มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ไทย (ต่อ)

มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ไทย (ต่อ)

เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วอย่างรวดเร็วคือเรื่อง Digitalization วงสัมมนามีความเห็นว่า จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าเดิม

สำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เป็นการเปลี่ยนด้วย Value ไมใช่การเปลี่ยนเพราะการบังคับ เรื่องของความรวดเร็วขึ้น โปร่งใส และยืดหยุ่นมากขึ้น มีความสำคัญมาก ตัวบทกฏหมายทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนความเข้าใจในเรื่อง Digital มากกว่านี้

คนที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดจะต้องสร้างคนสำหรับอนาคต ต้องสร้าง Skill กับ Mindset ประเทศไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ Skill ที่สำคัญของโลกยุคนี้คือ Life Long Learning คนต้องมี Passion ที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

ในแง่ Mindset ต้องปรับกันทุกระดับ ทั้งภาครัฐและราชการ

หลักคิดยุคใหม่ในเรื่อง Retail ที่จะต้อง No Channel ต้องเชื่อมโยงทุก Platform เข้าด้วยกัน ต้อง Seamless ทั้งหมดไปกับชีวิตของลูกค้า ในด้าน Physical Place ก็เป็นเรื่องที่จะต้องตีโจทก์ให้ออก ตอบโจทก์คุณค่าของการเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์

หัวใจความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่ คือ Speed,Flexibility,Adatability,Resilience,Agile ต้องมาจาก “Data&Insight” ที่ต้องกลายเป็นทักษะที่สำคัญขององค์กรที่ทันสมัย การพัฒนา Product&Service ต้องสอดคล้องกับความปกติใหม่ และความต้องการใหม่ ๆ ของชนชั้นกลาง และต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่จะทำให้คนจนเพิ่มสูงขึ้น ต้องแสวงหาโอกาสในทุกรูปแบบ

ประเด็นที่ได้จากการเสวนาดังกล่าว ท่านผู้ประกอบการ SMEs ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจท่ีรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่มีอยู่ 90% ของธุรกิจทั้งหมด มีการจ้างงานกว่า 50% ของธุรกิจทั้งหมด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ SMEs ทั้งจำนวนผู้ประกอบการที่มีอยู่เกือบ 3 ล้านราย มีมาตั้งแต่สมัยที่ผมทำงานดูแล SMEs ที่ธนาคารกรุงไทย เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว จุดอ่อนของ SMEs ตั้งแต่การผลิต การจัดการบริหาร การเข้าถึงแหล่งทุน การตลาด แรงงาน คุณภาพสินค้า และเทคโนโลยี ยังมีอยู่ตลอดมา แรงกดดันหลักที่ทำให้ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ มีการพูดถึงกันมาก ถึงเรื่องลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความต้องการที่หลากหลาย สภาพการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นทั้งจำนวนและขนาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะต้นทุนทางการเงินที่ต้องพึ่งพาการเงินนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงมาก ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องมีการวิเคราะห์กันอย่างเป็นระบบ จากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ SMEsคู่ค้า สถาบันการเงินและภาครัฐ ที่ผ่านมารัฐบาลได้อัดเม็ดเงินจำนวนมาก สถาบันการเงินก็มีการโฆษณาว่าให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ แต่เสียงบ่นที่ยังได้ยินเสมอคือธุรกิจ SMEs ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้

Crisis ที่เกิดจากการระบาดของไวรัสครั้งนี้ ธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบที่รุนแรง เป็นการซ้ำเติมให้ปัญหาต่าง ๆ ให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อใด รัฐบาลได้กู้เงินจำนวนมหาศาล และออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ด้วยการออกพระราชกำหนดวงเงินสนับสนุนถึง 500,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารพาณิชย์ แต่กลไกต่าง ๆ ก็ติดขัดไปหมดและผมเชื่อว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ

ตอนต่อไปผมขอนำเสนอรายละเอียดในการปฏิรูปธุรกิจ SMEs ครั้งใหญ่ และอยากได้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์จากทุกฝ่าย โปรดส่งข้อมูลถึง [email protected] เพื่อร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ร่วมกัน...