วิวัฒนาการของรัฐเยอรมันนี (1) ‘ปลายยุคหิน ถึง Hanseatic Lea

วิวัฒนาการของรัฐเยอรมันนี (1)  ‘ปลายยุคหิน ถึง Hanseatic Lea

เยอรมันนีดูเหมือนจะไม่ชัดเจนในเชิงของภูมิศาสตร์ เมื่อเทียบกับดินแดนของประเทศอื่นๆ ในยุโรปอย่าง อิตาลี ฝรั่งเศส และ สเปน

แต่เยอรมันนีอาจหมายถึงบริเวณที่มีเขต แดนด้านเหนือจรดทะเลบอลติค ด้านตะวันตกจดแม่น้ำไรน์ และ ด้านใต้จดภูเขาแอลป์และแม่น้ำดานูบ ส่วนด้านตะวันออก ไม่มีเขตแดนธรรมชาติและมีความสับสนเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของยุโรปตลอดมา

Celts เป็นชนเผ่าที่เคยอยู่ในบริเวณเยอรมันนีปัจจุบันในยุคหินช่วงปลายหรือประมาณ 10,000 ปีก่อนและได้อพยพไปทางตะวันตกเข้าไปในฝรั่งเศสปัจจุบันในราว BC หรือ AD เล็กน้อย Celts ได้รับแรงกดดันจากชนเผ่า Germanic ที่ใช้ภาษา Indo-European แขนงหนึ่ง แต่ฝรั่งเศส และสเปนเป็นพวกที่ใช้ภาษาโรมันอันมีพื้นฐานมาจากภาษาละติน

ในราวศตวรรษที่ 2 BC Germanic เริ่มสร้างแรงกดดันต่ออาณาจักรโรมัน ซึ่งก็พยายาม ตีโต้และปราบปราม แต่ก็ไม่อาจทำได้เกินกว่าแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ ในศตวรรษที่ 5 สาขาย่อย ของ Germanic ได้อพยพอย่างขนานใหญ่เข้าไปในฝรั่งเศสและสเปนและกลายเป็นผู้ปกครองของบริ เวณนั้น แต่ในเชิงของวัฒนธรรมถูกหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมโรมันและบริเวณเหล่านี้ก็เจริญกว่า ในขณะที่ Germanic ที่อยู่ในบริเวณเยอรมันนีดั้งเดิมล้าหลังกว่ามาก

157560376545

Hohenzollern Castle

ในประวัติศาตร์ ผู้ที่เคยรวบรวมฝรั่งเศสและเยอรมันนีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แก่ กษัตริย์ Charlemagne (ซึ่งมาจากภาษาละตินที่แปลว่า ชาร์ลส์ผู้ยิ่งใหญ่) และ นโปเลียนเท่านั้น พระองค์ได้รับดินแดน Frankish ตะวันตกจากพระบิดา ซึ่งครอบคลุมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ปัจจุบันขึ้นไปทางเหนือจนถึงเนเธอร์แลนด์ และทางเหนือของเยอรมันนีปัจจุบัน ส่วนของเยอรมันนีตะวันตกเฉียงใต้กับส่วนที่เหลือของเยอรมันนีนั้น พระองค์ได้มาด้วยกำลังทหารซึ่งครอบคลุมไปไกลถึงอิตาลีตอนเหนือและออสเตรีย ในปี ค.ศ.799 พระสันตะปาปา ต้องการความปกป้องจาก Charlemagne พระองค์ก็ยินยอมและได้รับตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็น การตอบแทนที่กรุงโรม

ในรุ่นหลาน อาณาจักรของ Charlemagne หรือเรียกว่า Frankish ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนตามแนวดิ่งคือ ส่วนตะวันตกเป็นฝรั่งเศสปัจจุบัน ส่วนตะวันออกเป็นเยอรมันออสเตรียปัจจุบัน และส่วนกลางคือบริเวณเนเธอร์แลนด์ไล่ลงมาผ่านแคว้น Alsace-Lorraine ลงมาจนถึงสวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลีโดยคร่อมสองฝั่งของแม่น้ำไรน์ เป็นเรื่องน่าแปลกที่ส่วนกลางนี้แหละ เป็นบริเวณที่แย่งชิงกันระหว่างสองฝั่งมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์

ราชวงศ์ที่สืบทอดจาก Charlemagne เรียกว่า Carolingian ในศตวรรษที่ 9-10 ภัยคุกคาม ต่ออาณาจักรนี้มาจากพวกไวกิ้งทางตะวันตกและมาจากพวกแมกยาร์ทางตะวันออก (ฮังการี) ในขณะเดียวกัน ระบบศักดินาที่ใช้กันอยู่อำนวยให้มีการกระจายอำนาจทางทหารและการปกครอง ดังนั้น ความจำเป็นที่จะต้องมีกำลังทหารไว้ปกป้องจากภัยคุกคาม จึงทำให้มีแนวโน้มสูงที่ศักดินาของพื้นที่ใหญ่ ๆ มีความเข้มแข็งถึงขนาดที่สามารถท้าทายอำนาจของกษัตริย์ได้ ในค.ศ.911 กษัตริย์ Frank ตะวันออกสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาท ชาวแฟรงค์ตะวันออกและแซกซอนต่างเลือก Conrad ให้เป็นกษัตริย์ทั้งๆ ที่รัชทายาทอันชอบธรรมคือ กษัตริย์แห่ง Frank ตะวันตก แต่ Conrad ก็ยังคงเป็นชาวแฟรงค์ ที่สำคัญคือ กษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ Henry I เป็นชาวแซกซอน (Saxon) มีอำนาจปกครองเหนือ Frank ในส่วนของตน ดินแดนที่อยู่ใน Frank ตะวันออกมีด้วยกัน 5 แห่งคือ Franconia Bavaria Swabia Saxony และ Lorraine อันเป็นดินแดนที่พิพาทระหว่าง Frank ตะวันออกกับตะวันตกอยู่เนือง ๆ Henry I ยังยึดฮังการีได้จาก Magyars และ Lombard จากอิตาลี และได้รับตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Charlemagne เรียกว่า Otto I ซึ่งถือว่าเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเยอรมันตั้งแต่นั้นมา พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่แม้แต่การปลด หรือแต่งตั้งพระสันตะปาปา

ตราบถึงค.ศ.1125 กษัตริย์ Henry V สิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาท พระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดได้แก่ตระกูล Welfs และ Hohenstaufen Frederick I ซึ่งมีเชื้อสายทั้งสอง ตระกูลได้ครองราชย์สืบต่อมาใน ค.ศ.1152

ข้อเสียของระบบศักดินาคือ ตัวอาณาจักรเป็นผลจากการรวมพันธมิตรของขุนนางผู้ครอง ดินแดนต่าง ๆ จำนวนมากที่มีสิทธิในการเลือกกษัตริย์ตามประเพณี แม้ว่ากษัตริย์จะถูกจำกัดว่า ต้องมาจากราชวงศ์เดียวกันก็ตาม อีกทั้ง Otto I ยังได้ทรงกำหนดไว้ด้วยว่า กษัตริย์เยอรมันจะต้องเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย ผู้ครองดินแดนมีทั้งราชวงศ์ ขุนนาง ผู้ดี ไปจนถึงพระหรือเจ้าหน้าที่ของคริสตจักรและมีเป็นจำนวนมาก ตำแหน่งกษัตริย์ จึงเป็นสิ่งที่ได้มาโดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับบุคคลเหล่านี้โดยที่ไม่ได้มีอำนาจใดๆ ในความเป็นจริง ลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องที่แตกต่างกับประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส สเปน และ อังกฤษในยุโรปตะวันตก โดยสิ้นเชิง ที่มีการรวมศูนย์อำนาจอย่างชัดเจน

แม้ว่ากษัตริย์เยอรมันจะไม่มีอำนาจ แต่ประชาชนชาวเยอรมันกลับประสบความสำเร็จในการ ขยายอาณาจักรผ่านเครือข่ายการค้าในเมืองต่าง ๆ ที่เรียกว่า Hanseatic Towns เมืองงเหล่านี้เกิดขึ้น ทั้งจากการตั้งรกรากหักร้างถางพงในดินแดนที่ห่างไกลและไม่มีผู้คนอาศัยอยู่และจากการค้าขายกับเมืองต่าง ๆ รอบ ๆ ทะเลบอลติค ดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่ได้แก่ดินแดนของพวกปรัสเซีย (Prussia) กับสลาฟ (Slav) ลักษณะนี้หมายความว่า จำนวนผู้ครองดินแดนจะมีมากขึ้น เช่น Swabia ครอบครอง Switzerland และ Bavaria ครอบครอง Austria เป็นต้น

ในปี 1159 Lubeck ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าในทะเลบอลติค ส่วน Hamburg เป็นศูนย์กลางการค้าในทะเลเหนือ การค้าที่เกิดขึ้นติดต่อกับเมืองต่าง ๆ รอบ ๆ ทะเลบอลติคและ ทะเลเหนือ ตลอดจนเมืองไกล ๆ ที่อยู่ในสเปนและไอซ์แลนด์รวมกว่า 100 เมืองและทั้งหมดถูกควบคุม โดยชาวเยอรมันที่จะมีการตั้งสมาคมการค้าตามเมืองสำคัญ ๆ ด้วย เช่น Gdansk (โปแลนด์) Riga (Latvia) Novgorod (รัสเซีย) Stockholm (สวีเดน) สำหรับทะเลบอลติก Bergen และ Bremen สำหรับทะเลเหนือ Cologne Bruges และ London สำหรับทางตะวันตก การจัดตั้งสมาคมการค้า มีความจำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัยของเรือ จัดสร้างประภาคารและอบรมกลาสีเรือ ในศตวรรษที่ 14 การค้าซบเซาลงจากภาวะเศรษฐกิจและการควบคุมของประเทศชายฝั่ง เช่น สวีเดนยึด Stockholm โปแลนด์ยึด Gdansk และ รัสเซียยึด Novgorod

ในปีค.ศ.1225 Teutonic Knights หรืออัศวินเยอรมันรับจ้างเจ้าชายของโปแลนด์จัดการกับ พวกนอกรีดชาวปรัสเซียและได้รับดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ Vistula เป็นการตอบแทนแต่พวก อัศวินไม่ยอมหยุด รุกต่อไปเรื่อย ๆ ตามชายฝั่งทะเลบอลติกจนถึงแม่น้ำ Neman ในลิทัวเนียโดยใช้ เวลา 30 ปีและทำการปราบปรามพวกปรัสเซียที่แข็งข้ออีก 20 ปี โดยให้ชาวเยอรมันที่ยากจน มาตั้งถิ่นฐานแทน นอกจากนี้ยังยึด Gdansk และผนวกดินแดนทางตะวันตกที่ถัดไปที่เรียกว่า Pomerania จนทำให้โปแลนด์ไม่มีทางออกทะเลเลย พวกเขาสามารถยึดครองได้นานประมาณ 1 ศตวรรษจนกระทั่งโปแลนด์มาตีคืนได้ใน ค.ศ.1410 แต่ปรัสเซียยังคงตั้งรกรากอย่างหนาแน่นโดย ชาวเยอรมัน ในค.ศ.1525 หัวหน้าอัศวินยุบเลิกอัศวิน แต่ตนเองคงเป็นผู้ครองดินแดนปรัสเซียที่ขึ้น อยู่กับกษัตริย์โปแลนด์โดยที่สิทธินี้สืบทอดให้ลูกหลานได้ หัวหน้าอัศวินผู้นี้อยู่ในตระกูล Hohenzollern ที่จะครองทั้งเยอรมันในภายหลัง

