การสูญหายของหอยแครง ไขคำตอบด้วยงานวิจัยชุมชน

การสูญหายของหอยแครง   ไขคำตอบด้วยงานวิจัยชุมชน

ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน เป็นฐานการผลิตอาหารทะเลให้กับคนไทย ได้สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทะเลในอ่าวไทยตอนบน

จากการหาสัตว์น้ำหลายชนิดเช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายพันล้านบาท แต่ความอุดมสมบูรณ์กำลังจะหมดไป จากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ที่ได้สร้างปัญหาระบบนิเวศป่าชายเลน สัตว์น้ำขาดแหล่งพักพิงในช่วงวัยอ่อน ส่งผลให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและกลุ่มประมงพื้นบ้านต้องประสบกับความไม่มั่งคงในการดำรงชีพ

หอยแครงคลองโคน ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2555 มวลน้ำที่ถูกระบายจากคลองมหาสวัสดิ์ไหลมายังแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นน้ำเสีย เกิดแพลงตอนบูมทั้งทะเล ส่งผลให้หอยแครงคลองโคน ที่เคยเกิดขึ้นเองธรรมชาติเกิดโรคระบาดตายยกฟาร์ม กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของ "โครงการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดและการป้องกันการตายหมู่(ยกฟาร์ม) ของหอยแครงตำบลคลองโคนโดยมีส่วนร่วมของชุมชน" โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อวิเคราะหขอมูลการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ การจัดการฟารม และโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณที่เลี้ยงหอยแครงโดยการมี สวนรวมของชุมชน

จากรายงานสถิติผลผลิตการเลี้ยงหอยแครง ของกรมประมง พบวา ในป 2551-2553 มีปริมาณผลผลิตระหวาง 4,017-5,065 ตัน แตในป 2554-2555 พบวาปริมาณผลผลิตหอยแครงลดลงเหลือเพียง 2,613-2,518 ตัน (สถิติการประมงแหงประเทศไทย,2557) โดยปริมาณการลดลงของหอยแครง บริเวณต.คลองโคน มีการตายระหวางการเลี้ยงจํานวนมาก เนื่องจากคุณภาพน้ำและดินบริเวณแหล่งเลี้ยงหอยแครง เป็นปัจจัยโดยตรงต่อหอยแครง ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล ประกอบดวย สารอาหารในน้ำและดิน เชน แอมโมเนีย ไนเตรท และปัจจัยคุณภาพน้ำพื้นฐาน เชน ปริมาณสารแขวนลอยในน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อุณหภูมิ ค่าพีเอช เป็นตน

ขณะที่การศึกษาของนักวิจัยชุมชน พบว่า หอยแครงสามารถนำมาเป็นดัชนีชี้วัดการรักษาระบบนิเวศที่ดีของลำคลองได้เป็นอย่างดี เพราะหอยแครงจะเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่สะอาด โดยเฉพาะที่ชุมชนคลองโคน แต่เดิมที่นี่มีหอยแครงเกิดเองตามธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากกว่าหอยแครงจากพื้นที่อื่น เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ชายทะเลบริเวณฝงขวาของแมน้ำแมกลอง ซึ่งมีลักษณะเปนพื้นที่งอกชายฝั่งทะเล เป็นแหล่งสะสมตะกอนของดินเลนที่มีสารอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ หอยแครงคลองโคนมีรสชาติกลมกล่อม ตัวใหญ่เปลือกบาง เนื้อเหนียวนุ่ม 

แต่เมื่อพื้นที่แหล่งเลี้ยงหอยถูกน้ำจืดที่ไหลมาจากแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี รวมถึงลำคลองสาขาไหลลงมาสู่ทะเลในปริมาณมาก จึงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของหอยแครง และยังทำให้เกิดโรคในหอยแครง

" หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา เราถือเป็นผู้ส่งออกหอย แต่ปัจจุบันเราต้องนำเข้าหอยจากอินเดีย ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องประสบกับภาวะขาดทุน เพราะหอยที่นำเข้ามาไม่ได้คุณภาพและตาย เพราะ“น้ำ”ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงหอย ขณะที่ปัจจุบันหอยที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติมีน้อยลง เราจึงต้องมาหาสาเหตุอะไรคือปัจจัยเบื้องต้นของการเกิดของหอย จึงคาดหวังว่างานวิจัยจะช่วยแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้วรเดช เขียวเจริญ แกนนำนักวิจัยชุมชนคลองโคน

ทั้งนี้ ในกระบวนการวิจัยท้องถิ่น การใช้ความรู้ของชาวบ้านอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงประสานนักวิชาการ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เข้ามาทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยชุมชน ซึ่งทำให้ทราบว่า โดยทั่วไปน้ำเสียไม่ได้ทำให้หอยตายโดยตรง แต่เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการติดเชื้อของหอย ทำให้หอยเกิดโรค เมื่ออ่อนแอจึงเป็นสาเหตุของการตาย 

ผลการตรวจสอบพบว่า ปจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลตอการเลี้ยงและการตายของหอยแครงโดยตรง คือ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบวันที่แตกตางกัน ปริมาณตะกอนสารแขวนลอยในน้ำทะเล และปริมาณ ไนโตรเจนสูง ส่วนปจจัยคุณภาพดินที่มีผลกระทบตอการเลี้ยงหอยแครง คือ ดินมีการสะสมของสารอินทรียในปริมาณมาก ส่งผลให้หอยแครงอ่อนแอ และตายเป็นจำนวนมาก

จากเดิมที่เคยคิดว่าสาเหตุหลักการตายหมู่ของหอยแครงคลองโคน เกิดจากโรงงานและฟาร์มเลี้ยงหมูที่อยู่ด้านบนปล่อยน้ำเสียลงมาสะสมจมทับลงในดินเลนอยู่บริเวณปากอ่าวตัว ก. ทำให้หน้าดินเสียรวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบทำให้หอยแครงตาย

สิ่งที่ตามมาทำให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัวและหันมาร่วมมือกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนกันเอง โดยในส่วนของภาคเอกชนผู้ให้บริการ อาทิ ร้านอาหาร ที่พักรีสอร์ต ต่างก็ให้ความร่วมมือในการติดตั้งเครื่องดักไขมัน และเครื่องบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงสู่คูคลอง เพื่อเป็นการจัดการระบบนิเวศของตนเองอีกทางหนึ่ง ขณะที่หน่วยงานภาครัฐ ทั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคนก็ได้เข้ามาสนับสนุนการดำเนินโครงการและกำหนดกฎกติกากับทางร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งกรมชลประทานที่เข้ามาให้ความร่วมมือในการปล่อยน้ำเพื่อช่วยเจือจางสารอินทรีย์ที่ปะปนในน้ำซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของหอยแครง และจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทำให้หอยแครงคลองโคนได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว