โตไป ไม่โกง!

โตไป ไม่โกง!

องค์กรต่อต้านการทุจริต​คอรัปชั่นที่จัดตั้งขึ้น​ มีภาพยนตร์เผยแพร่​ ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะ​เพื่อปลูกจิตสำนึก​ให้ปฏิเสธการคอรัปชั่นในสังคมไทย

รวมทั้งการออกตำราเรียน​ สื่อการเรียนการสอน​ "โตไปไม่โกง" ให้เด็ก​ เยาวชนคนไทยได้ตระหนัก​ รับทราบเรื่องดังกล่าว​ ไม่มากก็น้อย

หลายท่าน​ อาจกล่าวแม้การจัดตั้งองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น​ของหน่วยงานภาคเอกชน​ หรือหน่วยงานการศึกษาของภาครัฐ​ดังกล่าว ไม่อาจหยุดการทุจริต​ คอรัปชั่นได้​ เหตุเพราะถูกสนิมเกาะกิน จนลึก​ ยากต่อการแก้ไข​ แต่หากไม่ทำ​ตั้งแต่วันนี้​ เยาวชน​ เด็กไทยที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่​ ผู้นำองค์กร​ ห้างร้าน​ บริษัท​ หรือประเทศชาติ​ ในวันหน้า​ องค์กร​ บ้านเมือง​ จะอยู่รอดปลอดภัย​ อย่างมั่นคง​ นานาชาติ​ จะยอมรับประเทศไทยในระยะยาวได้อย่างไร​

ความเสียหายจากการทุจริต​ คอรัปชั่นของบุคคล​ หรือนิติบุคคลต่อองค์กร​ หน่วยงาน​ ประเทศชาติ​ มีหลายข้อ​ หลายด้าน​ เกิดผลเสียต่อภาพรวมเศรษฐกิจ​ สังคม​ ถูกดูหมิ่น​ ดูแคลนจากคนรอบข้าง​ และนานาอารยประเทศ​ ที่สำคัญประเทศใดที่มีการทุจริต​ คอรัปชั่นเกิดขึ้นจำนวนมาก​ ย่อมส่งผลให้คน​พลเมือง​ และประเทศชาตินั้นๆ​ ขาดการเจริญ เติบโต​ และความก้าวหน้า

ปัจจุบัน​ การทุจริต​ คอรัปชั่น​ เกิดขึ้นทั้งในส่วนภาคเอกชน​ และภาครัฐ​ ทั้งทางตรง​ ทางอ้อม​ หรือทุจริตคอรัปชั่นเชิงนโยบาย​ เป็นต้น​ รวมทั้งการกระทำความผิด​ ไม่เกรงกลัวต่อข้อบังคับ​ กฎหมาย​ (บ้านเมือง)​ มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก​ ทางตรง​ อาจได้แก่​ การเรียกรับสินบนจากผู้มีอำนาจ​ ทางอ้อม​ อาจได้แก่​ การเอื้อประโยชน์ให้อีกฝ่าย​ หรือทางนโยบาย​ อาจได้แก่​ การสร้าง​ หรือกำหนดกติกา​ ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม​ หรือการอาศัยอำนาจ​ บารมีของบุคคลบางคน​ เพื่อเอื้อประโยชน์​ โดยขาดการแข่งขันที่ ไม่เป็นธรรม​ หรืออาศัยอำนาจของเจ้าพนักงาน​ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่​ กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่ออีกฝ่าย เป็นต้น

อาจยกตัวอย่างให้เห็น​ กรณีผู้ขับขี่รถยนต์​ ฝ่าฝืนไฟแดงบริเวณทางแยก​ จนเป็นเหตุ เกิดอุบัติเหตุ​ เสียหายแก่รถยนต์​ และร่างกาย​ ทรัพย์สินบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ขับขี่รถยนต์ รายดังกล่าว​ อ้างมีผู้สนิทสนมเป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่​ ตำรวจ​ อัยการ​ หรือผู้พิพากษา​ สามารถ​วิ่งเต้น​ เป๋า​ หรือ ล้มคดีให้แก่ตนได้​ เช่นนี้แล้ว​ สังคมจะยึดกฎหมาย​ หรือยึดตัวบุคคลเป็นหลัก​ เพื่อให้สังคมปลอดภัยได้อย่างไร​ หรือการสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการของหน่วยงานภาครัฐ​ ผู้สอบแข่งขันจำนวนหนึ่ง​ ไม่ได้ใช้ความรู้​ ความสามารถที่ตนมี​ แต่ใช้วิธีการทุจริตด้วยการลอกข้อสอบของอีกกลุ่ม​ อีกฝ่าย​ ด้วยการแลกกับการจ่ายค่าจ้างการรู้ข้อสอบล่วงหน้าให้แก่ผู้ออกข้อสอบ​ ผู้ควบคุมสอบ​ เช่นนี้แล้ว​ บุคลากรที่สอบแข่งขัน ​เป็นข้าราชการรัฐ จะปฏิบัติหน้าที่เป็น​ "ตัวอย่าง" ที่ดี​ หรือมีความรู้​ ความสามารถ​ พัฒนาตน​ และองค์กรให้ก้าวหน้า​ เกิดประสิทธิภาพต่อประเทศชาติ​ (ต่อไป)​ ได้อย่างไร​ หรือกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่​ "บางรายรู้​ และทราบระเบียบ​ ข้อบังคับ​ ข้อกฎหมายดีกว่าพลเรือน​ ราษฏรทั่วไป​ เมื่อกฎหมาย​ หรือข้อบังคับ​ ระเบียบ​ ห้ามกระทำการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ​ ข้อบังคับ​ และกฎหมาย​ แต่ยังกระทำด้วยการจดทะเบียนให้แก่ผู้ขอ​ แทนที่จะเลือกการอธิบายความตามระเบียบ​ ข้อบังคับ​ และกฎหมายให้ผู้ขอทราบว่าไม่สามารถกระทำได้​ ผิดกฎหมาย​ ข้อบังคับ​ กลับมีข้อความอันเป็นการยกเว้นการจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่ผู้ขอ​ (อีก)​ ถามว่าระเบียบ​ ข้อบังคับ​ หรือกฎหมายที่มีไว้เพื่อการปฏิบัติให้ถูกต้อง​ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด จะมีไว้เพื่อการใด​ ? 

โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ ชื่อ​ "" ท้องที่ต่างจังหวัดมีชื่อ​ จัดประชุมใหญ่วิสามัญ เจ้าของร่วม​ ครั้งที่​ ๑/๒๕๖๒​ เมื่อวันที่​ ๑๗​ มีนาคม​ ๒๕๖๒​ ขอมติที่ประชุมถอดถอน​ แต่งตั้งคณะกรรมการ​ มีผู้จัดการ​ นาย​ "" ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ขาย​ เจ้าของโครงการ​ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี​ ตามข้อบังคับ​ ผู้จัดการ​ นาย​ "" ตกลงว่าจ้าง นิติบุคคลภายนอก​ ซึ่งตนเป็นเจ้าของ​ ทำหน้าที่บริหารทรัพย์ส่วนกลางของโครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "" ตามข้อบังคับ​ เป็นเวลาสองปี​ ต่อมา​ คณะกรรมการมีมติไม่ต่อสัญญาจ้าง​ และให้ที่ประชุมใหญ่ เจ้าของร่วมแต่งตั้งผู้จัดการรายใหม่​ โดยให้อำนาจคณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเป็นการชั่วคราว​ ซึ่งกำหนดต้องจัดให้มีผู้จัดการรายใหม่​ ภายในเก้าสิบวัน​ นับแต่วันที่ครบวาระ​ แต่ผู้จัดการ​ และนิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ รายดังกล่าว​ ไม่ยอมรับการไม่ต่อสัญญาจ้าง​ หรือการเลือกนิติบุคคลของผู้จัดการ​ นาย​ ข​ กลับเข้ามาบริหารทรัพย์ส่วนกลาง​ อีกทั้งผู้ประกอบการ​ เจ้าของโครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "" ไม่ยอมรับผู้จัดการรายอื่นที่มิใช่นาย​ "" อีกทั้งไม่สามารถยอมรับกรรมการ​ ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามข้อบังคับได้​ จึงเลือกใช้วิธี​ "ปั้นเรื่อง​ สร้างเรื่องเป็นตัว" หาเหตุถอดถอนคณะกรรมการ​ ชุดเดิม​ และแต่งตั้งคณะกรรมการ​ ชุดใหม่​ โดยอาศัยคะแนนเสียงของผู้ขาย ผู้ประกอบการ​ จำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งหมด​ จัดการ และดำเนินการเรื่องดังกล่าว

ผู้จัดการ​ นาย​ "" มีวาระคราวละสองปี​ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้จัดการ​ ตั้งแต่วันที่​ ๒๖​ เมษายน​ ๒๕๖๐​ สิ้นสุดวันที่​ ๒๖​ เมษายน​ ๒๕๖๒​ และสัญญาจ้างบริหารทรัพย์ส่วนกลาง​ สอดคล้องกันกับวาระผู้จัดการ​ นาย​ "" ตามข้อบังคับ

ต่อมา​ นาย​ "" ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการกับพนักงานเจ้าหน้าที่​ สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาเมื่อวันที่​ ๓๑​ พฤษภาคม​ ๒๕๖๒​ เจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินดังกล่าว​ อนุมัติจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการให้แก่นาย​ ข​ เมื่อวันที่​ ๑๔​ มิถุนายน​ ๒๕๖๒​ โดยปฏิเสธคำขอจดทะเบียนกรรมการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเป็นการชั่วคราว​ ตามข้อบังคับ​ ตามคำขอ​ หนังสือลงวันที่​ ๒๙​ เมษายน​ ๒๕๖๒​ อ้างว่าพบคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของนาย​ "" ผู้จัดการเมื่อวันที่​ ๑๑​ เมษายน​ ๒๕๖๒​

คำขอจดทะเบียนกรรมการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ​ เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้กรรมการ​ ผู้ขอทราบ​ "ไม่รับจดทะเบียน" ให้อุทธรณ์คำสั่งจดทะเบียนดังกล่าวตามระเบียบราชการต่อไปเมื่อวันที่​ ๑๔​ มิถุนายน​ ๒๕๖๒​ ซึ่งเป็นวันเดียวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดิน​ รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ

"คำถาม​" อาจได้แก่​ เรื่องต่างๆ​ ดังต่อไปนี้

๑.​ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของเจ้าพนักงานที่ดิน​ กับพวก​ ใช้หลักเกณฑ์ใด​ อิงข้อบังคับ​ และกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรือไม่​ หรือ

๒.​ คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของพนักงานเจ้าหน้าที่​ ลงวันที่​ ๓๑​ พฤษภาคม​ ๒๕๖๒​ ชอบ​ หรือไม่ชอบด้วยข้อบังคับ​ และกฎหมาย​ หรือ

๓.​ เหตุใด​ นาย​ "" จึงนำเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ​ ยื่นจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ​ ภายหลังวันครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้จัดการตามข้อบังคับ​ วันที่​ ๒๖​ เมษายน​ ๒๕๖๒​ หรือ

๔.​ คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ​ ลงวันที่​ ๓๑​ พฤษภาคม​ ๒๕๖๒​ "หน้าสอง" จึงระบุข้อความ​ หากเกิดความเสียหายจากการจดทะเบียนดังกล่าวทั้งทางแพ่ง​ และอาญา​ พนักงาน เจ้าหน้าที่ฯ​ มิอาจเกี่ยวข้องกับกรณีจดทะเบียนดังกล่าวใดๆ​ ทั้งสิ้น​ หรือ

๕.​ คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ​ สามารถร้องเพิกถอนต่อศาลได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม​ หลายท่าน​ อ่านบทความของผู้เขียนถึงบรรทัดนี้แล้ว​ อาจเข้าใจการจดทะเบียนดังกล่าวในระดับหนึ่ง​ หรือทราบคำตอบเบื้องต้น​ เกิดจากสาเหตุใด​ แต่หลายท่าน​ อาจไม่ทราบ​ กรณีข้างต้น​ อาจไม่แตกต่างจากบุตรหลาน​ ขับขี่รถยนต์ฝ่าฝืนไฟแดง​ ซึ่งผู้ขับขี่​ ทราบดีว่าเป็นความผิด​ แต่ยังกระทำ​ หรือโจร​ ขโมยลักทรัพย์​ หากเจ้าของทรัพย์​ หรือตำรวจ​ ยังจับตัวไม่ได้​ แล้วยังแอบลักขโมยของ​ หรือทรัพย์สินผู้อื่น​ ครั้งแล้ว​ ครั้งเล่า​ จนเจ้าของทรัพย์ที่ถูกขโมย​ ได้รับความเสียหาย​ ซ้ำแล้ว​ ซ้ำเล่า​ หรือโจร​ ขโมย​ บางราย​ อาจย่ามใจ​ กระทำลักทรัพย์ของผู้อื่น​ รายอื่นต่อไปอีก​ เช่นนี้แล้ว​ การขับรถยนต์ของพลเมืองดี​ ซึ่งเคารพกฎหมาย​ จราจร​ ระมัดระวังตน​ มิให้เกิดความเสียหาย​ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น​ ผู้ใด​ หรือเมื่อตำรวจยัง จับโจร​ ขโมย​ ลักทรัพย์รายดังกล่าว​ ไม่ได้​ ชาวบ้านในละแวก สังคมนั้น​ จะหาทางป้องกันการลักทรัพย์ จากโจร​ ขโมยดังกล่าว​ หรือสังคมการอยู่อาศัยในชุมชนนั้น​ หรือข้างเคียง​ จะเป็นสุข​ สงบเรียบร้อยได้อย่างไร ?