สงครามไวรัส(1)

สงครามไวรัส(1)

ในขณะที่เขียนบทความนี้ ประชาชนทั่วโลกได้ผ่านช่วงเวลาแห่งสงครามระหว่างประชาคมโลกกับไวรัสโคโรน่า (Corona Virus) สายพันธุ์ใหม่

ที่องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อมันว่า “Corona Virus Disease 2019” หรือเรียกชื่อย่อว่า “Covid-19” ซึ่งเริ่มปรากฎเมื่อ

วันที่ 20 ธ.ค.ปีที่แล้ว ผู้ป่วย(ผป.)คนแรกไปรพ.อูฮั่น ต่อมาก็มีผป.ไปรพ.อีกหลายคนโดยมีอาการป่วยเป็นปอดบวมอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน ทางรพ.อู่ฮั่นจึงได้รายงานโรคไปยัง CDC ของจีนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2562 ทางการปักกิ่งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2563  ทีมสอบสวนโรคได้ระบุว่า สาเหตุของโรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ SARS-Cov-2 ต่อมาวันที่ 11 ก.พ. WHO ได้ตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า Covid-19 ย่อมาจาก Corona Virus Disease 2019

ผป.รายแรกมารพ.เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2019 และมีผป.ตายเป็นรายแรกเมื่อวันที่ 11 ม.ค.2020 เป็นผป.ชายอายุ 61 ปี วันที่ 8 ม.ค.จีนสามารถตรวจพบว่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยของกลุ่มผู้ป่วย 12 คน นี้ว่าเกิดจาก New Corona Virus คล้ายกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรค SARS Severe Acute Respiratory Syndrome จึงเรียกว่า SARS-CoV-2

วันที่ 29 ม.ค. พบว่ามีการระบาดไปทุกจังหวัดในจีนแผ่นดินใหญ่วันที่ 8 ก.พ. มีผป.ทั้งหมด 34,878 คน และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 724 คน

วันที่ 31 ม.ค. WHO ประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็น Public Health Emergency of international concern

วันที่ 23 ม.ค. จีนประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น (Wuhan Lockdown) เพื่อหยุดยั้งการระบาด ต่อมาวันที่ 29 ม.ค.ประกาศปิดเมืองทั้งหมดในจังหวัดหูเป่ย ไม่ให้มีสายการบิน รถไฟ รถประจำทาง รถใต้ดิน ให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ออกมาซื้ออาหารได้สัปดาห์ละครั้ง สร้างโรงพยาบาลเพิ่มเติม และเกณฑ์บุคลากรทางการแพทย์จากหลายเมืองมาช่วยรักษาผู้ป่วย จะเห็นได้ว่าจีนประกาศปิดเมืองหลังจากที่พบว่า มีการระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วก็เพราะเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อโรคไวรัสนี้จะแพร่เชื้อได้จากการไาอและจาม โดยที่ไวรัสนี้จะออกมากับละอองน้ำมูก น้ำลาย ที่กระเด็นออกมาพร้อมกับการไอและการจาม และพบว่ากระเด็นไปได้ไกลถึง 2 เมตร และเชื้อไวรัสในละอองฝอยนี้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้บนพื้นผิวต่างๆ ในห้อง ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 7 วัน 

ฉะนั้นเชื้อโรคจึงแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้อย่างรวดเร็วมาก คาดการกันว่า คนที่มีเชื้อไวรัส 1 คน จะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ประมาณ 2 คน และคน 2 คนที่ได้รับเชื้อนี้ก็จะแพร่เชื้อต่อไปได้อีกกันเรื่อยๆ โรคนี้จึงระบาดได้อย่างรวดเร็วประมาณกันว่าคน 1 คนเมื่อต่างคนต่างแพร่เชื้อไปเรื่อยๆ 10 ครั้ง จะทำให้มีผู้ได้รับเชื้อถึง 14,000 คน 

ที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ยังไม่แสดงอาการป่วย ก็สามารถแพร่เชื้อได้ และเนื่องจากผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่แสดงอาการป่วยหลังจากรับเชื้อเข้าไปในร่างกายได้นานถึง 14 วัน (ซึ่งเรีกว่าระยะฟักตัวก่อนเกิดโรค) และหลังจากหายป่วยแล้ว ก็ยังมีเชื้ออยู่ในตัวได้อีก 10-14 วัน ทำให้เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายได้มากมายมหาศาลอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการจะควบคุมการระบาดได้ ก็คือการป้องกันไม่ให้คนที่มีเชื้อโรคส่งต่อโรคให้คนอื่นได้ มาตรการปิดเมือง ปิดการสังคม การประชุม การสังสรรค์ การเดินทางร่วมกัน การป้องกันคนจากเมืองที่มีการระบาด มาแพร่เชื้อในสถานที่ยังไม่มีโรค จึงเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลที่สุด ในการควบคุมและกำจัด/ทำลายวงจรโรคระบาดจาก Covid-19 คือแยกคนที่ยังไม่ป่วย ไม่ให้เสี่ยงต่อการไปรับเชื้อโรค ในขณะที่ผู้ป่วย ก็ต้องถูกแยกตัวออกต่างหาก ภายในห้องที่มีความดันเป็นลบ คือมีความดันอากาศต่ำกว่าอากาศข้างนอกห้อง เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสกระจายออกมาข้างนอก และบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา ทุกคน ที่ต้องดูแลใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะต้องแต่งตัวอย่างรัดกุมมิดชิด เพื่อปกป้องตนเองไม่ให้ได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยได้

ถ้าบุคลากรทางการแพทย์ขาดอุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างเหมาะสม ก็จะล้มป่วย และตายง่ายกว่าประชาชนทั่วไป เนื่องจากต้องทำงานอย่างยาวนาน ขาดการพักผ่อน ไม่มีเวลากินอาหารที่เหมาะสม เหนื่อยล้า เครียด เพราะต้องรีบเร่งช่วยชีวิตระหว่างความเป็นและความตาย ของผป.ที่อยู่ตรงหน้า

เราจึงเห็นข่าวการเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์และพยาบาลที่เป็นผู้ให้การรักษาที่ใกล้ชิดกับผป.มากที่สุด

ในประเทศจีน จากมาตรการป้องกัน(ปิดเมือง ปิดประเทศป และการกักกันคนป่วย คนที่สงสัยว่าจะป่วย และแยกคนปกติให้อยู่ในบ้านของตนเอง และกรรีบเร่งรักษาผู้ป่วยทุกคน การเสาะแสวงหายาฆ่าเชื้อไวรัส ทำให้จำวนผู้ป่วยใหม่ลดลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. จีนมีผป.ใหม่น้อยกว่า 100 รายต่อวัน ลดจากวันละ 1,000 ราย/วันในช่วงที่การระบาดมากที่สุด วันที่ 24 มี.ค. นายกฯจีน ประกาศว่าควบคุมโรคระบาดได้แล้ว หลังจากปิดเมืองอู่ฮั่น เกือบ 4 เดือน (มีคนบอกว่า ปิด 3 เดือน 3 สัปดาห์ และ 3 วัน) แต่ก็ยังkมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะอาจจะมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม และในผู้คน(อ่านต่อฉบับหน้า)

โดย...พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา