สิงคโปร์ต้องการเป็นฮับ “ธนาคารเสมือน”แห่งเอเซีย

สิงคโปร์ต้องการเป็นฮับ “ธนาคารเสมือน”แห่งเอเซีย

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีบทความลงเว็บไซต์บลูมเบิร์ก โดยตั้งชื่อว่า “Singapore Wants to Become an Asian Hub for Virtual Banks” 

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงปฏิเสธไม่ได้ ถึงการปรับตัวครั้งใหญ่ในวงการธนาคาร อันสืบเนื่องมาจาก การถูกดิสรัปชั่น ด้วยเทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล นั่นก็คือ การมาของ ธนาคารเสมือน (Virtual Banks) ซึ่งในยุคแรก ก็คือธนาคารที่ให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น แอพ เว็บไซต์ หรือช่องทางอื่นๆ ที่สามารถทดแทนสาขาที่มีอยู่จริง ของธนาคารแบบดั้งเดิม

ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร การลดจำนวนสาขาของธนาคาร และกระทั่งการลดจำนวนพนักงาน เพราะผู้บริโภคในยุคดิจิทัล หันมาใช้ช่องทางของ Virtual Banks มากขึ้น

อย่างไรก็ดี บทความล่าสุดของบลูมเบิร์ก ได้รายงานว่า กรรมการผู้จัดการของ ธนาคารกลางแห่งชาติสิงคโปร์ ได้กำหนด เป้าหมาย ให้ สิงค์โปร์ เป็นศูนย์กลาง Virtual Banks ของ ภาคพื้นเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับหลากหลายธุรกิจที่ได้ถูกดิสรัปชั่น ด้วยเทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล เช่น ธุรกิจสื่อ ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ฯลฯ สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกต คือธุรกิจดิจิทัลที่เข้ามาแทนที่ ไม่จำเป็นต้องให้บริการจากในประเทศไทย

ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจสื่อ ธุรกิจโฆษณา หรือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในยุคดิจิทัล สามารถให้บริการมาจากต่างประเทศได้ทั้งสิ้น โดยเกือบจะไม่ต้องมีตัวตนในประเทศไทย หรืออยู่ภายใต้กฎหมาย และ ภาษีของไทยเลย กรณีดังกล่าว จึงเกิดเป็นการขาดดุลการค้า และเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ และความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไปในอนาคต

ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะธุรกิจดิจิทัลในประเทศ ยังขาดความแข่งแกร่งที่จะสามารถต่อสู้กับธุรกิจดิจิทัลข้ามชาติได้ ผู้บริโภคของไทย จึงได้เลือกใช้บริการของธุรกิจข้ามชาติเหล่านี้ แทนที่จะเลือกใช้บริการของธุรกิจในประเทศ และก็ยังมีปัจจัยสำคัญ ที่กรรมการผู้จัดการของ ธนาคารกลางแห่งชาติสิงคโปร์ ได้กล่าวถึง ที่จะเพิ่มความแข่งแกร่งให้กับธุรกิจธนาคารของประเทศสิงค์โปร์ นั่นก็คือ การพัฒนาสิงค์โปร์ ให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค สำหรับธุรกิจเทคโนโลยี ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

โดย กรรมการผู้จัดการ ได้กล่าวถึง การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น การอนุมัติเงินกู้ ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่ยาก สำหรับธนาคารแบบดั้งเดิม

ดั้งนั้น สิ่งที่สิงค์โปร์ต้องการ คือฐานข้อมูลของลูกค้า ที่ยิ่งใหญ่มหาศาล (Big Data) และ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientists) ที่มีคุณภาพ ซึ่งทั้งสองสิ่ง สิงค์โปร์ มีอยู่เหนือประเทศไทยอย่างแน่นอน ดังนั้น สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการ ย่อมต้องรู้ดีว่า ระบบคอมพิวเตอร์ในคลาวด์ และ ศูนย์ข้อมูล ที่มีขนาดใหญ่ ที่ธุรกิจของไทย ซึ่งรวมถึงธนาคารในประเทศ มีการใช้งานสูงสุด อาจหนีไม่พ้น ที่มีอยู่ในสิงคโปร์ และมีความเป็นไปได้สูง ที่ข้อมูลของคนไทย ที่มีอยู่ใน ระบบคอมพิวเตอร์ในคลาวด์ และ ศูนย์ข้อมูล ของสิงคโปร์ อาจมีมากกว่าที่อยู่ในประเทศก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี การที่ ธุรกิจธนาคารของไทย จะถูกดิสรัปชั่น โดย Virtual Banks ข้ามชาติจากสิงคโปร์ อาจยังไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้ถูกดิสรัปชั่นไปแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะ ธุรกิจธนาคาร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวด จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

แต่สิ่งที่อดถามไม่ได้ คือ เมื่อไหร่ธุรกิจดิจิทัลของไทย จะสามารถอยู่ในฐานะ ของการบุกตลาดประเทศของอื่น แทนที่จะเป็นการเล่นเกมส์ตั้งรับ ทั้งที่ๆ ประเทศไทย มีผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงระบบดิจิทัล ได้มากกว่าสิงค์โปร์ อย่างน้อยราว 10 เท่า