นโยบายการเงินกับค่าเงินบาท

นโยบายการเงินกับค่าเงินบาท

นับตั้งแต่มีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ก็คงมีครั้งนี้ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายตํ่าเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 1% ในการประชุมครั้งแรกของปี 2563 ถือว่า

 

 

 

 

 

 

 

 เป็นการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลมาก เพราะเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงจะขยายตัวต่ำมาก ตํ่ากว่าที่คาดและตํ่ากว่าศักยภาพการเจริญเติบโตที่ประมาณ 3% เศรษฐกิจซึมยาวต่อเนื่องจากปีก่อน บวกกับมีปัจจัยลบมาซ้ำเติม ทั้งไข้หวัดโคโรน่า และภัยแล้ง

จะหวังพึ่งนโยบายการคลังก็ไม่ได้ เพราะการขาดดุลการคลังในปีงบประมาณ 2563 ไม่มากพอที่จะเป็นแรงกระตุ้นทางการคลังที่เหมาะสมกับวัฎจักร ของเศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังไม่นับการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าออกไปอีก

เหตุผลต่างๆ ข้างต้นก็มากพอที่จะทําให้คณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงไปที่ระดับตํ่าสุดเท่าที่เคยมีมา แต่เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ อาจจะไม่ได้พูดคือ ค่าเงินบาทอาจจะอ่อนลงบ้าง ตามทฤษฎี เพราะลําพังเศรษฐกิจก็ไม่มีแรงอยู่แล้ว ถ้าค่าเงินบาทแข็งขึ้น ก็จะยิ่งซํ้าเติมภาคส่งออก ที่เราถือว่าเป็นตัวจักรสําคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่ค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเป็น ‘ราคา' ของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย เช่น ดอลลาร์ 1 หน่วย ราคา 30.50 บาท

เมื่อเป็น ‘ราคา' ก็ขึ้นกัน ดีมานด์และซับพลายของดอลลาร์ จะต่างกับสินค้าโดยทั่วไปก็ตรงที่เราจะมีดีมานด์ในดอลลาร์ก็ต่อเมื่อต้องการซื้อของจากต่างประเทศหรือนำเข้า ต้องการท่องเที่ยวหรือลงทุนในต่างประเทศ ส่วนซับพลายของดอลลาร์ก็มาจากการส่งออก นักท่องเที่ยวมาไทย หรือต่างชาติมาซื้อหลักทรัพย์เช่น หุ้น พันธบัตร และให้เรากู้ยืม

ในปี 2562 ดอลลาร์ถูกลงหรือค่าบาทแข็งขึ้นกว่า 7% สาเหตุหลักมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงถึง 26,407 ล้านเหรียญ ใน 3 ไตรมาสแรกของปี เพราะแม้การส่งออกจะหดตัว แต่การนําเข้าหดตัวมากกว่า มีการนําเข้าโดยเฉพาะสินค้าทุนน้อยมาก ซึ่งจะเห็นว่าการลงทุนในประเทศเป็นปัญหามายาวนาน ปัจจุบันการลงทุนยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเสียอีก เมื่อดีมานด์ต่อดอลลาร์มีน้อย ราคาดอลลาร์ก็ถูกลง ลดลงจาก 32.35 บาทในวันแรกของปีมาอยู่ที่ 30.12 บาท ตอนสิ้นปี หรือถูกลงประมาณ 7.5% อีกนัยหนึ่งคือ บาทแข็งขึ้น 7.5%

โดยทั่วไป คนเรามักจะชอบซื้อของถูก (ในคุณภาพเดียวกัน) แต่ในกรณีดอลล่าร์ เราอยากซื้อแพง บางคน อยากให้ซื้อดอลล่าร์ที่ 34-35 บาทด้วยซ้ำ จะไม่ว่าอะไรหากจะต้องซื้อนํ้ามันแพง นําเข้าสินค้าอื่นแพงขึ้น หรือไปท่องเที่ยวหรือลงทุนในต่างประเทศแพงขึ้น เพราะอยากให้ผู้ส่งออกและเกษตรกรมีรายได้ที่เป็นเงินบาทมากขึ้น สามารถแข่งขันกับประเทศได้

วิธีที่จะให้ดอลล่าร์แพงก็คือสร้างดีมานด์เทียมขึ้นมา แบงค์ชาติจึงซื้อดอลล่าร์ เข้ามาเก็บไว้ในทุนสํารองระหว่างประเทศ

ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นทุนสํารองระหว่างประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังวิกฤตการเงินปี 2540 ในปี 2562 ทุนสํารองสูงขึ้นจาก 205,700 ล้านเหรียญ ตอนต้นปี มาอยู่ที่ 222,900 ล้านเหรียญตอนสิ้นปี หรือแบงค์ชาติเข้าไปซื้อดอลล่าร์สุทธิถึง 17,200 ล้านเหรียญ โดยเฉพาะในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสิ้นปี 2562 ถึงต้นปี 2563 มีการซื้อดอลล่าร์ถึง 4,520 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเพียง 1 สัปดาห์ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทําให้ค่าบาทอ่อนลง เป็นเพียงการชะลอการแข็งค่าไม่ให้เกิดขึ้นรวดเร็วเกินไป ให้ผู้ส่งออกปรับตัวและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน. แต่เราจะเห็นค่าบาทอ่อนลงในเดือนม.ค. ที่ปัจจัยลบเริ่มเข้ามา ทั้งเรื่องงบประมาณและไข้หวัด อีกทั้งตลาดน่าจะตระหนักได้ว่า ค่าบาทที่ผ่านมาอาจจะไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศ

ทุนสํารองที่มีสูงกว่า 10 เท่าของปี 2540 สร้างความมั่นคงในเสถียรภาพการเงิน ให้ความเชื่อมั่นว่า เราจะไม่พบเจอกับวิกฤตเช่นปี 2540 อีก แต่ระทุนสํารองที่มีสูงเกินไป เกินกว่ามาตรฐานที่ควรมี ก็ทําให้ยากต่อการบริหารจัดการเช่นกัน เพราะการเข้าไปซื้อดอลล่าร์นั้น แบงค์ชาติต้องกู้เงินบาท เสียดอกเบี้ยในประเทศ ได้ดอลล่าร์มาก็นําไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ที่มั่นคงและเชื่อถือได้

ในยามที่โลกท่วมไปด้วยสภาพคล่อง การหาผลตอบแทนที่ดีจากทุนสํารองทําไม่ได้ง่าย ในปี 2562 พันธบัตรรัฐบาลในยุโรปมีอัตราผลตอบแทนติดลบ 

แม้กระทั่งกรีซ ยกตัวอย่าง หากเราให้รัฐบาลสวิสกู้ 50ปี (ซื้อพันธบัตรอายุ 50 ปี) จำนวน1,000 เหรียญ อีก 50 ปี หรือ พ.ศ.2612 สามารถไปรับเงินคืน 997 เหรียญ คงมีประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้นกระมังที่อัตราผลตอบแทนยังคงเป็นบวก เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา แต่ก็อยู่ในระดับต่ำมาก

นี่ยังไม่นับผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตีราคาทุนสํารองในรูปของเงินบาท ทุนสํารองที่มีอยู่มากกว่า 2 แสนล้านเหรียญ ในทุกๆ 1 บาทที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น แบงค์ชาติก็ขาดทุนทันที 2 แสนล้านบาท เราจึงเห็นผลขาดทุนสะสมของแบงค์ชาติที่มีสูงถึง 9 แสนล้านบาท

แม้ผลขาดทุนนี้ไม่ได้ทําให้การทําหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของแบงค์ชาติมีปัญหา แต่การซื้อดอลล่าร์ไปเรื่อยๆ จนงบดุล ‘บวมขึ้นๆ' ไม่ใช่คําตอบของค่าเงินในระยะยาว และประสิทธิผลในการแทรกแซงจะน้อยลงเรื่อยๆ จึงควรแก้ที่ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศมากกว่า

นอกจากนี้ ถ้าเรายังทําต่อไปเรื่อยๆจนทุนสํารองสูงขึ้นมาก ต่างชาติก็จะเห็นว่า เราแทรกแซงค่าเงินมากเกินไป ต้องการให้ค่าเงินอ่อนเพื่อได้เปรียบคู่แข่ง ที่ตามภาษานักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ‘ขอทานจากประเทศเพื่อนบ้าน' ก็จะตั้งแง่เพื่อใช้มาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ กับประเทศไทย

การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะมีผลทําให้ค่าเงินอ่อนลงหรือไม่ ขึ้นกับว่า นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงไร แต่เราก็ทราบกันว่า ส่วนใหญ่แล้ว นโยบายการเงินมักจะมีประสิทธิภาพในวัฎจักรที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ทําให้เศรษฐกิจร้อนแรงน้อยลง แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแรงให้ขยายตัวมากขึ้น ไม่เช่นนั้น เราคงจะได้เห็นประเทศที่ดอกเบี้ยเป็น 0% ฟื้นตัวขึ้นนานแล้ว

โดย... 

