FinTech Trends 2020: 5 ประเด็นที่น่าจับตา(I)

FinTech Trends 2020: 5 ประเด็นที่น่าจับตา(I)

ฉบับแรกของปี 20 ผู้เขียนขอตั้ง 5 ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ FinTechTrends ซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ “คน เงิน ธนาคารระบบและกฎหมาย"

คน :จากความต้องการของ Millennials ถึง Gen Z

ถ้าจะเข้าใจ FinTech ในอนาคตก็ต้องเข้าใจ “คน” หรือ “ผู้บริโภค”ในปัจจุบัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Millennials หรือ คน Gen Y (เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 39)ถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของ Mobile Banking และ Digital Banking Services ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่ว่า Millennials คือผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Pioneer ในการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกรรมออนไลน์ และถนัดในการใช้อุปกรณ์สื่อสารมากกว่าคนในยุค Baby Boomer

อย่างไรก็ดี อีกกลุ่มของผู้บริโภคที่มองข้ามไม่ได้ และจะทรงอิทธิพลในอนาคตไม่แพ้กันคือ Gen Z (2540– 53) ซึ่งคนที่มีอายุสูงที่สุดในกลุ่มนี้ ปัจจุบันจะมีอายุประมาณ 20 ต้นๆ ซึ่งถือเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยคนในกลุ่มนี้ เกิดมาในยุคดิจิทัล ดังนั้น เขาจึงไม่ใช่ Pioneer ในเรื่องเทคโนโลยี แต่เขาเกิดมาพร้อมเทคโนโลยีและถือเป็น “Digital Natives” โดยแท้ ดังนั้น โจทย์ของผู้ให้บริการทางการเงินคือการคิดค้น Innovation ใหม่ๆ ที่จะรองรับ Life style ของคนในกลุ่มนี้

หากอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ จะสังเกตได้ว่า คนยุค Millennials ถนัดกับการกดและคุ้นชินกับการทำธุรกรรมบน Mobile Banking แต่แน่นอนว่าคนในยุค Gen Z ย่อมต้องการความสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงเริ่มเห็น Trends การให้บริการทางการเงิน แบบไร้การสัมผัส เช่น Contactless payment หรือ ระบบชำระเงินแบบไร้การสัมผัส ด้วยเทคโนโลยี RFID หรือ NFC ที่เป็นองค์ประกอบของบัตร Debit/Credit หรืออาจให้บริการผ่านระบบมือถือ

นอกจากนี้ หากไอเดียในการพัฒนา product คือ การสร้างความสะดวกสบายและรวดเร็วให้กับผู้บริโภคในยุคใหม่ แน่นอนว่าการพัฒนา Intelligent Personal Assistants (IPA) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Voice service หรือ นวัตกรรมการสั่งการด้วยเสียงจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะง่ายและสะดวกกว่าการกดปุ่มสั่งการแบบเดิม   ตัวอย่างของบริการ Voice Service เช่น ลูกค้า ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์ เริ่มสามารถใช้บริการธนาคารได้เพียงแค่พูดคุยกับระบบVoice ของธนาคารที่ทำงานผ่าน Siri บนโทรศัพท์มือถือ เช่นเดียวกัน อุปกรณ์สั่งการด้วยเสียงอย่าง Alexa ที่คิดค้นโดย Amazon ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินรายใหญ่ในสหรัฐอย่าง Capital One เพื่อให้บริการธนาคารด้วยเสียง โดยได้เปิดตัวการให้สินเชื่อผ่านเสียงได้เมื่อไม่นานมานี้

Trends ที่ได้เล่ามาในข้างต้นนั้น เป็นเรื่องที่กำลังเริ่มต้นในปีที่ผ่านมา และจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปี 20 โดยผู้เขียนเชื่อว่าความต้องการของทั้ง Millennials และ GenZ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนา Service Through Technologyใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภาคการเงิน และจะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงและกำหนดรูปแบบFinancial Industry ในอนาคต 

เงิน : เมื่อ“Fiat USD”ต้องเผชิญกับ“Digital Yuan”และ “Muslim Crypto”

หากพูดถึงเงินในอนาคต ผู้เขียนเชื่อว่า รูปแบบในเชิงกายภาพของสกุลเงินต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินดิจิทัลมากขึ้น สังเกตจากการเปิดตัว Project เงินดิจิทัลทั่วโลก เช่น สวีเดน(e-Korna Digital Currency), แคนาดา, ภูฐาน (สกุลเงินดิจิทัล Prizm เริ่มใช้แล้ว) รวมไปถึงโครงการ DCEP หรือ Digital Yuan ของประเทศจีน และที่น่าจับตามองมากที่สุดส่งท้ายปี 2019 คงหนีไม่พ้นผลจากการประชุม Kuala Lumper Summit 2019 ของประเทศกลุ่มมุสลิม (มาเลเซีย, ตุรกี, อิหร่าน, กาตาร์ และอินโดนีเซีย) ที่ได้มีแนวทางร่วมกันในการสร้างMuslim Cryptocurrency เพื่อตอบโต้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ

โครงการต่างๆ ที่กล่าวมา ผู้เขียนให้น้ำหนักกับ DCEP ของจีน และ Muslim คริปโท เป็นพิเศษด้วยเชื่อว่าทั้ง 2 โครงการจะมีผลต่อ Fiat Dollar ของสหรัฐไม่มากก็น้อย เริ่มจากจีนหากเปรียบเทียบระหว่างหยวน กับ USD พบว่าปริมาณเงิน USD ที่อยู่ในตลาดการเงินโลกยังมีอัตราที่สูงกว่า ประกอบกับพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงิน USD ยังเป็นที่ยอมรับและมีสภาพคล่องมากกว่าหยวนอยู่มาก และหากพิจารณาจากระบบ Clearing house หรือระบบชำระเงินทั่วโลก ก็พบว่า USD ยังคงเหนือกว่าหยวนอยู่มากเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อจีนจะแข่งกับสหรัฐเรื่องของสกุลเงินในแบบของ Fiat จึงยังมีแต้มเป็นรองอยู่มาก ทางออกของเกมส์นี้คือ “การสร้างสกุลเงินดิจิทัล” เพื่อสร้างทางเลือกใหม่และพยายามเป็นผู้นำในเรื่องดังกล่าวให้ได้ก่อนสหรัฐ ดังนั้น ในปลายปี 2019 ที่ผ่านมาจึงเห็นการเปิดตัว projects มากมายโดยรัฐบาลจีน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการใช้ Blockchain ในเชิงพาณิชย์ การให้เงินทุน Startup ในการพัฒนาBlockchain รวมถึงการที่Bank of China ได้เริ่มออกขายพันธบัตรผ่านระบบ Blockchain ซึ่งแน่นอนว่าระบบ Blockchain ที่มีประสิทธิภาพจะรองรับการทำงานของเงินดิจิทัลที่จีน คาดว่าจะออกใช้อย่างเป็นทางการในปี 2020

ในส่วนของ Muslim คริปโท แม้ในปัจจุบันเราจะยังไม่ทราบชัดถึงรายระเอียดโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ดี ผู้นำประเทศอิหร่าน แสดงจุดยืนชัดเจนในเรื่องนี้ว่า ประเทศของตนได้รับผลกระทบจากการกีดกันการค้าจากสหรัฐมาเป็นเวลานาน และการลงทุนระหว่างประเทศที่มี USD เป็นสกุลเงินหลักถือเป็นอุปสรรคสำคัญ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า การลงทุนในคริปโทของอิหร่าน มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับผู้เขียน เชื่อว่า “เงิน” ในปี 2020 จะถูก disrupt จากเงินดิจิทัลสกุลใดสกุลหนึ่งบ้างไม่มากก็น้อย และเราจะได้เห็น CBDC เกิดขึ้นอีกหลายสกุลในโลก แต่โอกาสที่จะได้เห็น Digital USD คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสำหรับสหรัฐ การทำ USD ให้อยู่ในรูปดิจิทัลก็อาจเสียความเป็นผู้นำหลักในเรื่องสกุลเงิน fiat ไปได้

ท้ายที่สุด ... โปรดติดตามประเด็นที่เหลือในฉบับถัดไป

[บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน]