อยู่กับอิเหนา 4.0

อยู่กับอิเหนา 4.0

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่รู้จักกันดี ไม่เฉพาะแต่คนไทยแต่ยังรวมไปถึงเพื่อนบ้านอาเซียนอีกหลายชาติ ต้นตำหรับมาจากเรื่องราวของเจ้าชายแห่งชวาตะวันออก

ที่มีพระนามว่า Panji Inu Kertapati เป็นวรรณคดีที่นอกจะโดดเด่นในเชิงวรรณกรรมแล้วยังมีคติสอนใจเกี่ยวกับการร่วมงานกับคนหลากหลายประเภทอีกด้วย ตัวอย่างหนึ่งปรากฎอยู่ในวิกิพีเดีย เรื่องอิเหนา ที่นำเสนอข้อคิดเรื่องพฤติกรรมจากตัวละครเรื่องนี้ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งบังเอิญพฤติกรรมทำนองเดียวกันก็ยังปรากฎให้พบเห็นในผู้บริหารทั้งใหญ่ ทั้งเล็ก ในหลายหน่วยงานตราบเท่าทุกวันนี้

ผู้บริหารแบบอิเหนามีพฤติกรรมที่พบเจอเป็นประจำ 4 อาการ อาการแรก คือการใช้อารมณ์เรื่องเล็กเรื่องน้อยเจ้านายเบรคแตกเป็นประจำจนกลุ่มไลน์กลายเป็นเวทีด่าลูกน้องมากกว่าที่จะเป็นเครือข่ายบอกล่าวสรรพสิ่งสำหรับกลุ่มคนที่ทำการงานด้วยกันผู้บริหารวันนี้มีโอกาสใช้อารมณ์มากกว่าแต่ก่อนเพราะข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลไปมาได้มากกว่าใครอยู่ใกล้ๆไม่ใช่แค่ต้องสงบปากสงบคำแต่ยังต้องระวังสารพัดแชทสารพัดโพสทที่กระทำไปอีกด้วยจะรับคำสั่งให้ทำอะไรดูแยกแยะให้ออกเสียก่อนว่าคำสั่งไหนต้นตอคืออารมณ์เสียคำสั่งนั้นก็ไม่ต้องไปใส่ใจมากเกินไปสักพักก็จะเปลี่ยนใหม่ทำไปเสียแรงเปล่าๆแถมอาจโดนด่าในวาระอารมณ์เสียครั้งต่อไปใครเป็นคู่แข่งต้องแยกแยะให้ได้ว่าถ้อยคำไหนเป็นสาระถ้อยคำไหนเป็นอารมณ์ไม่งั้นวางกลยุทธ์ในการแข่งขันไปผิดที่ผิดทาง

อาการที่ 2 คือการใช้กำลังในการแก้ปัญหา ถ้ามีเจ้านายเป็นอิเหนาซึ่งนอกจากชอบใช้อารมณ์แล้วยังชอบใช้กำลังอีกด้วยจึงต้องระวังเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะโดนเล่นงานแรงๆทั้งกายภาพและจิตใจทนมือทนปากให้ได้ถ้าอยากเติบโตในการงานกับอิเหนาใครทำมาหากินแข่งขันก็ต้องตระเตรียมรับการโจมตีด้วยกำลังในสารพัดรูปแบบแต่วันนี้คงไม่ใช่ยกพวกมารุมเล่นงานกลายเป็นการใช้สรรพสิ่งที่มีเหนือกว่ามาถล่มคู่แข่งให้ยับเยินไปเช่นทุบราคาออน์ไลน์ให้คู่แข่งเจ็งไปทันตาเห็นหรือใช้เส้นสายในวงการที่มีบดขยี้คู่แข่งให้ราบคาบไปในทุกวิธีการซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการใช้กำลังดังนั้นให้ตระเตรียมสรรพกำลังไว้พร้อมที่จะรับมือการใช้กำลังจากฝ่ายตรงข้ามแม้จะสิ้นเปลืองไปมากกว่าที่ควรก็ตาม

อาการที่ 3 คือการทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดจึงสั่งการผิดพลาดอยู่เป็นประจำแต่ส่วนใหญ่จะจดจำความผิดพลาดที่ตนเองกระทำไปแล้วไม่ค่อยได้ยิ่งยุคสี่จุดศูนย์สั่งการได้ทุกที่ทุกเวลาใครเป็นลูกน้องจงอย่ารายงานแค่ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ให้เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาไปพร้อมกันด้วยไม่งั้นตัวเองนั่นแหละที่ต้องรับภาะดำเนินการคำสั่งที่ทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดคนสั่งสั่งแล้วลืมคนทำตามสั่งนั้นต่างหากที่รับแรงสะท้อนเต็มๆทำมาหากินแข่งขันด้วยต้องเตรียมทางหนีทีไล่ไว้หลายๆทางรวมทั้งเตรียมรับมือหนทางที่คนปกติที่คิดก่อนทำไม่ค่อยจะกระทำกันไว้ด้วย

อาการที่ 4 คือการเอาแต่ใจตนเอง ท่านต้องการอะไรท่านต้องได้สิ่งนั้นเรื่องนั้นให้ได้ใครเป็นลูกน้องถ้าดูแล้วแน่ใจว่าท่านอยากได้จริงๆไม่ใช่อยากได้ตอนอารมณ์เสียให้รีบจัดหาจัดทำตามที่ท่านสั่งการอย่าพยายามให้เหตุผลใดๆว่าหน่วยงานของเราจะเอาไอ้นั่นไอ้นี่ไปทำไมไม่เห็นความจำเป็นอะไรเลยสำนักงานอยู่ใกล้คลองท่านอยากได้หน้าร้านลอยนำ้ในคลองก็ทำให้ท่านไปเถอะสักพักท่านลืมก็เลิกไปได้ไม่ว่าทำแล้วจะเจ็งแค่ไหนก็ตามจำใส่ใจไว้เสมอว่าเจ้านายที่เอาแต่ใจตนเองชอบใช้อารมณ์และทำอะไรโดยไม่ยั้งคิดนั้นตรรกะและสารสนเทศใช้ประโยชน์ใดๆไม่ได้ต่อไปเป็นอภิมหาบิ๊กดาต้าก็ใช้อะไรไม่ได้เอไอยังยอมแพ้เพราะค้นหารูปแบบการคิดการตัดสินใจและการกระทำของท่านไม่ได้

อาการทั้ง 4 ประการที่กล่าวมานั้นส่งผลโดยอัตโนมัติให้การประเมินองค์กรคลาดเคลื่อนไปจากที่เป็นจริง การบริหารความเสี่ยงในด้านกลยุทธ์ และด้านปฏิบัติการจะกระทำได้ยากเย็นเต็มที วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์มักเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้น้อยมาก และกลายเป็นวาทะที่มีไว้พูดกันให้ดูดี แต่ไม่อาจถ่ายทอดสู่การปฏิบัติได้จริง ส่วนหนึ่งมีเหตุมาจากการเลือกใช้สารสนเทศแบบเอาแต่ใจตนเอง คือหยิบมาเฉพาะที่อยากเชื่อแล้วเอาเฉพาะสารสนเทศนั้นไปฝึก เอไอ เอไอ เลยกลายเป็นอิเหนา 4.0 ไปด้วย