“เเก้ผ้าเอาหน้ารอด”

“เเก้ผ้าเอาหน้ารอด”

เมื่อภาระหนี้​มีจำนวนมาก​ ทางแก้ไขที่ควรจะกระทำ​อาจได้แก่ต้องหยุดก่อหนี้​ หรือ​ไม่ควรมีรายจ่าย​เพิ่ม​ หรือเลือกสำรวจ​คัดแยกหนี้สินของตน​

แต่หากยังฝืน​สร้างหนี้เพิ่มเพื่อสร้างภาพ​ (ให้คนอื่นรู้ว่าตนไม่มีหนี้​ท่วมหัว)​ เช่นนี้แล้วอาจไม่แตกต่างจากสุภาษิตไทย​ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" หรือการประกอบธุรกิจการค้า​ข้าว ที่​ทราบดีว่าราคาข้าวในตลาดโลก​ต่ำกว่าราคาขายซื้อในประเทศ​ ชาวนาประสงค์จะขายข้าวให้พ่อค้า​โรงสีในราคาที่ดีกว่าตลาดโลก​ แต่ก็ยังมีอาการดื้อดึง​พยายามผลักดันให้นำข้าวจากชาวนา​ อาศัยพ่อค้า​โรงสีกดราคาข้าว เพื่อขายข้าวในตลาดต่างประเทศ​เพื่อโชว์ศักยภาพ​ เช่นนี้แล้ว​ อาจไม่แตกต่างจากสุภาษิตข้างต้น

โครงการนิติบุคคลอาคารชุดชื่อ​ "" เจ้าของโครงการเป็นบริษัทจดทะเบียนมีชื่อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ โครงการดังกล่าวจดทะเบียนอาคารชุดเมื่อเดือน เม.ย.2560 พัฒนาบนที่ดิน​ 2​ ไร่เศษ​ 1​ อาคาร 410 ห้องชุด​ เมื่อปี 2560-2561 ขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดแล้วกว่า​ 170 ห้องชุด​ คิดเป็น​ 42% ปีต่อมา​ (2562)​ ขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้เพิ่มขึ้น​ "เล็กน้อย" รวมประมาณ​ 190​ ห้องชุด​ คิดเป็น​ 46% โดยประมาณ​ ณ​ ปัจจุบัน​ พบว่าจำนวนห้องชุดเหลือขายยังคงมีมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมด

ในคราวจดทะเบียนอาคารชุด​ ตามมาตรา​ 6​ ของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด​ ผู้ประกอบการเจ้าของโครงการหิ้วบุคคล​ ชื่อนาย​ "" จดทะเบียนเป็นผู้จัดการ​ "ครั้งแรก" กำหนดวาระ​ 2​ ปี​ ​ด้วยค่าจ้างเดือนละ​ 2.5 แสนบาท​ โดยจะสิ้นสุดสัญญาจ้างพร้อมกันกับนาย ข​ ในฐานะ​ผู้จัดการในวันที่​ 25 เม.ย.2562 อย่างไรก็ตาม​ ภายใน​ 6​ เดือน​ (ต.ค.2560 ) นาย​ ส จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม "ครั้งแรก" ตามข้อบังคับ​และมาตรา​ 42 แต่งตั้งคณะกรรมการ (คกก.) 5​ คน​ ตรวจสอบ​ดูแลให้คำแนะนำ​นโยบายการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ​ นาย​ ส และนิติบุคคล​ บริษัทจำกัดบริการทรัพย์สินของนาย​ ส ไปพร้อมกัน​ 

อย่างไรก็ดี​ ก่อนครบสัญญาจ้างของนิติบุคคล 2 เดือน ที่ประชุม คกก.พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลรายดังกล่าว​ไม่ผ่านการประเมิน ที่ประชุมฯ​ จึงมีมติไม่ต่อสัญญาจ้างและประกาศรับสมัครนิติบุคคล​ "ภายนอก" ภายใต้ข้อกำหนด​ขอบเขตการทำงาน ​(ทีโออาร์)​ ที่ คกก.เปิดเผยให้แก่นิติบุคคล​ "ภายนอก" ทั่วไป​รับทราบ

ที่ประชุม คกก.มีมติอนุมัติแต่งตั้งนิติบุคคลฯ​ รายใหม่​ ชื่อ​ "" ทำหน้าที่รับมอบงานทรัพย์ส่วนกลางกับรายเดิม​ ล่วงหน้า​ 1-1.5  เดือน​ เพื่อให้งานทรัพย์ส่วนกลางเกิดความต่อเนื่อง​และมีประสิทธิภาพ

"เรื่องแปลกแต่จริง" ทั้งผู้จัดการ​ นาย​ ส และเจ้าของโครงการ​ "จับมือกัน" หาเหตุจัดประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งที่​ 1/2562​ เมื่อวันที่​ 17 มี.ค.2562 นาย​ ส และนิติบุคคลบริษัทจำกัดของนาย​ ส อาศัย​ "จมูกคนอื่นหายใจ" ให้ร้ายป้ายสี​ "คณะกรรมการ" หาเหตุถอดถอน​ และแต่งตั้ง คกก.​จนสำเร็จ​ แต่โชคไม่เข้าข้างนาย​ ส นิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ และเจ้าของโครงการบริษัทจดทะเบียน​ (กับพวก)​ ประธาน คกก.ด้วยความเห็นชอบ คกก.ใช้สิทธิทางศาล​ฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุม​ โต้แย้งสิทธิและขอคุ้มครองชั่วคราว​

ต่อมานิติบุคคลผู้รับจ้าง (นาย​ ส)​ แจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดวันที่​ 25 เม.ย.2562 ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้ คกก.​รับทราบ​ มีผลตั้งแต่วันที่​ 1 เม.ย.2562 เป็นต้นไป​ นาย​ ส ผู้จัดการจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งที่​ 2/2562 ในวันที่​ 31 มี.ค.2562 พิจารณาแต่งตั้งผู้จัดการรายใหม่แทนรายเดิมที่ลาออกตามหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง พิจารณาแต่งตั้งนิติบุคคล​บริษัทจำกัดบริการทรัพย์สิน​ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ คกก. ฯลฯ​ ที่ประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งนาย​ ส และนิติบุคคล​ บริษัทบริการทรัพย์สินของนาย​ ส กลับมาเป็นผู้จัดการ​ และผู้รับจ้างบริการทรัพย์สินเหมือนครั้งก่อน​ 

ทั้งนี้ ผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยและ คกก.​(ชุดถอดถอน)​ ตอบเป็นเสียงเดียว​ ได้แก่​ นาย​ ส ผู้จัดการ​ ตลอดจนเจ้าของร่วม​ "รายใหญ่" เจ้าของโครงการกับพวก​ ต่างไม่ยอมรับมติ คกก.ที่อนุมัติเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ​ และนิติบุคคล​บริษัทจำกัด นาย​ ส แต่อย่างใด​ ผู้ซื้อ​และ คกก.ทุกคน​ต่างทราบวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นอย่างดี​ อย่างไรก็ตาม​ นาย​ ส ทราบวาระตำแหน่งตามข้อบังคับและประสงค์จะเข้าสู่ตำแหน่งดังกล่าวอีกวาระ​ ดังนั้นวันที่​ 3 เม.ย.2562 นาย​ ส จึงส่งจดหมายเชิญประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งที่​ 3/2562​ กำหนดนัดประชุมในวันที่​ 28 เม.ย.2562 พิจารณาแต่งตั้งผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุด​แทนรายเดิมที่ครบวาระตามข้อบังคับ​ 

อย่างไรก็ดี​ เชื่อว่าท่านผู้อ่านแฟนคอลัมน์คงทราบผลการประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมครั้งที่​ 3/2562 ผลจะเป็นอย่างไร​ หลายท่านรวมทั้งผู้เขียนเห็นสอดคล้อง​ไม่แตกต่างจากท่าน​ ได้แก่​ นาย​ ส จะกลับมาดำรงตำแหน่งอีกวาระ​ 100%

ถามว่าเหตุใด​ นาย​ ส​ จึงประสงค์กลับมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการอีกวาระ​ ในขณะที่ที่ประชุม คกก.ไม่อนุมัติแต่งตั้ง​ ทั้งนาย​ ส​ เป็นผู้จัดการ​และนิติบุคคล​บริษัทจำกัดบริการทรัพย์สินของ นาย​ ส​ ทำหน้าที่ฝ่ายจัดการอาคาร​ และทรัพย์ส่วนกลาง​ หรือ

เหตุใดเจ้าของร่วม​ "รายใหญ่" เจ้าของโครงการจึงสนับสนุนนาย​ ส​ และนิติบุคคล​ บริษัทบริการทรัพย์สินของนาย​ ส​ กับพวก​ หรือการจัดประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งที่​ 1/2562 เมื่อวันที่​ 17 มี.ค.2562 ขอมติถอดถอน​ และแต่งตั้ง คกก. ​ตามที่นาย​ ส​ จัดขึ้น​ และมีมติดังกล่าว​ กระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด​ ถูกต้องหรือไม่

คำตอบมีไม่กี่เรื่อง​ ทุกเรื่อง​ล้วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของนาย​ ส​ นิติบุคคล​ บริษัทบริการทรัพย์สินของนาย​ ส​ และเจ้าของโครงการ​ บริษัทจดทะเบียนกับพวกทั้งสิ้น​ อาทิ​ การชำระค่าส่วนกลาง​ ค่ากองทุนของเจ้าของร่วม​ "รายย่อย" และ "รายใหญ่" เจ้าของโครงการ​ การอาศัยพื้นที่ส่วนกลางเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจของเจ้าของโครงการ​ บริษัทจดทะเบียน  การอาศัยบุคคล​ นิติบุคคลอื่นเป็น​ "นอมินี" เพื่อกระทำการแทน​ หรือรักษาผลประโยชน์ของตน​ หรือการปกปิด​ ซ่อนเร้นที่เกี่ยวข้องทรัพย์ส่วนกลาง​ เป็นต้น