19 จำนวนมหาศาล ในขณะที่เขียนอยู่ผู้นำยังตกลงกันไม่ได้ และยังไม่มีประกาศอะไรออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ที่แน่ๆ ในที่ประชุม ผู้นำยุโรปล้วนในหน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 กันทุกคน

ยุโรปนับเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19มากที่สุดในโลก ไม่ใช่แค่จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมากแต่ผลกระทบต่อสเถียรภาพทางเศรษฐกิจยุโรปนั้นน่าเป็นห่วง เพราะเศรษฐกิจยุโรปที่ถดถอยและตกต่ำจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยอย่างแน่นอน จึงหวังว่าผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปครั้งนี้จะหาทางออกให้กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 ได้จริง

[ ดร. อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.euหรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd  ]