'โควิด-19' ปัจจัยเร่ง ธุรกิจ E-Commerce

'โควิด-19' ปัจจัยเร่ง ธุรกิจ E-Commerce

โควิด-19 ส่งผลกระบทบทั้งเรื่องวิถีชีวิตและการลงทุน

สวัสดีกครับท่านผู้อ่าน ตั้งแต่เกิด covid 19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลกระบทบทั้งเรื่องวิถีชีวิตและการลงทุนไปไม่น้อยและปฏิเสธไม่ได้ว่า Covid 19 จะเปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ new normalที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Work form home หลายท่านที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ผมเชื่อว่ายังทำงานกันที่บ้านอยู่ เป็นอย่างไรบ้างชินหรือยัง ซึ่งการ WFH ที่เกือบจะทุกบริษัทได้ดำเนินการแล้วและคาดกันว่าหลังจากนี้จะยังคงมีการดำเนินกันต่อไปเนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและศักยภาพงานไม่ลดลงไปมากนัก และในส่วนของ office หลายที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไม่มีโต๊ะส่วนตัวแต่เป็นตัวที่ใครมานั่งก็ได้มีเพียง Computer Notebook ก็สลับที่ทำงาน ไปที่ไหนก็ได้การสือสารผ่าน VDO conference ที่พูดคุยประชุมกันทั้งภายในบริษัทข้ามบริษัทเรื่องธุรกิจจนถึงนั่งคุยสังสรรกับเพื่อนฝูงผ่าน app จนกลายเป็นเรื่องปรกติที่เราไม่จำเป็นต้องอาศัยสถานที่ใดที่หนึ่งหรือจัดห้องประชุมใหญ่โต

ธุรกิจต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ และผู้ได้ประโยชน์คือ E-Commerce

E-Commerce เป็นธุรกิจที่เติบโตอยู่แล้ว ด้วยความสะดวกสบาย แต่ COVID-19 เป็นปัจจัยเร่ง ไม่ให้คนเดินทาง Social distancing ทำให้กลุ่มธุรกิจนี้ มีความน่าสนใจและผู้บริโภคเข้ามาอยู่ใน eco system ของ E-commerce ที่มาก และเร็วขึ้น
มีความสะดวก และตัวเลือกที่มากผู้ให้บริการมีความเข้าใจลูกค้าจากการเก็บ data ของลูกค้า สามารถนำเสนอสินค้า โปรโมชั่นที่ตรง และตัวลูกค้าเองมีความสะดวกเหมือนมีคนเข้าใจความต้องการของตนเองโดยที่ตัวเองไม่ต้องเดินทางไป shop.ใหเมื่อยตุ้ม ซึ่งหลักจากเปิดเมืองแล้วก็ไม่แน่ว่าคนจะยังออกมาจับจ่ายเหมือนปกติหรือไม่แต่ที่แน่นอนว่ายังคงใช้ Ecomm ต่อไป
Infrastructure มีความพร้อมมากขึ้น จากเทคโนโลยีการสื่อสาร 4-5G การมี app ที่ user friendly มากขึ้นส่งผลให้ Eco system ที่มีความพร้อมมากขึ้นตั้งแต่ต้นทางการรับ order สินค้า คลังสินค้า การกระจายสินค้า จนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงการชำระสินค้า

ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ต้นทุนที่ต่ำกว่าทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคผู้บริโภคสามารถเข้าถึงง่าย ด้วยมือถือปัจจุบันราคาลดลงมาก ผู้ผลิตก็สามารถขายสินค้าได้ด้วยราคาที่ลดลงไม่ต้องมีหน้าร้านหรือต้นทุนการเช่าพื้นที่ สามารถนำเสนอสินค้าที่ราคาถูกลงได้ อีกทั้งการเข้าถึง online ทำให้ข้อจำกัดเรื่องระหว่างประเทศ ลดลง

เติบโตสูง Goldman Sachs คาดการเติบโต 2 หลักต่อเนื่องในระยะ 3 ปีข้างหน้า ขณะที่ตัวเลขผู้เข้าถึง Ecommerce ในปัจจุบันยังต่ำอยู่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น

กองทุนที่ลงทุนบริษัทด้าน Ecommerce ทั่วโลก เน้นลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) ปัจจุบันเน้นลงทุนใน Amplify Online Retail ETFประมาณ 70% และอีก 30% คัดเลือกหุ้นรายตัวโดยคัดเลือกจาก

1.Amplify Online Retail ETF ที่มีอัตราการเติบโตโดดเด่น เช่น Amazon, Alibaba, Netflix

2.ลงทุนตรง ในกิจการอื่นๆที่มีรายได้และ/หรือ ได้รับประโยชน์จากช่องทางจำหน่ายผ่านออนไลน์ เช่น Alibaba, Amazon ,Delivery Hero

3.และในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ covid 19 ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง ถึงแม้จะปรับตัวขึ้นมาแล้วบ้างประมาณ ครึ่งค่อนทาง แต่สำหรับหุ้นกลุ่มนี้หลายตัวกลับทำจุดสูงสุดใหม่ สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการกระจายการลงทุนไปในกองทุนทั้งในและต่างประเทศ ทางหลักทรัพย์บัวหลวงมีให้บริการ แบบ one stop service อย่างจัดพอร์ทเลือกลงทุนกองทุนที่น่าสนใจ ติดต่อได้ที 02-618-1019ถึง 24