ไตรมาส 4 ซึมยาว หรือยังมีโอกาส

ไตรมาส 4  ซึมยาว หรือยังมีโอกาส

ล่วงเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ KTBST แนะนำมาตลอดว่า

ตลาดมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การจับจังหวะลงทุนจึงค่อนข้างยาก ขณะที่แนวโน้มทิศทางของสินทรัพย์เริ่มถูกมองว่าต้องระมัดระวังในการลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยในเดือนที่ ก.. ที่ผ่านมา KTBST ยังกลยุทธ์ลงทุนแบบระมัดระวัง พร้อมการหาจังหวะลงทุนในกลุ่มที่ยังสามารถให้ผลตอบแทนในระยะสั้นได้ ในเดือน ต.. และเข้าสู่ไตรมาสที่ 4 แนวโน้มตลาดและปัจจัยเสี่ยงต่อสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ จะเป็นอย่างไรต่อ ตลาดจะอยู่ในภาวะซึมยาว หรือยังมีโอกาส เห็นสินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับขึ้นบ้าง

ในช่วงเดือน ก.. เราได้เห็นนักลงทุนปรับพอร์ตโยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น อาทิ ทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์และตราสารหนี้ภาครัฐ ขณะที่ปัจจัยที่กดดันตลาดเริ่มมีเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากเดิมคือสงครามการค้าของสหรัฐฯกับจีนแล้ว ยังมีประเด็นเรื่อง

1.) เศรษฐกิจของโลกที่เริ่มชะลอลงอย่างชัดเจน เพราะผลกระทบการเก็บภาษีนำเข้าของทั้งสหรัฐฯและจีน ที่มีผลบังคับใช้ไปจนครบแล้ว ดูได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ปรับตัวลงที่สะท้อนว่าภาคการผลิตต่างๆ ได้รับผลกระทบ นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดว่าการเจรจากันในวันที่ 10-11 .. นี้ ไม่น่าจะตกลงกันอีกเช่นเคย ถึงแม้ว่าจะตกลงกันได้ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงบางเรื่องเท่านั้น ซึ่งทำให้ความขัดแย้งของจีนกับสหรัฐฯอาจยืดเยื้อต่อไป

2.) ประเด็นระหว่างสหรัฐฯกับยุโรปกรณีที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปอุดหนุนบริษัท Airbus นำมาซึ่งการฟ้องร้องและ WTO ตัดสินให้สหรัฐฯ สามารถเรียกเก็บภาษีจากยุโรปได้ จำนวน 7.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทางยุโรปเตรียมตอบโต้เช่นกัน ถือเป็นอีกประเด็นที่น่าจับตามอง หากมีสหรัฐฯเก็บภาษีจากยุโรปจริง จะมีผลทำให้เศรษฐกิจยุโรปซึ่งเปราะบางอยู่แล้วได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น

3.) สภาพคล่อง (Liquidity) ของตลาดเงินที่ลดลง จากการที่ธนาคารต่าง ๆ ทั่วโลก มีความระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นระหว่างธนาคารด้วยกันเองส่งผลให้การลงทุนและการปล่อยกู้ชะลอลง สถาบันการเงินต่างๆ เริ่มถือเงินสดและสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตรและทองคำเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นธนาคารกลางสหรัฐฯและยุโรป ต้องลดดอกเบี้ยและอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องจับตาดูว่า หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนรวมไปถึงกับยุโรป ยืดเยื้อหรือรุนแรงขึ้น แน่นอนว่าจะกระทบสภาพคล่องมากขึ้น จนธนาคารกลางประเทศต่างๆ จะต้องอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องอีก

นอกจากนี้อาจมีประเด็นที่กลับมามีต่อตลาดเป็นระยะ ได้แก่ ผลกระทบจากการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) และ ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ในตะวันออกกลางที่จะมีผลต่อราคาน้ำมัน รวมไปถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3 ของทั่วโลก

ด้วยภาพรวมเช่นนี้ KTBST มีมุมมองการลงทุน ในไตรมาส 4 ว่า ในช่วงเดือนตุลาคม ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก น่าจะซึมต่อเนื่องและเคลื่อนไหวในลักษณะทรงตัวในขาลง (Side way down) หากปัจจัยลบต่าง ๆ ยังไม่คลี่คลาย และมีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้ประเทศอื่นรวมทั้งไทยลดดอกเบี้ยตามไปด้วย ซึ่งหากมีการปรับลดดอกเบี้ย มากกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 0.25% อาจทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นและอาจเห็นการเทขายทำกำไร เนื่องจากสงครามการค้านั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ และจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนยังคงกังวลและไม่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติมในช่วงนี้

ดังนั้น พอร์ตการลงทุนที่ผมอยากแนะนำเพื่อเป็นโอกาสในการหาจังหวะเข้าลงทุน ช่วงที่ตลาดมีความผันผวนจากปัจจัยลบ และมีลักษณะการลงทุนแบบระมัดระวัง (Conservative) ต่อเนื่อง แต่หากราคาในบางสินทรัพย์ปรับลดลงมาก ก็น่าจะเป็นจังหวะเข้าทยอยสะสม โดยแนะนำพอร์ตการลงทุนดังนี้ครับ

157103757952

ฝากทิ้งท้ายสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ไตรมาสสุดท้ายนี้ นักลงทุนต้องระมัดระวังและใช้ความรอบคอบ รอจังหวะลงทุนหรือเลือกแบ่งเงินลงทุนในหลายๆสินทรัพย์ตามที่แนะนำไปข้างต้นเพื่อกระจายความเสี่ยงและติดตามข่าวสารให้รอบด้านนะครับ