ในค.ศ.1254 การสิ้นพระชนม์ของ Frederick II ตามมาด้วยความไม่แน่นอนของผู้ดำรง ตำแหน่งพระสันตะปาปาจนกระทั่งต้องเสด็จประทับที่ Avignon ของฝรั่งเศสและทำให้เกิดมีพระสันตะ ปาปาหลายพระองค์ในภายหลัง ในขณะเดียวกัน เจ้าชายเยอรมันทั้งหลายก็ไม่สามารถเลือกกษัตริย์ เยอรมันได้จนกระทั่ง ค.ศ.1273 จึงเลือกได้ Rudolf I แห่งราชวงศ์ Habsburg ของออสเตรีย แต่ก็ไม่อาจมีอำนาจจริง ในค.ศ.1346 Charles IV แห่งราชวงศ์ Luxembourg ได้รับเลือก พระองค์ทรงสั่งการให้มีพระสันตะปาปาเพียงพระองค์เดียวทันทีและไม่ให้พระสันตะปาปามีส่วนในการเลือกพระจักรพรรดิ พระองค์ยังทรงกำหนดให้มีผู้เลือกตั้งกษัตริย์เยอรมันเพียง 7 คน แต่คุณสมบัติ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ผู้เลือกตั้ง 7 คนประกอบด้วย Archbishop 3 องค์จาก Mainz Cologne กับ Trier และ ผู้ครองดินแดนที่สืบเชื้อสายมา 4 คน ได้แก่ Palatine of Rhine Duke of Saxony Margrave of Brandenberg หลักการทั้งหมดนี้เรียกว่า Golden Bull of 1356

ในช่วงศตวรรษที่ 12-15 โครงสร้างทางการเมืองที่แตกแยกของเยอรมันนีเป็นประโยชน์ต่อ เมืองชั้นนำต่าง ๆ กล่าวคือ เมืองพวกนี้ได้รับสิทธิโดยตรงจากจักรพรรดิ ในขณะที่เมืองร่ำรวยอาจช่วย เหลือจักรพรรดิในเรื่องกองทัพได้ บางครั้งเมืองอาจจะรวมตัวกันเองเพื่อประโยชน์ของตนเอง เมืองต่าง ๆ อาจจะมีสภาท้องถิ่น แต่สมาชิกสภาก็มาจากครอบครัวที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ตัวอย่างของกลุ่มเมือง ที่ต่อรองเพื่อผลประโยชน์ได้แก่ Hanseatic League เอกสารปี ค.ศ. 1422 ได้เขียนรายชื่อเมืองอิสระ ที่สำคัญในเยอรมันที่มีถึง 75 เมืองด้วยกัน เช่น Aachen, Cologne, Lübeck, Hamburg, Bremen, Dortmund, Frankfurt am Main, Roggenburg, Augsburg, Nuremburg และ Ulm ตั้งแต่ ค.ศ.1489 เมืองอิสระเหล่านี้ล้วนมีผู้แทนอยู่ในสภา หรือ Reichstag ทั้งสิ้น

ในยุโรปตะวันตก Reichstag มีความหมายใกล้เคียงกับ Royal Council หรือคณะองคมนตรี ซึ่งทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาหรือเดินทางไปกับกษัตริย์ ในช่วงแรกอาจจะประกอบด้วยราชวงศ์หรือ บาทหลวง แต่ค่อย ๆ ขยายไปยังผู้ดีศักดินาที่ด้อยกว่า และ ในท้ายที่สุดก็รวมเอาเมืองใหญ่ ๆ หรือสำคัญ ๆ ที่เรียกว่า Imperial Cities หรืออาจแปลเป็นไทยว่า “เมืองหลวง” การปฏิรูปใน ค.ศ.1489 แบ่งองคมนตรีออกเป็น 3 คณะคือ คณะแรก 7 คนไว้เลือกพระจักรพรรดิ คณะที่สองประกอบ ด้วยราชวงศ์ที่สืบทอดตามรัชทายาท 61 คน และบาทหลวงอีก 33 คน คณะที่สามประกอบ ด้วยเมืองจากบริเวณแม่น้ำไรน์ 14 คน และอีก 37 คนจากแคว้น Swabia ประชุมของแต่ละคณะ จะมีมติที่อิสระซึ่งกันและกัน พระจักรพรรดิจะรับฟังหรือไม่เพียงใดอยู่ที่พระองค์ต้องการอะไรตอบแทน จากคณะนั้น ๆหรือไม่