อัตราแลกเปลี่ยนไม่สะท้อนดุลชำระเงิน?

อัตราแลกเปลี่ยนไม่สะท้อนดุลชำระเงิน?

ผู้ที่ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์มักมีหรือพบคำวิจารณ์เสมอๆ ว่า พฤติกรรมของอัตราแลกเปลี่ยน ไม่สอดคล้องกับตำราสักเท่าไหร่ นั่นก็อาจเป็นความจริง

แต่ว่านั่นก็เป็นเพราะสิ่งที่อยู่ในตำราอยู่ภายใต้ ข้อสมมติฐานที่ง่ายเกินไป บทความนี้จะกล่าวถึงสถานการณ์ที่อาจแตกต่างออกไปดังนี้ 

157076199172

157076203962

157076209816

รูปที่ 1 แสดงปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในไทยในแต่ละปี รูปที่ 2 แสดงดุลชำระเงินของไทยในแต่ละปี รูปที่ 3 แสดงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เมื่อพิจารณารูปที่ 1 และ 2 แล้วจะเห็นได้ว่า ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศก็ดี ดุลชำระเงินก็ดี ไม่สะท้อนออกมาในค่าเงินบาทที่ควรจะสูงขึ้นในรูปที่ 3 เหตุผลอย่างหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังก็คือ การแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยการซื้อเงินตราต่างประเทศและการขายเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอยู่ระหว่าง 30-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ดังนั้น การที่ภาคธุรกิจตำหนิธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เสมอว่า ไม่ได้ทำอะไรกับค่าเงินบาทเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ส่งออกจึงไม่ใช่ เรื่องจริง นี่อาจจะเป็นข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งที่ใช้โต้แย้งได้ 

157076201087

1570762060100 รูปที่ 4 แสดงดุลชำระเงินของสหรัฐในแต่ละปีและรูปที่ 5 แสดงค่าเงินดอลลาร์ที่ถ่วงน้ำหนักตามปริมาณการค้าที่มีกับแต่ละประเทศแล้ว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบรูปทั้งสองแล้ว ก็มองไม่เห็นชัดเจนว่าค่าเงินดอลลาร์จะมีความสัมพันธ์กับดุลชำระเงินของสหรัฐอย่างไร นอกเสียจากว่าค่าเงินดอลลาร์ตกต่ำลงในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาอย่างชัด เจน 

ค่าเงินดอลลาร์ที่สูงหรือต่ำ อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบการค้าระหว่างสหรัฐกับประ เทศอื่นๆ แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยที่กำหนดดุลชำระเงินโดยรวม ค่าเงินดอลลาร์ที่สูงจะส่งผลในทางลบต่อการไหลของเงินทุนระหว่างประเทศจากสหรัฐและลดการลงทุนในเศรษฐกิจจริงของประเทศเกิดใหม่ (Avdjiev, S., V. Bruno, C. Koch and H.S. Shin, 2018) 

ในส่วนของไทยนั้น จะเห็นได้จากรูปที่ 1 ว่า ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามีเพียงประมาณ 10% ของยอดรวมเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการไหลเข้าออกของเงินทุน ส่วนนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคอยดูแล เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง/การค้าระหว่างประเทศ

ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศนั้น Boz, Gopinath, and Plagborg-Møller 2017 พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการค้าของสหรัฐกับประเทศคู่ค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อปริมาณการค้าของโลก กล่าวคือค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้น 1% จะลดปริมาณการค้าโลกลง 0.6-0.8% นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณสินค้า ระหว่างประเทศคู่ค้า(ที่ไม่ใช่สหรัฐ)ที่ซื้อขายกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินประเทศคู่ค้าทั้งสอง แต่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการค้าของแต่ละประเทศคู่ค้าที่ตั้งราคาสินค้าไว้เป็นเงิน ดอลลาร์สหรัฐ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศคู่ค้าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากค่าเงินดอลลาร์มากเมื่อสัดส่วนการค้าของประเทศคู่ค้าใช้สกุลเงินดอลลาร์ตั้งราคาสินค้าในสัดส่วนที่สูง แต่จะเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินของประเทศคู่ค้าน้อยมาก

รายงานของ Bank of International Settlement ปี 2016 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุด บอกว่า 80% ของปริมาณการค้าทั่วโลก ตั้งราคาในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้น การอ้างว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐส่งผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยจึงไม่เป็นความจริง และภาคธุรกิจก็ไม่ควรจะใช้ค่าเงินบาทเป็นข้ออ้าง ในการขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำเงินบาทให้อ่อน

ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการซื้อขายเงินต่างประเทศ ดุลชำระเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่นำมาใช้ ในรูปที่ 1-5 นั้น อยู่ในลักษณะของข้อมูลรายปี การดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามข้างต้น ยังมีพื้นที่ให้ศึกษาได้อย่างกว้างขวางทั้งรายไตรมาส รายเดือนหรือแม้แต่รายวัน ซึ่งน่าจะแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่เท่าที่ค้นหาจากองค์กรระดับโลกทั้งหลาย ก็ยังไม่พบข้อมูล ละเอียดเช่นนั้นที่จะอำนวยให้ทำการศึกษาได้