ต่างชาติประกอบธุรกิจต้องห้ามตามกฎหมาย(โดยไม่พึ่งนอมินี)

ต่างชาติประกอบธุรกิจต้องห้ามตามกฎหมาย(โดยไม่พึ่งนอมินี)

ก่อนอื่นขอสวัสดีใหม่ 2520 คนผู้อ่านทุกท่าน แม้จะล้าสมัยไปแล้วจากวันนี้ที่เข้าสู่ปลายเดือนมกราคมแล้วก็ตาม

ก็ขออนุญาตมาอธิบายต่อเรื่องการเข้ามาทำธุรกิจของคนต่างชาติ โดยในครั้งนี้ ขอเข้าประเด็น คนต่างชาติสามารถลงทุนในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย โดยไม่ต้องพึ่งการใช้ “นอมินี” แต่ประการใด เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติครับ 

ทั้งนี้ เนื่องจาก มาตราหลัก ที่ใช้บังคับคนต่างชาติ คือ มาตรา 8 ภายใต้บังคับมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 10 และมาตรา 12

(1) ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการ ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่กำหนดไว้ในบัญชีหนึ่ง

(2) ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

(3) ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่คนไทยยังไม่มี ความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

โดยหลักการ คือ คนต่างด้าวห้ามประกอบธุรกิจต้องห้ามตามพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กิจการท้ายพรบ.ฉบับนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดข้างต้น

อย่างไรก็ดี มาตรา 12 ในกรณี ที่ธุรกิจของคนต่างด้าวซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือให้ประกอบอุตสาหกรรมหรือประกอบการค้าเพื่อส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือตามกฎหมายอื่น เป็นธุรกิจตามบัญชี 2 หรือบัญชี 3 ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอหนังสือรับรอง เมื่ออธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตรวจสอบความถูกต้องของบัตรส่งเสริมการลงทุนหรือหนังสืออนุญาตดังกล่าวแล้ว ให้อธิบดีออกหนังสือรับรองโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนหรือหนังสืออนุญาต แล้วแต่กรณี ในกรณีนี้ให้คนต่างด้าวดังกล่าวนั้น ได้รับยกเว้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 39 มาตรา 40 และมาตรา 42 ตลอดระยะเวลาที่ธุรกิจนั้นได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือได้รับอนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรมหรือประกอบการค้าเพื่อส่งออก แล้วแต่กรณี

การออกหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

อย่างที่ผมทำตัวเน้นครับว่า ต่างชาติสามารถประกอบธุรกิจของตนถ้าขออนุญาตผ่าน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ/หรือการนิคมอุตสาหกรรม

แต่ย้ำนะครับว่าเมื่อได้รับอนุญาตผ่านสององค์กรดังกล่าว ท่านต้องนำใบอนุญาตจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ/หรือการนิคมอุตสาหกรรมนั้นไปขอออกการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวรวม ที่กระทรวงพาณิชย์ เท่ากับว่าท่านต้องถือใบอนุญาตถึงสองใบ ไม่ใช่หนึ่งใบ เพื่อประกอบธุรกิจอย่างถูกกฎหมาย

แต่อย่างไรก็ดี การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวนั้น หาได้สิ้นสุดเพียงขออนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ แต่ยังต้องมีประเด็นเรื่องกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ ภาษี การประกอบธุรกิจเป็นการเฉพาะ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นขอติดไว้ก่อนนะครับ ครั้งจะมาต่อให้สัญญาจะไม่ทิ้งไว้นาน สัญญา!!! 

โดย...

นิติภัทร หอมละออ

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร