การทูตเชิงเศรษฐกิจ จุดเปลี่ยนความสัมพันธ์ไทย-ยุโรป

การทูตเชิงเศรษฐกิจ จุดเปลี่ยนความสัมพันธ์ไทย-ยุโรป

ไทยและสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นพันธมิตรกันมานาน ที่ผ่านมาอียูมักมีบทบาทให้ความช่วยเหลือผ่านการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

โดยและมองไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่อียูได้ประโยชน์ผ่านการ “ให้ความช่วยเหลือ” ในหลายรูปแบบต่างๆ และไทยก็ดูเคยชินกับการเป็นฝ่าย “รับ” มาเสียนาน

แต่ในโลกที่เปลี่ยนไป ระบบเศรษฐกิจยุคปัจจุบันที่พลวัตรทางเศรษฐกิจมาอยู่ที่เอเชียพร้อมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนและอินเดียในภูมิภาค วันที่พูดจึงจีนและอินเดียไม่พอ ต้องกล่าวถึงบทบาทของเพื่อนบ้านใกล้ๆ อย่างเวียดนามรวมไว้ในพลวัตรใหม่ด้วย ทำให้ภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยถูกมองกลายเป็น “คู่แข่ง” ของยุโรป และเป็นภูมิภาคที่อียูต้องการเข้ามาเปิดตลาดเพื่อหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของตนในเวทีโลก

ความสัมพันธ์ไทยกับอียูในยุคนี้ คงต้องเรียกว่า หมดยุคการให้ความช่วยเหลือแบบ ให้เปล่าผ่าน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาหรือ “Development Cooperation” ไปนานแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการดำเนิน นโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจแบบมีข้อกำหนดและมีข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจ แบบต่างตอบแทน ในลักษณะพันธมิตรที่มีความเท่าเทียม

อียูดำเนินนโยบายการทูตที่เน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เน้นการเปิดตลาดเอเชียสำหรับภาคธุรกิจยุโรป และหลังๆ นำประเด็นเรื่องการเมืองและสังคม ซึ่งเป็นอุดมการณ์หลักของยุโรปมาเป็นข้อแม้หรือข้อกำหนดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

ยุทธศาสตร์และนโยบายของยุโรปต่อเอเชีย รวมทั้งไทย ได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับกับแนวคิดการทูตเชิงเศรษฐกิจนี้มานานเป็นสิบปี แต่ที่ตั้งข้อสังเกตคือฝ่ายไทย ทั้งนักการเมืองและผู้กำหนดนโยบายไทยปรับเปลี่ยนทัศนะคติจากการ ขอความช่วยเหลือจากยุโรป มาเป็นการทูตเชิงเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน

ที่น่ากังวลคือ คู่แข่งอย่างเวียดนาม ที่ส่งออกสินค้าประเภทใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร ได้เจรจาเขตการค้าเสรีหรือเอฟ ทีเอ กับอียูสำเร็จไปหลายปีแล้ว และจะส่งผลให้เวียดนามได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีผ่าน FTA กับอียู ยิ่งส่งผลให้ระดับความสามารถในการแข่งขันและราคาของสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในไทยเมื่อเทียบกับเวียดนามที่มี FTA ไทยคงสู้เวียดนามไม่ได้อีกต่อไป

สถานการณ์ข้างต้นนี้ คาดว่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่แนวหน้าของไทย (อย่าง CP และบริษัทใหญ่อื่นๆ ) มากนัก เพราะธุรกิจใหญ่ๆ เขาได้กลายเป็นนักลงทุนและย้ายฐานการผลิตสินค้าหลายประเภทออกจากประเทศไทย (รวมทั้งสินค้าเกษตรและอาหารหลายประเภท อาทิ กุ้งด้วย) ไปลงทุนการผลิตอยู่ในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ค่าแรงต่ำว่า มีทรัพยากรมากกกว่า และที่สำคัญได้สิทธิพิเศษทางภาษี GPS หรือ FTA เพื่อส่งออกไปอียู

ที่เหลือให้น่าเป็นห่วงคือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรการ แรงงานหลายล้านคนในไทยที่เป็นหนึ่งของระบบธุรกิจ supply chain หากธุรกิจใหญ่ๆ ถอนการลงทุนภาคการผลิตออกไปจากประเทศไทยไปผลิตในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคทีละสาขาสองสาขา ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยใหม่ๆ ที่มองหาโอกาสในการทำธุรกิจกับอียูก็จะทำได้ยากขึ้น

ไทยคงต้องมีการทบทวนบทบาทใหม่ของไทยในภูมิภาคให้ดีว่าจุดแข็งในการดำเนินการค้าและเศรษฐกิจกับอียูไว้ได้อย่างไร และมีอะไรไปแลกเปลี่ยนกับอียูได้บ้าง แบบพันธมิตรที่เท่าเทียม

[ดร. อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.eu หรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd ]