แนวคิด Circular Economyเพื่อก้าวสู่สังคมไร้พลาสติก

แนวคิด Circular Economyเพื่อก้าวสู่สังคมไร้พลาสติก

เริ่มต้นปีใหม่ พ.ศ. 2563 ด้วยการงดแจกถุงพลาสติกของห้างสรรพสินค้าและร้านค้าชั้นนำทั่วไทย

นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับนโยบายการลดและจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย ที่สำคัญเป็นการสร้างความตระหนักเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติกของคนไทยได้อย่างดี

แต่เพียงมาตรการงดแจกถุงพลาสติกของห้างสรรพสินค้าและร้านค้าคงยังไม่เพียงพอไหมที่จะต่อสู่กับวิกฤติขยะพลาสติกล้นประเทศหรือล้นโลก เราจะมีวิธีจัดการวิกฤติขยะพลาสติกนี้ได้อย่างไรให้ได้แบบยั่งยืนอยากมาแชร์แนวคิดของยุโรปเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ที่อาจเป็นทางออกไปสู่สังคมไร้พลาสติกได้ในอนาคต

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เน้นหลักการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (re-material) และสนับสนุนการใช้ซ้ำ (reuse)

เมื่อ ม.ค. 2561 สหภาพยุโรปได้ประกาศยุทธศาสตร์พลาสติก ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนดังกล่าวซึ่งนับเป็นยุทธศาสตร์พลาสติกฉบับแรกของยุโรปที่คาดว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในการต่อสู้กับขยะพลาสติกยุโรป ซึ่งยุโรปไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การกำหนดมาตรการเพื่อลดขยะพลาสติกเท่านั้น แต่มุ่งการแก้ไขปัญหาจากต้นต่อ ตั้งแต่การออกแบบ การใช้ การผลิต และการรีไซเคิลที่มีคุณภาพมากขึ้น

ยุโรปมองว่า เราต้องเริ่มที่การออกแบบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พัฒนาขึ้นอย่างมีคุณภาพเหมาะสำหรับการนำไปรีไซเคิล ไปจนถึงสร้างความพยายามจากทุกภาคส่วนในการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้สูงขึ้นตามเป้าหมาย พร้อมๆ กันต้องพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิล ไปกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมพลาสติกให้เติบโตไปในทิศทางดังกล่าวด้วย

ในด้านการลดขยะพลาสติกเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดเสนอกฎหมายใหม่ที่ควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก 10 ประเภทหลักที่พบมากในท้องทะเล และชายหาดอย่างเข้มงวด (ตามรูปข้างล่าง) ซึ่งรวมถึงเครื่องมือการทำประมงต่างๆ ที่ถูกทิ้งอยู่ในทะเล ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้คิดว่าร้อยละ 50 ของปริมาณขยะทางทะเลทั้งหมด

157813276927

ที่มา: คณะกรรมาธิการยุโรป

สำหรับประเทศไทย ปริมาณการนำเข้าขยะพลาสติกของไทยอยู่ในสามอันดับแรกของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในปี 2559 ประเทศไทยนำเข้าขยะอยู่ที่ราวๆ 70,000 ตัน ในขนะที่ในปี 2561 ตัวเลขการนำเข้าได้พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ราว 500,000 ตัน โดยที่ประเทศที่ส่งออกขยะพลาสติกสู่ไทยอันดับต้นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

หนึ่งในแนวทางจัดการปัญหาคือที่มีตัวอย่างเป็นรูปธรรมในสหภาพยุโรป คือการเข้ามามีส่วนรับผิดชอบของผู้ผลิต โดยในหนึ่งมาตรการที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์คือโครงการ Green Dotซึ่งเป็นโครงการการสมัครใจที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ เช่น เยอรมัน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และอีกกว่า 20 ประเทศในสหภาพยุโรป ได้นำมาใช้ในการบริหารจัดการขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์หลังจากการบริโภค โดยผู้ผลิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามขนาดและลักษณะบรรจุภัณฑ์ของตน อีกทั้งยังมีข้อผูกพันที่จะต้องหาวิธีรับกลับ (Return) บรรจุภัณฑ์แล้วทำไปรีไซเคิล (Recycle) หรือนำไปใช้ใหม่ (Reuse) โดยผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการแล้ว จะสามารถนำเครื่องหมาย Green Dot ไปแสดงบนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าของตน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของสินค้าได้ มาตรการ Green Dot นี้ นอกจากที่จะสร้างระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์ให้เป็นรูปธรรมแล้ว ยังสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ผลิตในการลดปริมาณพลาสติกในขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลงเพื่อลดต้นทุนการจ่าค่าธรรมเนียม Green Dot อีกด้วย (บทความเรื่องขยะพลาสติก: ถอดบทเรียนจากอียูสู่อาเซียน โดยพชร อังศุสุกนฤมล)

อนาคตสังคมไร้พลาสติกสำหรับประเทศไทยคงไม่ได้ไกลเกินจริง ความตระหนัก ใส่ใจ และลงมือทำเพื่อลดขยะพลาสติกของคนไทย ไม่ควรเป็นเพียงกระแสที่เราทำแค่ชั่วครั้งชั่วคราว หรือให้ทำตามความสมัครใจกันเอง แต่ควรนำมากำหนดเป็นกฎหมายของประเทศและสังคม โดยภาครัฐต้องมีบทบาทในการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์พลาสลิกและข้อกำหนดในการผลิต การใช้ การลดและรีไซเคิลขยะพลาสติกของทั้งภาคอุตสาหกกรรมและผู้บริโภค เพื่อมุ่งเป้าหมายการรักษาสิ่งแวดว้อมได้จริง

มี 3 ข้อคิดหลัก ที่อยากจะฝากไว้ให้รัฐบาลและคนไทยลองทำดู

1) ลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครั้งเดียว (หรือใช้แล้วทิ้งไป) – ด้วยการร่วมมือจากพวกเรา

2) ต้องกำหนดข้อบังคับและการรีไซเคิลขยะพลาสติก (โดยภาครัฐ) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และง่ายสำหรับประชาชนที่จะทำตาม

3) หยุดพฤติกรรมการทิ้งขยะหรือทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกต้องไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ อาทิ ในท้องทะเล

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Circular Economy ของยุโรป

https://ec.europa.eu/environment/circular-economy/index_en.htm

[ดร. อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.euหรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd]