สภาฯแห่งวิบากกรรม 'ลุงตู่'

สภาฯแห่งวิบากกรรม 'ลุงตู่'

ความคืบหน้าของการยื่นญัตติอภิปรายรัฐบาล เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม พร้อมรัฐมนตรีอีก 4-5 คนนั้น พรรคเพื่อไทย ฐานะแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยังไม่เคาะรายชื่อแบบสะเด็ดน้ำ ซึ่ง “สุทิน คลังแสง” ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน บอกว่า ต้องคำนึงถึงข้อมูล ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน “คณะรัฐมนตรี” ชุดปัจจุบัน ซึ่งประเด็นนี้ ดูเหมือนจะขัดใจพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ที่ต้องการจะใช้เป็นเวที เพื่อแซะความเชื่อมั่นของรัฐบาล

แม้จะมีข้อมูล ประกอบกับ ข้อสันนิษฐาน แต่หากได้ใช้โวหารไป อาจเรียกคะแนนจากแนวร่วม “ไม่เอาลุง” เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องทำโดยเร็ว อย่างน้อยต้องยื่นและกำหนดอภิปรายก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ที่ถือเป็นวันปิดสมัยประชุม

ขณะที่ความคืบหน้าต่อกรณี “ส.ส.จอมเสียบ” ที่ไม่มองว่าเป็นสิทธิของตนเองหรือไม่ ล่าสุดตามที่มีการเปิดเผยรายชื่อ 3 คน คือ ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย นางนาที รัชกิจประการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ นั้น สภาฯ ยังไร้ความคืบหน้าต่อการสอบถึงพฤติกรรมของ 2 ส.ส.ที่มีรายชื่อท้ายตามลำดับ แม้ฝ่ายประจำที่รอเวลา เพื่อไม่ให้ถูกนำพาไปเป็น“ศัตรู”ของผู้บังคับบัญชา คือ“ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ” โดยรอให้“คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ” หรือ "คณะกรรมการจริยธรรม" ซึ่งกรรมการจริยธรรมนั้น รอตั้งขึ้นหลังจากระเบียบของสภาฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมมีผลบังคับใช้ แต่ไม่ว่าจะรอเวลาหรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ เพราะทั้ง 3 กรณี คือ กรรมเดียวกัน"ลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563"

ที่การเสียบบัตร ถือเป็นกระบวนการสำคัญ ของการตรากฎหมายฉบับสำคัญ และประเด็นนี้ ถูกส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่า จะเป็นผลเสียหายกับการตราร่างกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญเตรียมพิจารณาคำร้อง 29 มกราคมนี้

ส่วนระยะเวลาการตรวจสอบ หรือไต่สวนนั้น คาดว่าจะใช้เวลาพอสมควร ซึ่งจากจุดเปิดโปง การเสียบบัตรแทนกัน ส่งผลต่อ การประกาศใช้งบประมาณแผ่นดิน ที่ต้องยืดออกไปอีก อย่างน้อย อีก 5เดือน หากนับจากปฏิทินการใช้งบประมาณปกติ