จุดเปลี่ยน

จุดเปลี่ยน

ผมมีความเห็นว่าวิกฤติ covid-19 คือจุดเปลี่ยนของประเทศ ความร้ายแรงครั้งนี้ทำให้โลกทั้งโลกต้องกดปุ่ม pause และหยุดเป็นเวลานานมาก

ความเสียหายทางเศรษฐกิจและชีวิตผู้คนถือได้ว่าเป็น “เหตุการณ์ร้อยปีมี ครั้ง” ในมุมกลับการบริหารจัดการกับวิกฤติของบ้านเราถีอได้ว่าเป็นกรณีศึกษาระดับโลก ที่ควบคุมการระบาดได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ คำถามต่อมาคือเราจะฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศด้วยวิธีอะไร ที่ทำให้ประเทศเราแข็งแรงกว่าเดิม

ผมมีความเห็นว่ายุทธศาสตร์ในการสร้างจุดเปลี่ยนมีหลักคิดอยู่ 4 ประการ

1.เมื่อพายุ covid-19 จางหายไป ผมเสนอให้ทำquick win project ทำเรื่องที่เห็นผลทันทีในการกระตุ้นเศรษฐกิจดีขึ้นทันตาเห็นคนไทยทุกคนตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค. ทุกคน “ติดคุก” อยู่ในบ้านเป็นเวลานาน มี ความอึดอัดด้านจิตใจ ไม่มีสุนทรีย์กับการใช้ชีวิตนอกบ้านยาวนานที่สุดตั้งแต่เกิด ผมเสนอให้รัฐบาล ประกาศหยุด 5 วันติดต่อกัน ตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เพื่อให้ประชาชนไปเที่ยวต่างจังหวัด ให้คนไทยผ่อนคลายตัวเองหลังจากสู้ศึกหนักมาหลายเดือน

ไอเดียนี้มีข้อดี 2 ประการ หนึ่งเป็นสร้างรายได้ทันทีให้กับวงการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร หรือธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผมมีสมการในใจ ถ้าเราปิดประเทศให้คนไปเที่ยว ผมมั่นใจว่ามีคนไปเที่ยวเป็นล้านคน สมมติว่ามีคนไปเที่ยว 2 ล้านคน วันหนึ่งแต่ละคนใช้เงินเฉลี่ย 2,500 บาท เป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร

นี่คือการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจจำนวน 2,500 x 5 x 2 ล้าน มูลค่า 25,000 ล้านบาทในเวลา 5 วัน เงินจำนวนนี้กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้วงการท่องเที่ยวซึ่งเป็น engine หลัก jump start ในฉับพลัน และส่งผลให้เกิด flywheel effect เงินไหลต่อไปที่วงการอื่น ทำให้วงล้อเศรษฐกิจเริ่มหมุน

ตรรรกะในข้อเสนอนี้มีเหตุผลง่าย ๆ คือปีนี้คนไทยไม่ได้หยุดวันสงกรานต์ และการใช้วงการท่องเที่ยวเป็นตัว จุดชนวนเป็นสิ่งที่คนไทยจะตอบรับกับข้อเสนอนี้อย่างแน่นอน ผลพลอยได้อีกประการหนึ่งนี่เป็น quick win project ของการบินไทย ผมมั่นใจว่าทุกเที่ยวบินจะมี load factor 100% น้ำที่เคยแห้งบ่อที่การบินไทยจะมี เงินไหลเข้ามาทันที

2.แผนระยะกลางถึงยาว วิกฤติครั้งนี้ประเทศเราพิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า บ้านเมืองเรามีความพิเศษในการรับมือกับโรคระบาดที่โลกไม่เคยเจอ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่มหัศจรรย์มาก สิ่งที่รัฐบาลควรจะปักธงคือวางตำแหน่งประเทศเป็น business hubสำหรับบริษัทต่างชาติมาตั้ง regional office ในประเทศเรา

 อะไรคือเหตุผลที่เป็นข้อชักจูง

a) ระบบทางการแพทย์และการปรับตัวรับมือของเราถือได้ว่าอยู่ในขั้น top tier ผลคือความปลอดภัยของ พนักงานของ multinational company และเสถียรภาพของสำนักงานขององค์กรที่ตั้งในบ้านเรา

b) จากเหตุการณ์ครั้งนี้คนไทยในต่างสาขาอาชืพมาร่วมมือทำงานที่ผมเรียกว่าcross industry collaboration working process ผู้เชี่ยวชาญที่ถือว่าเป็นเซียนในอาชีพตัวเองมาร่วมงานเหมือน jigsaw ที่ขบกันแบบลงเหลื่ยมมุมเซียนเหล่านั้นคือหมอวิศวกรนักวิชาการนักธุรกิจทุกคนเอาตัวตนวางลง ให้ความเห็นในมุมตัวเอง ฟังความเห็นคนอื่น และหาข้อสรุป นี่เป็นเรื่องที่สุดยอด เพื่อนผมหลายคน ร่วมกันสร้าง negative pressure room แล้วบริจาคให้กับโรงพยาบาล ผมขอพูดแบบตรงไปตรงมา วิธี การทำงานแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นมาก่อน ถ้าเรานำ working spirit นี้เป็นแก่นนำพาประเทศไปสู่วันที่ดีกว่า จะทำให้เรามีจุดเด่นในสายตาของบริษัทข้ามชาติ

c) คนไทยเป็นสุดยอดของ “นักดัดแปลงและนักประดิษฐ์” เพื่อนผมหลายคนที่เป็นวิศวกรเล่าว่าความที่ supply ของของบางอย่างขาด ทำให้เซียนบางท่านดัดแปลงและประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อให้เราสู้กับโรค ระบาดได้ วิกฤติครั้งนี้ดึงเอาศักยภาพที่ซ่อนเร้นของคนไทยออกมาใช้ และนี่คือ unseen expertise ที่เป็น ประโยชน์กับบริษัทต่างชาติ

3.เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องสำคัญเราคือ food bank ของโลก เรามีความอุดมสมบูรณ์ที่พร้อมพรั่งในเรื่อง ทรัพยากรอาหารที่ป้อนประชากรของโลก เรื่องนี้ต้องมีการเขียน “พิมพ์เขียว” สร้างยุทธศาสตร์ที่หลักแหลม ต้นทุนเราดีมากไม่มีประเทศไหนเทียบได้ สิ่งที่ต้องทำคือการบริหารจัดการให้เป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึง ปลายน้ำ ถ้าทำสำเร็จนี่จะเป็นขุมทรัพย์ที่ยั่งยืน

4.สิ่งที่รัฐบาลและเอกชนต้องเรียนรู้จากวิกฤติ covid-19 คือ catalyst ที่ดึงอนาคตมาอยู่ตรงข้างหน้าเรามันเป็นภาคบังคับที่ผู้บริหารจะคว้าแล้วสร้างเป็น switching moment ทำให้ประเทศและองค์กรธุรกิจอยู่ในโลก ใหม่ covid-19 สอนเราว่า what bring you here will not get you there อะไรที่คุณเคยทำแล้วได้ผล มันจะ กลายเป็นแค่ใบมีดทื่อ ๆ

ประเด็นคือทุกคนต้อง “เปลี่ยนแปลง” ในทุกมิติแล้วประเทศไทยจะกลายเป็นผู้เล่นหลักของภูมิภาค