ระดมเม็ดเงิน 'พลังงาน' อุ้มเศรษฐกิจรับพิษโควิด

ระดมเม็ดเงิน 'พลังงาน'  อุ้มเศรษฐกิจรับพิษโควิด

ยามที่ประเทศเผชิญวิกฤตพิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ที่เริ่มส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ จึงต้องรีบมีมาตรการออกมาเยียวยาลดผลกระทบ และพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

กระทรวงพลังงาน นับเป็นกระทรวงอันดับต้นๆ ที่ออกมาประกาศนโยบายชัดเจนช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ประเดิมด้วย การขอเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน ซึ่งเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าแต่ละรายจะได้เงินตั้งแต่ 300-6,000 ต่อมิเตอร์ ปาดหน้านโยบายแจกเงิน 1,000 บาท ช่วง 2 เดือน ไปแบบหวือหวา

ดูเหมือนนโยบายนี้ ประชาชนจะตอบรับเป็นอย่างดี เพราะทันทีที่เปิดให้ ประชาชนที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภท1(บ้านอยู่อาศัย)และ ประเภท2(กิจการขนาดเล็ก) เริ่มลงทะเบียบเพื่อขอคือนเงินตั้งแต่25มี.ค.63ผ่านช่องทางออนไลน์ ก็ทำให้เว็บไซต์ของการไฟฟ้าล่ม หลังประชาชนแห่ลงทะเบียนพร้อมกันเป็นจำนวนมาก แม้ว่ารัฐจะชี้แจงว่าไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดในการขอคืนเงิน แต่เนื่องด้วยมาตรการนี้ มีผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิกว่า 23 ล้านราย คิดเป็นมูลค่าถึง 3.3 หมื่นล้านบาท ที่รัฐคาดหวังจะเป็นเม็ดเงินสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็เป็นธรรมดาที่ในช่วงเวลานี้ ใครๆก็อยากได้เงินสดเก็บไว้ติดไม้ติดมื้อ

มติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่17มี.ค.63ยังเห็นชอบให้การไฟฟ้า มาตราการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า3%ในบิลเดือน เม.ย.63 –มิ.ย.2563 ซึ่งในส่วนนี้ กฟน.จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 1,400 ล้านบาท และกฟภ. จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 3,560 ล้านบาท

ส่วนนโยบายภาครัฐที่ให้ลดอัตราค่าไฟฟ้าลง 3% หรือราว 10-11 สตางค์ต่อหน่วย เป็นเวลา 3 เดือน ช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2563 เพื่อลดภาระให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพนั้น กกพ.ยังต้องหารือกับ 3 การไฟฟ้า เพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการให้เหมาะสม เบื้องต้น คาดว่าจะต้องใช้เงินเข้ามาดูแลอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท โดยจะได้ข้อสรุปก่อนชำระค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือน เม.ย.นี้

ขณะที่ในด้านของมาตรการลดค่าครองชีพคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ก็มีมติให้ปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯของก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี เป็นเวลาชั่วคราว 3 เดือน ทำให้ราคาขายปลีกแอลพีจี ถัง15 กิโลกรัม ลดลง 45 บาท เหลืออยู่ที่ 318 บาท มีผลตั้งแต่ 24 มี.ค.2563 เป็นต้นไป ส่งผลให้กองทุนฯ รับภาระเพิ่มขึ้น 905 ล้านบาทต่อเดือน

และกองทุนน้ำมันฯ ยังรับภาระอีก 1,427 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯน้ำมันทุกชนิดลง 50 สตางค์ต่อลิตร เว้น ดีเซล บี 20 ลดจัดเก็บลง 25 สตางค์ต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ อี85 จัดเก็บเพิ่ม 25 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดจะลดลง 50 สตางค์ต่อลิตร ในช่วง2เดือน เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ รวมกองทุนฯรับภารประมาณ 2,300 ล้านบาทต่อเดือน

ล่าสุด  เหลืออยู่ที่ 10.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน (1 เม.ย. - 30 มิ.ย. 2563) ทำให้ ปตท.รับภาระอุ้มส่วนต่างราคาเพิ่ม 300 ล้านบาท

ทว่า มาตรการทั้งนี้ แม้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19ได้ตรงจุด แต่ก็คงจะไม่เป็นผล หากขาดมาตรการป้องกันและสกัดการแพร่เชื้อโรคโควิด-19ที่มีประสิทธิภาพ และไม่เด็ดขาด