สื่อสารอย่างไรให้เป็นที่รัก..แบบ Get Well Zone

สื่อสารอย่างไรให้เป็นที่รัก..แบบ Get Well Zone

ปัจจุบัน ร้านค้าแบบ Green product ในไทยเริ่มมีมากขึ้น หนึ่งในร้านที่น่าสนใจ คือ Get Well Zone เป็นร้านแนว Refill station

นั้นเน้นการจำหน่ายสินค้าจากธรรมชาติ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็น Zero waste โดยในลูกค้านำขวดเปล่าที่ไม่ได้ใช่แล้วสามารถนำมาเติมสินค้าได้ โดยคิดตามน้ำหนักของสินค้า แนวคิดที่จะเปิดร้านเริ่มมาจากการที่ มณีรัตน์ เรืองรัตน์นิติ และกิติยา จอห์นสัน เห็นว่า ร้านแนว Refill ในกรุงเทพฯ ยังขณะนั้นยังมีไม่มาก โดยส่วนใหญ่ร้านสินค้าแนวรักษ์โลกจะเน้นช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางการออกงานแนว Eco market เป็นหลัก

มณีรัตน์ เล่าว่า ก่อนที่จะเปิดร้านทั้งมณีรัตน์ และกิติยาได้ศึกษาหาข้อมูลในการทำร้าน รวมไปถึงการหาพันธมิตรที่จะนำ สินค้ามาวางหน่าย โดยทั้งเจ้าของทั้งสองท่านมีการแบ่งหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดยมณีรัตน์รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาดของร้าน ส่วนกิติยาดูแลเรื่อง Merchandizing นอกนั้นก่อนเปิดร้าน 3 เดือน

มณีรัตน์เล่าว่า ได้ เปิด Facebook Fanpage ของร้าน ก่อนเพื่อหากลุ่มลูกค้าที่แท้จริง โดยช่วงแรก คุณหยุยลองชื้อ ad โฆษณา ใน Facebook ก่อน ชึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร ถึงแม้มียอดกด like ถึง 3000 คนในส่วนแรก แต่ คนส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจร้านอยู่ดี

หลังจากที่เปิดร้านเป็นทางการในเดือนพ.ค. 2562 ทาง Get Well Zone ทดลองเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่โดยยกเลิกการซื้อ Ad แต่เน้นการประชาสัมพันธ์โดยการให้ความสำคัญกับ Content marketing เป็นการเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

หนึ่งในกลยุทธ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนคือ เนื้อหาเรื่อง ซองเครื่องปรุง….ไม่ใช้ไม่รับ” มณีรัตน์สังเกตว่า ร้านอาหารตามสั่งหรือร้านก๋วยเตี๋ยวมักจะมีการแจกซองเครื่องปรุงจำพวก น้ำตาล พริกน้ำปลา หรือ น้ำส้ม ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้ใช้ นอกจากจะเป็น food waste แล้วยังก่อให้เกิดขยะมากขึ้น มณีรัตน์จึงหยิบประเด็นนี้มาเป็น Content ส่งผลให้เกิดยอดไลน์และยอดแชร์มากกว่า 6500 แชร์และทำให้คนเริ่มสนใจร้านมากขึ้น หลัง post นี้ลงทาง Facebook

นอกจาก Get Well Zone จะใช้ช่องทาง Facebook ในการสร้าง awareness แล้ว Facebook ยังเป็นช่องทางที่ Get Well Zone ใช้ในการประชาสัมพันธ์การออกงานอีเวนต์ต่างๆของร้านอีกด้วย ซึ่ง การตลาดแบบ BTL ผ่านงานออกงานต่างๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Facebook เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย

สำหรับสินค้าแนว Green นี้ อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญคือ การเล่าเรื่องราวของสินค้า ตัวอย่างเช่น ยาสีฟันแบบเม็ด Cheww.co ซึ่งเกิดจากแนวคิดของเจ้าของแบรนด์ที่ต้องการจะลดขยะจากหลอดยาสีฟันและกล่องยาสีฟัน แต่ยาสีฟันในรูปแบบเม็ดสามารถใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบอื่นที่นำมาใช้ซ้ำได้เช่น ขวดแก้ว การพัฒนายาสีฟันจะยังคงเน้น การรักษา ทำความสะอาดเหงือกและฟัน กำจัดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น โดยตัดส่วนผสมที่ไม่จำเป็นออก และที่สำคัญคือ ส่วนผสมทั้งหมดคัดสรรมาจากภายในประเทศเพื่อให้กระบวนการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Get Well Zone ซึ่งถือว่าเป็นร้านแนว Green product ที่มีหน้าร้านซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในกรุงเทพนั้น จะเน้นการสร้างพันธมิตร โดยไม่มองว่า ร้านอื่นๆประเภทเดียวกันเป็นคู่แข่ง แต่จะเน้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น ในการช่วยกันโปรโมทร้านของกันและกัน ทั้งนั้นเพราะต้องการให้คนรู้จักร้านค้าแนวนี้มากขึ้นและเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มลูกค้าด้วย

สำหรับทิศทางในอนาคตของ Get Well Zone นั้นมณีรัตน์มองว่า ทางร้าน Get Well Zone จะลองผลิตสินค้าเอง โดยกำลังจะทำ เจลล้างมือกลิ่นดอกมะลิ เพื่อขายให้กับลูกค้า โดยตอนนี้ทางร้านได้ลองทำก่อน และสามารถทดลองใช้ที่ร้านได้ฟรี

กรณีศึกษาของ Get Well Zone สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารทางการตลาดของร้านที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนว่า ในการทำ Content marketing นั้นเนื้อหาในการสื่อสารช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้มากกว่าแค่เพียงการเน้นการโฆษณาให้คนรู้จักแค่ผ่านทางการกำหนด Location ที่ร้านตั้งอยู่ อีกทั้งในการตลาดปัจจุบัน คู่แข่งไม่ใช่ศัตรูทางธุรกิจและเป็นพันธมิตรที่จะช่วยกันและกัน และสร้างให้ตลาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย

------------------------

เครดิตกรณีศึกษาและการสัมภาษณ์...มณีรัตน์ เรืองรัตน์นิติ เจ้าของร้าน Get Well Zone โดย ปาริฉัตร ฟุ้งเหยี่ยว นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยการจัด มหาวิทยาลัยมหิดล