 

 

 

 

 

 

 

 เป็นการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลมาก เพราะเศรษฐกิจไทยในปีนี้คงจะขยายตัวต่ำมาก ตํ่ากว่าที่คาดและตํ่ากว่าศักยภาพการเจริญเติบโตที่ประมาณ 3% เศรษฐกิจซึมยาวต่อเนื่องจากปีก่อน บวกกับมีปัจจัยลบมาซ้ำเติม ทั้งไข้หวัดโคโรน่า และภัยแล้ง

จะหวังพึ่งนโยบายการคลังก็ไม่ได้ เพราะการขาดดุลการคลังในปีงบประมาณ 2563 ไม่มากพอที่จะเป็นแรงกระตุ้นทางการคลังที่เหมาะสมกับวัฎจักร ของเศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังไม่นับการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าออกไปอีก

เหตุผลต่างๆ ข้างต้นก็มากพอที่จะทําให้คณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงไปที่ระดับตํ่าสุดเท่าที่เคยมีมา แต่เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ อาจจะไม่ได้พูดคือ ค่าเงินบาทอาจจะอ่อนลงบ้าง ตามทฤษฎี เพราะลําพังเศรษฐกิจก็ไม่มีแรงอยู่แล้ว ถ้าค่าเงินบาทแข็งขึ้น ก็จะยิ่งซํ้าเติมภาคส่งออก ที่เราถือว่าเป็นตัวจักรสําคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่ค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เพราะอัตราแลกเปลี่ยนเป็น ‘ราคา' ของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย เช่น ดอลลาร์ 1 หน่วย ราคา 30.50 บาท

เมื่อเป็น ‘ราคา' ก็ขึ้นกัน ดีมานด์และซับพลายของดอลลาร์ จะต่างกับสินค้าโดยทั่วไปก็ตรงที่เราจะมีดีมานด์ในดอลลาร์ก็ต่อเมื่อต้องการซื้อของจากต่างประเทศหรือนำเข้า ต้องการท่องเที่ยวหรือลงทุนในต่างประเทศ ส่วนซับพลายของดอลลาร์ก็มาจากการส่งออก นักท่องเที่ยวมาไทย หรือต่างชาติมาซื้อหลักทรัพย์เช่น หุ้น พันธบัตร และให้เรากู้ยืม

ในปี 2562 ดอลลาร์ถูกลงหรือค่าบาทแข็งขึ้นกว่า 7% สาเหตุหลักมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงถึง 26,407 ล้านเหรียญ ใน 3 ไตรมาสแรกของปี เพราะแม้การส่งออกจะหดตัว แต่การนําเข้าหดตัวมากกว่า มีการนําเข้าโดยเฉพาะสินค้าทุนน้อยมาก ซึ่งจะเห็นว่าการลงทุนในประเทศเป็นปัญหามายาวนาน ปัจจุบันการลงทุนยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเสียอีก เมื่อดีมานด์ต่อดอลลาร์มีน้อย ราคาดอลลาร์ก็ถูกลง ลดลงจาก 32.35 บาทในวันแรกของปีมาอยู่ที่ 30.12 บาท ตอนสิ้นปี หรือถูกลงประมาณ 7.5% อีกนัยหนึ่งคือ บาทแข็งขึ้น 7.5%

โดยทั่วไป คนเรามักจะชอบซื้อของถูก (ในคุณภาพเดียวกัน) แต่ในกรณีดอลล่าร์ เราอยากซื้อแพง บางคน อยากให้ซื้อดอลล่าร์ที่ 34-35 บาทด้วยซ้ำ จะไม่ว่าอะไรหากจะต้องซื้อนํ้ามันแพง นําเข้าสินค้าอื่นแพงขึ้น หรือไปท่องเที่ยวหรือลงทุนในต่างประเทศแพงขึ้น เพราะอยากให้ผู้ส่งออกและเกษตรกรมีรายได้ที่เป็นเงินบาทมากขึ้น สามารถแข่งขันกับประเทศได้

วิธีที่จะให้ดอลล่าร์แพงก็คือสร้างดีมานด์เทียมขึ้นมา แบงค์ชาติจึงซื้อดอลล่าร์ เข้ามาเก็บไว้ในทุนสํารองระหว่างประเทศ

ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นทุนสํารองระหว่างประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังวิกฤตการเงินปี 2540 ในปี 2562 ทุนสํารองสูงขึ้นจาก 205,700 ล้านเหรียญ ตอนต้นปี มาอยู่ที่ 222,900 ล้านเหรียญตอนสิ้นปี หรือแบงค์ชาติเข้าไปซื้อดอลล่าร์สุทธิถึง 17,200 ล้านเหรียญ โดยเฉพาะในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างสิ้นปี 2562 ถึงต้นปี 2563 มีการซื้อดอลล่าร์ถึง 4,520 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเพียง 1 สัปดาห์ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทําให้ค่าบาทอ่อนลง เป็นเพียงการชะลอการแข็งค่าไม่ให้เกิดขึ้นรวดเร็วเกินไป ให้ผู้ส่งออกปรับตัวและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน. แต่เราจะเห็นค่าบาทอ่อนลงในเดือนม.ค. ที่ปัจจัยลบเริ่มเข้ามา ทั้งเรื่องงบประมาณและไข้หวัด อีกทั้งตลาดน่าจะตระหนักได้ว่า ค่าบาทที่ผ่านมาอาจจะไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศ

ทุนสํารองที่มีสูงกว่า 10 เท่าของปี 2540 สร้างความมั่นคงในเสถียรภาพการเงิน ให้ความเชื่อมั่นว่า เราจะไม่พบเจอกับวิกฤตเช่นปี 2540 อีก แต่ระทุนสํารองที่มีสูงเกินไป เกินกว่ามาตรฐานที่ควรมี ก็ทําให้ยากต่อการบริหารจัดการเช่นกัน เพราะการเข้าไปซื้อดอลล่าร์นั้น แบงค์ชาติต้องกู้เงินบาท เสียดอกเบี้ยในประเทศ ได้ดอลล่าร์มาก็นําไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ที่มั่นคงและเชื่อถือได้

ในยามที่โลกท่วมไปด้วยสภาพคล่อง การหาผลตอบแทนที่ดีจากทุนสํารองทําไม่ได้ง่าย ในปี 2562 พันธบัตรรัฐบาลในยุโรปมีอัตราผลตอบแทนติดลบ 

แม้กระทั่งกรีซ ยกตัวอย่าง หากเราให้รัฐบาลสวิสกู้ 50ปี (ซื้อพันธบัตรอายุ 50 ปี) จำนวน1,000 เหรียญ อีก 50 ปี หรือ พ.ศ.2612 สามารถไปรับเงินคืน 997 เหรียญ คงมีประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้นกระมังที่อัตราผลตอบแทนยังคงเป็นบวก เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา แต่ก็อยู่ในระดับต่ำมาก

นี่ยังไม่นับผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตีราคาทุนสํารองในรูปของเงินบาท ทุนสํารองที่มีอยู่มากกว่า 2 แสนล้านเหรียญ ในทุกๆ 1 บาทที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น แบงค์ชาติก็ขาดทุนทันที 2 แสนล้านบาท เราจึงเห็นผลขาดทุนสะสมของแบงค์ชาติที่มีสูงถึง 9 แสนล้านบาท

แม้ผลขาดทุนนี้ไม่ได้ทําให้การทําหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของแบงค์ชาติมีปัญหา แต่การซื้อดอลล่าร์ไปเรื่อยๆ จนงบดุล ‘บวมขึ้นๆ' ไม่ใช่คําตอบของค่าเงินในระยะยาว และประสิทธิผลในการแทรกแซงจะน้อยลงเรื่อยๆ จึงควรแก้ที่ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศมากกว่า

นอกจากนี้ ถ้าเรายังทําต่อไปเรื่อยๆจนทุนสํารองสูงขึ้นมาก ต่างชาติก็จะเห็นว่า เราแทรกแซงค่าเงินมากเกินไป ต้องการให้ค่าเงินอ่อนเพื่อได้เปรียบคู่แข่ง ที่ตามภาษานักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ‘ขอทานจากประเทศเพื่อนบ้าน' ก็จะตั้งแง่เพื่อใช้มาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ กับประเทศไทย

การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะมีผลทําให้ค่าเงินอ่อนลงหรือไม่ ขึ้นกับว่า นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงไร แต่เราก็ทราบกันว่า ส่วนใหญ่แล้ว นโยบายการเงินมักจะมีประสิทธิภาพในวัฎจักรที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ทําให้เศรษฐกิจร้อนแรงน้อยลง แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแรงให้ขยายตัวมากขึ้น ไม่เช่นนั้น เราคงจะได้เห็นประเทศที่ดอกเบี้ยเป็น 0% ฟื้นตัวขึ้นนานแล้ว

โดย... 

ดร.อัจนา ไวความดี

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมภิบาล