ไก่เห็นตีนงู​ งูเห็นนมไก่​ ​?

ไก่เห็นตีนงู​ งูเห็นนมไก่​ ​?

เราๆ​ ท่านๆ​ มักได้ยินประโยค​ หรือคำพูด​ "คนโง่มักตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด" หรือรู้ไม่เท่าทันคน​

 แต่หากบุคคล​หรือนิติบุคคล มีความรู้​ความสามารถ​ ประสบการณ์​ความชำนาญ​ในงานเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องแล้ว นอกจากรู้ทันแล้ว​ ย่อมไม่ตกเป็นเหยื่อของคน​ฉลาด ความเสียหายความเดือดร้อนจะไม่เกิดขึ้นของคนที่รู้ทันคน เป็นต้น

อาจ​ยก​บาง "ตัวอย่าง" เทียบเคียงกับคำกล่าว​ประโยคข้างต้นกับ​ นักบัญชี ซึ่งเป็นผู้จัดทำ​ ลงบัญชี​ ตามมาตรฐานวิชาชีพทางบัญชี​ รายรับที่ได้จากการประกอบธุรกิจ​การดำเนินงาน​ มื่อมีรายได้จำนวนมาก​ ผู้ประกอบการ​เจ้าของธุรกิจ​บางราย​ "แทรกแซง" การปฏิบัติงานของนักบัญชี​ ไม่ประสงค์​เสียภาษีเงินได้จำนวนมากแก่กรมสรรพากร​ ก็อาศัย​หรือให้นักบัญชีจัดหา​ ลงบัญชี​รายจ่ายให้มากกว่ารายรับ​ ทำให้ผลการดำเนินงานขาดทุนมากกว่ากำไร​ในทางบัญชี​ (หลอกลวง​ ปกปิด​ ซ่อนเร้นผู้ถือหุ้น)​ ขณะที่ผู้สอบบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าว​ เห็นแย้ง​กับนักบัญชี​ ผู้ประกอบธุรกิจ​เจ้าของกิจการ​ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือขื่อ​ ซึ่งขาดทุนติดต่อกันนานนับ 5 ปี​ 10 ปี​ เหตุใด​จึงยังสามารถประกอบธุรกิจได้ตามปกติ​ อาจเกิดข้อสงสัยต่อกรมสรรพากร และอาจเรียกผู้สอบบัญชีให้ถ้อยคำ​ หรือส่งมอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม 

หรือโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์​ประเภทคอนโดมิเนียม​ "ขนาดใหญ่" ผู้ประกอบการ​ เจ้าของโครงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา​ และควบคุมงานการก่อสร้าง​ เพื่อให้งานก่อสร้างอาคาร​ถูกต้อง​ตามแบบก่อสร้าง แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา​ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมวิขาชีพ​ บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานการก่อสร้าง​มีหน้าที่ตรวจสอบ​ให้คำแนะนำแก่ผู้รับเหมา  เมื่อตรวจสอบพบว่าการก่อสร้างไม่ถูกต้อง​ หรือผิดแบบจากที่ได้รับอนุญาต​ ที่ปรึกษา​และผู้ควบคุมงานการก่อสร้างดังกล่าว​ ย่อมปฏิเสธงานก่อสร้างในส่วนดังกล่าว​ อีกทั้งสามารถสั่งผู้รับเหมารื้อ​ ทุบ​ แก้ไขงานก่อสร้าง หมายความว่าการที่ผู้รับเหมางานก่อสร้างก่อสร้าง​​ มิอาจพ้นสายตาของที่ปรึกษา​ และผู้ควบคุมงานก่อสร้าง​ ส่งผลให้งานก่อสร้าง​ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาต​​ ในทางตรงกันข้าม​ หากขาด​หรือไม่มีที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรม​หรือผู้ควบคุมงาน​ รองรับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว​ โอกาสเกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ​ เจ้าของโครงการที่ด้อย​ หรือขาดประสบการณ์จากผู้รับเหมางานก่อสร้าง​บางราย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี​ ทั้ง 2 กรณี​ "ตัวอย่าง" ข้างต้น​ สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อระบบบัญชีของนิติบุคคล​ ถูก​แทรกแซง ย่อมมีโอกาสเกิดความเสียหายแก่นิติบุคคล​ ผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคล​ ผู้ถือหุ้น​ ผู้จัดทำ​บัญชี​ ตลอดจนผู้สอบบัญชีได้​ และโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์​ อาคารชุด​ ซึ่งเจ้าของโครงการว่าจ้างผู้รับเหมาที่ไม่ได้มาตรฐาน​ ย่อมส่งผลต่อคุณภาพ​ ภาพลักษณ์​ ชื่อเสียงของผู้ประกอบการ​ ผู้ซื้อทรัพย์สิน​ สินค้าห้องชุด​ของผู้ซื้อ​ ผู้บริโภคในภายหลังได้ในที่สุด

โครงการอาคารชุด​ฯในต่างจังหวัด​ พัฒนาที่ดินบนพื้นที่กว่า​ 6 ไร่เศษ​ โดยบริษัทจดทะเบียน​ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีห้องชุดจำหน่ายรวมทั้งสิ้นเกือบ​ 600​ ยูนิต​ จดทะเบียนอาคารชุดตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อาคารชุดเมื่อ ธ.ค.2561 ขายกรรมสิทธิ์ให้ผู้บริโภค​แล้วกว่า 200 ห้อง​ คิดเป็น​ 40% ของทั้งหมด​ ห้องชุดเหลือขาย 400​ ห้อง​ หรือ​ 60% อยู่ระหว่างรอ​(เร่ง)การขาย​ ผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ​ ตกลงว่าจ้างนิติบุคคล​ภายนอก ผู้ชำนาญงานบริการอสังหาริมทรัพย์​ในตำแหน่งผู้จัดการ​ และฝ่ายบริหารทรัพย์สินของโครงการดังกล่าว ตั้งแต่วันจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด(นิติฯ)​ ต่อมาเมื่อวันที่​ 2 มิ.ย.2562 ผู้จัดการของ นิติฯ จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ ครั้งแรก” ตามบทบัญญัติ ของพ.ร.บ.อาคารชุด​ และข้อบังคับฉบับจดทะเบียน​ กำหนดวาระพิจารณา​ ได้แก่​ แต่งตั้งประธานในที่ประชุม​ รายงานผลการดำเนินงาน​ การรับรองผู้จัดการ และข้อบังคับจดทะเบียน​ การแต่งตั้งคณะกรรมการ(คกก.)​ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี​ และค่าจ้างการสอบบัญชี​รายปี การขอสัตยาบันนิติกรรม ​ และสัญญาที่ผู้จัดการกระทำ ในนามนิติฯ เป็นต้น​ ในวันประชุมดังกล่าว​ มีผู้ซื้อ​ และผู้รับมอบฉันทะของผู้ซื้อ​ ตรวจนับได้กว่า​ 100 ห้อง​ คะแนนเสียงของผู้ซื้อ​และผู้รับมอบฉันทะนับได้ไม่เป็น​องค์ประชุม​ กล่าวคือ​ มีน้อยกว่า​ 1 ใน 4 ของเจ้าของร่วมทั้งหมด​ และคะแนนเสียงของผู้ประกอบการกับห้องชุดเหลือขาย 60% ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม​ และออกเสียงลงคะแนนตามวาระที่กำหนดในที่ประชุมด้วย

วาระแต่งตั้ง​ประธานในที่ประชุมนิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ วางตัวผู้ซื้อ​ ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงข้างมาก​ ประธานในที่ประชุม” ไม่มีบทบาทแต่อย่างใด​

วาระ ​“รับรอง ข้อบังคับของนิติฯ ​ นิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ และผู้จัดการ​ ไม่ประสงค์ให้แก้ไข​ เพิ่มเติมข้อบังคับตามที่ผู้ซื้อ​ ผู้รับมอบฉันทะ​เสนอ​ อ้างทำให้เสียเวลาการประชุม​ ขอพูดคุยนอกรอบในภายหลัง​ มี ​“นอมินี​ บางคน​ กล่าวสนับสนุนแนวทางดังกล่าว​ ที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าว

วาระการแต่งตั้ง​“คณะกรรมการ”นิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ และผู้จัดการ​ วางตัวผู้ซื้อ​​ 9 คน​ รองรับการเป็นคกก.ตามข้อบังคับ​ ที่ประชุมคะแนนเสียงข้างมากอนุมัติแต่งตั้งบุคคลจำนวนดังกล่าว

วาระ​ “ให้ความเห็นชอบ งบประมาณ​รายรับ และรายจ่ายการบริหารทรัพย์ส่วนกลาง​ รายปี​ และค่าส่วนกลาง​ และค่ากองทุนที่เรียกเก็บกับผู้ซื้อที่แตกต่างจากผู้ขาย ผู้ประกอบการ

ค่าส่วนกลาง​ และค่ากองทุนของผู้ซื้อทุกราย​ ถูกบังคับจ่ายให้แก่นิติฯ ตามข้อบังคับจดทะเบียน​ ชำระค่าส่วนกลางล่วงหน้า​ “รายปี” ส่วนผู้ขาย​ ชำระค่าส่วนกลางรายเดือน ​ (ที่ประชุมรับได้)​ แต่ค่ากองทุน ​“ไม่จ่าย อ้างจะจ่ายเมื่อมีผู้ซื้อเท่านั้น​ ที่ประชุมสอบถามผู้จัดการ​ เหตุใด​ ผู้ขาย​ ผู้ประกอบการ​ จึงไม่จ่ายค่ากองทุนดังเช่นผู้ซื้อรายย่อย​ หากยังขายห้องชุดไม่ได้​ นาน 3 ปี 5 ปี​ หรือ 10 ปี​ นิติฯ จะมีเงินซ่อมแซมปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลาง​ รายการใหญ่ๆ​ ได้อย่างไร​ ในขณะที่ผู้ขายสามารถเรียกเก็บกับผู้ซื้อในคราวซื้อ​ ขายห้องชุดในอนาคตได้​ ?

ที่ประชุมเสียงข้างมาก​ ยังคงเงื่อนไขการชำระค่ากองทุนของผู้ขายตามข้อบังคับ​ กล่าวคือ​ ไม่ต้องชำระ​ ชำระเมื่อมีการซื้อ​ ขายห้องชุดแล้วเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม​ ท่านผู้อ่านหลายท่าน​ ตามความคิดผู้เขียนทัน​ (รู้ทัน)​ การจัดประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม​ครั้งแรกของโครงการ​ นิติฯ ​ดังกล่าว อาจเป็นเพียง​ *ภาพลวงตา​* หรือเป็นเพียง *พิธีกรรม* ตามข้อบังคับ และกฎหมาย​กำหนด​ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ขาย (ใช่หรือไม่​? )​ อย่างไรก็ตาม​ การประชุมดังกล่าว​ อาจได้ประโยชน์ในระดับหนึ่งแก่ผู้ซื้อรายย่อย​ เช่น​ การวางกฎระเบียบการใช้พื้นที่ลานจอดรถยนต์คันที่ 2 , 3 หรือรับทราบกฎระเบียบการอยู่อาศัย​ การใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล​ ทรัพย์ส่วนกลาง​ ค่าส่วนกลางที่ผู้ซื้อชำระล่วงหน้ารายปี​ ใช้จ่ายเรื่องใด​ ค่าส่วนกลางเพียงพอหรือไม่​ มีค่าส่วนกลาง​และค่ากองทุนในบัญชีเงินฝากธนาคาร​จริงหรือไม่​ เป็นต้น​ แต่ระบบการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของผู้ขาย​ ผู้ประกอบการ​ เจ้าของโครงการทั้งสิ้น​ ภายใต้​นอมินี”(Nominee)​ ที่ตนแต่งตั้งเป็นผู้จัดการนิติฯ และผู้จัดการรายดังกล่าวว่าจ้างทีมงานบริษัทของผู้จัดการ​รับผิดชอบงานบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางตามข้อบังคับ​ และมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น

โดย... 

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

[email protected]