อนาคตของพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์

อนาคตของพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์

หากพิจารณาภาพรวมพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ

และต้นทุนด้านการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลดลงมากถึง 68% ทั่วโลกระหว่างปี 2553 ถึงปี 2560 อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์ และกระบวนการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์นั้นน่าสนใจอย่างมาก

ในปี 2561 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังการผลิตของพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนอยู่ที่ 24% ของการผลิตพลังงานทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน ถึง 74% โดยพลังงานหมุนเวียนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 37% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2583 ซึ่งเป็นผลมาจากความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่าและมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพลังงานน้ำจะลดลงจาก 74% ในปี 2559 เหลือแค่ 50% ในปี 2583 เนื่องจากพลังงานลมและเซลล์แสงอาทิตย์จะมีความต้องการสูงขึ้น 14% และ 11% ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสัดส่วนอยู่ที่ 25% ของกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดในปี 2583 จากเดิมอยู่ที่ 7% ในปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐและต้นทุนการลงทุนธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกลง

ประเทศไทยมีสัดส่วนในการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.7 กิกะวัตต์ ในปี 2561 และมุ่งเป้าที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ถึง 6 กิกะวัตต์ ในปี 2579 อันเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายรวมที่จะพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนที่ 30% จากพลังงานทั้งหมด นโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตของเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ การจูงใจด้วยโครงการ FiT (feed-in tariff) การขยายระยะเวลาซื้อขายไฟฟ้า (จาก 10 ปีเป็น 25 ปี) อีกทั้งการจูงใจทางภาษีและที่ไม่ใช่ทางภาษี

การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปจะเพิ่มขึ้นหากมีการยกเลิกกฎระเบียบโดยอนุญาตให้ครัวเรือนและอาคารพาณิชย์สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็จะเป็นผู้รับซื้อส่วนต่างไฟฟ้าที่ผลิตได้ในครัวเรือนที่อยู่ในระบบในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.68 บาท/ กิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปีด้วยเช่นกัน

แผนพัฒนาพลังงานของไทยปี 2558-2579 (PDP2015) คาดการณ์กำลังการผลิตพลังงานอยู่ที่ 70.3 กิกะวัตต์ ในปี 2579 ซึ่งรวมทั้ง 57.5 กิกะวัตต์ ของโรงไฟฟ้าใหม่ (โปรดดูแผนภาพ) ซึ่งในมุมมองของเรา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่น่าจะมีขึ้นได้เพราะความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการคัดค้านจากสาธารณะ และโรงไฟฟ้าถ่านหินที่วางแผนเอาไว้ว่าจะสร้างก็อาจจะมีขึ้นไม่ได้ทั้งหมดอันเนื่องมาจากกระแสคัดค้านในสังคมเรื่องสิ่งแวดล้อม

158522611965

โครงข่ายไฟฟ้าในอาเซียน

ระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid: APG) มุ่งหมายที่จะบูรณาการตลาดพลังงานทั้งสิบประเทศผ่านการเชื่อมโยง โดยหน่วยงานสาธารณูปโภคด้านพลังงานอาเซียนซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียนได้จำแนกภูมิภาคทางไฟฟ้าที่สาคัญออกเป็น 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภูมิภาคตอนบน (กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) ภูมิภาคตอนล่าง (คาบสมุทรมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเกือบทั้งหมด) และภูมิภาคตะวันออก (บรูไน มาเลเซียในส่วนของ เกาะบอร์เนียว อินโดนีเซียในส่วนของเกาะบอร์เนียว และฟิลิปปินส์) ทั้งนี้ ระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียนควรเน้นไปที่การซื้อขายพลังงานภายในอาเซียนและประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศจีน

ติดตามอ่านรายละเอียด เกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ได้ที่ เว็บไซต์ยูโอบี – การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน

158521125972