มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ไทย (ต่อ)

มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ไทย (ต่อ)

ประเด็นจากการสัมมนาของ The Standard Economic ที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว ตั้งแต่เรื่อง Globalization

ที่เปลี่ยนการเชื่อมโยงจากโลกใบเดียวเป็นกลุ่มภูมิภาค การว่างงานที่จะทวีความรุนแรงเป็นปัญหาสังคมตามมา เรื่องความเป็นประชาธิปไตยที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ ระบบราชการไทยที่ขาดประสิทธิภาพต้องปฎิรูประบบราชการทั้งหมด

เรื่อง Emphaty ที่จะต้องมีความเห็นอกเห็นใจกัน เรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจหรือ Trust การทำให้ประเทศไทยเป็น Hygenne Destination ประเทศไทยต้อง Rebranding เพื่อให้ได้

ประโยชน์จาก Digitalization ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เราต้องสร้างคนสำหรับอนาคต คนต้องมี Skill ที่สำคัญ ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ต้อง Life long learning และเรื่องที่มีความสำคัญมากคือ Retail ที่จะ No channel ทุกประเด็นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ในการปฎิรูป SMEs ไทย

ภาพรวมสถานการณ์ SMEs ไทย ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจไว้ตั้งแต่เดือนต.ค.2561 จำนวนรวม 5.2 ล้านราย เป็น SMEs ในสำมะโนธุรกิจ 3.1 ล้านราย คิดเป็น 60% SMEs นอกสำมะโนธุรกิจ 2.1 ล้านราย คิดเป็น 40% 

SMEs ขนาดเล็กนอกสำมะโนธุรกิจ แยกเป็น กลุ่มผู้ค้าแผงค้า 1.28 ล้านราย หาบเร่ แผงลอย 5.6 แสนราย กลุ่มออนไลน์ 4.1 แสนราย อื่น ๆ 1.5 แสนราย SMEs นอกระบบ ที่ตกสำรวจยังมีอีกมาก จากการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ตั้งแต่ปี 2562 SMEs เป็นหนี้ปกติ 2.6 ล้านราย เป็น NPL (หนี้เสีย) 0.5 ล้านราย ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน ข้อมูลที่ล้าสมัย ทำให้การช่วยเหลือ SMEs ขาดประสิทธิภาพ รัฐบาลทุกสมัยล้วนแต่ให้ความสำคัญกับ SMEs ออกมาตรการช่วยเหลือหลายแนวทาง 

เช่น การหาองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ SMEs การหาช่องทางการตลาด การหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีศักยภาพที่จะเข้าถึงแหล่งทุนได้เพราะสถาบันการเงินมีเครื่องมือในการให้สินเชื่อที่เข้มงวดมากกว่าเดิม มาตรฐานบัญชีที่ประกาศใช้ในรอบปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้ SMEs เลิกฝันถึงการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ การปฎิรูป SMEs จึงจำเป็นมาก ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมาสุมหัวคิด ทั้งภาครัฐ สถาบันการเงิน คู่ค้า กลุ่มองค์กร ที่สำคัญที่สุดคือท่านผู้ประกอบการ SMEs

เรื่องแรก คือการสำรวจข้อมูล SMEs ที่เชื่อถือได้ แยกกลุ่ม SMEs ที่ชัดเจนเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือให้เหมาะสมสำหรับแต่ละประเภท ไม่ใช่ออกมาตรการช่วยเหลือแบบเหมาเข่ง ทำให้ SMEs จำนวนมากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบ จ้างนักศึกษาที่จบออกมาแล้วตกงานเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีการจ้างงาน ที่สำคัญคือแบบสำรวจ ต้องออกแบบให้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ เรื่อง Trust เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากครับ ถ้าได้ข้อมูลต้องมีการทำ Data Analytic ด้วยวิธีการที่ทันสมัย

เรื่องที่สอง คือการปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือและพัฒนา SMEs ของภาครัฐ อาทิเช่น สสว ต้องมีบทบาทเชิงรุก มากกว่าปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่ จัดประชุมสัมนา สสว ต้องมีทีมงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษา แนะนำได้ ควรมีทีมงานสสว.กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาจให้นั่งทำงานโดยใช้สถานที่ของธนาคารของรัฐทุกจังหวัด

ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์ปิดสาขาเพิ่มขึ้นทุกปี ลูกค้าใช้บริการที่สาขาน้อยลง จ้างคนที่ Retire Early มาทำงาน เป็นคนกลางในการประสานงานกับสถาบันการเงิน แนะนำ SMEs ในการวางแผนธุรกิจ มี KPI วัดที่ชัดเจน

เรื่องการปฏิรูป SMEs เป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญ ยังมีข้อเสนอที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องอีกมาก ต้องต่อตอนหน้าแล้วครับ..