ลงทุนอย่างไรดี เมื่อแรงซื้อต่างชาติลด

ลงทุนอย่างไรดี เมื่อแรงซื้อต่างชาติลด

ทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดในระยะนี้ ถือว่ายังไม่สดใสนัก ตลาดหุ้นมีปรับตัวลงอย่างรุนแรงในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ด้วยปัจจัยหลักคือ สงครามการค้าที่รุนแรง โดยตลาดหุ้นไทยร่วงลงจากระดับ 1,700 จุด เป็นมุมมองที่ KTBST เราได้ประเมินและแนะนำไว้ในตอนก่อนหน้านี้แล้วว่าตลาดจะผันผวนมากและควรพิจารณาลดความเสี่ยงในการลงทุน  ซึ่งประเด็นเรื่องสงครามการค้าที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้ข้อตกลงกันเมื่อไร แต่กลับหนักขึ้นๆ ส่งผลให้ตลาดยังเผชิญกับความผันผวนและมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเกิดการถดถอยอย่างจริงในช่วงใกล้นี้

ทั้งนี้ช่วงเดือน ส.ค. ตลาดทั่วโลกปรับตัวลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี Dow jones  ที่ลดลง -0.68 %  ดัชนีS&P500  -0.92 %  ส่วนตลาดยุโรป ดัชนี EURO STOXX  ลดลง  -2.14% ด้านเอเชียดัชนี NIKKEI -3.96 %  ตลาดหุ้นจีนดัชนีCSI300 -0.1%  ส่วนตลาดหุ้นไทยลดลงตามตลาดโลก  -2.67 % (bloomberg 31 ส.ค.)

แต่เมื่อพิจารณาดูตลอด 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) พบว่าตลาดยังคงให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกอยู่ โดย ดัชนี Dow jones  +11.02% ขณะที่ดัชนีS&P500 +14.82%  ส่วนตลาดยุโรปดัชนี EURO STOXX +9.89% ดัชนี NIKKEI ยังบวกได้ +2.2%  ดัชนี CSI300 ของจีนยังบวกได้ถึง +26.78% ส่วน SET Index ให้ผลตอบแทนบวกได้ที่ +3.51% (bloomberg 27 ส.ค.) 

เรียกได้ว่าภาพรวมของผลตอบแทนตลาดโลกยังไม่แย่ลงนักท่ามกลางปัจจัยกดดันอย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ถือว่าเป็นภาพบวกสำหรับการลงทุนแต่อย่างใดหากพิจารณาถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 แล้วพบว่า ลดลงเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ลดลงด้วย เราจึงเห็นการปรับพอร์ตของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง และด้วยความรุนแรงของสงครามการค้าที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้ ทำให้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะมีมากขึ้นในช่วงประมาณ 9-12 เดือนต่อจากนี้ อีกทั้งความรุนแรงของการประท้วงในฮ่องกง ส่งผลต่อบรรยากาศของการลงทุนในเอเชียและภูมิภาคอื่นอีกด้วย ดังนั้นเราจึงเห็นนักลงทุนย้ายเงินไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ซึ่งขยับตัวขึ้นมาเคลื่อนไหวที่ระดับ 1,550 เหรียญฯ และตลาดหุ้นไทยเองนักลงทุนต่างชาติก็ลดน้ำหนักการลงทุนลงด้วยเช่นกันในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ดังนั้นด้วยปัจจัยสำคัญๆดังกล่าว ผมมองว่าตลาดในเดือนกันยายน มีทิศทางที่ปรับตัวลงต่อ แต่ไม่มากเหมือนเช่นเดือนที่ผ่านมา เนื่องด้วยมีปัจจัยที่เข้ามาหนุน จากมาตรการทางการคลังของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทั้ง สหรัฐฯ , ยุโรป , จีน , อินเดีย รวมทั้งของไทยด้วย  นอกจากนั้นหากมีปัจจัยบวกจากการเจรจาของสหรัฐฯกับจีนเรื่องการค้าก็จะทำให้ตลาดกลับมาอยู่ในทิศทางบวกได้

ตลาดหุ้นอาจผันผวนและปรับตัวลงอีกได้ เนื่องจากต่างชาติยังไม่ได้กลับเข้ามาซื้อหุ้นอย่างจิงจัง ดังนั้น ขอแนะนำว่าใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ไม่ต้องรีบเข้าซื้อ อาจพิจารณาหาจังหวะทยอยซื้อสะสม 3-5 ครั้งเป็นอย่างน้อย จนกว่าปัจจัยต่างๆจะคลี่คลายในทางบวก โดยสินทรัพย์เสี่ยงต่ำเช่น ทองคำ , ตราสารหนี้ระยะสั้น รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ประเภท รีท ที่จ่ายปันผลสูง ยังน่าสนใจสำหรับการเข้าลงทุนในระยะนี้

แต่ด้วยสภาพตลาดแบบนี้ การจัดพอร์ตลงทุนยังคงเป็นเรื่องจำเป็นนะครับ  KTBST ยังมองว่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาอาจปรับตัวลงมาแต่ยังมีความสามารถในการเติบโตอยู่ เราหาจังหวะลงทุนได้ด้วยหลักการลงทุนแบบ Growth At a Reasonable Price (GARP) หรือ “การเลือกลงทุนให้ที่เติบโตด้วยระดับราคาที่เหมาะสม” (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktbst.co.th/th/knowledge-detail.php?id=201)

ดังนั้นความเสี่ยงและผันผวนที่สูง ผมขอแนะนำพอร์ตลงทุนในช่วงสั้นๆ ไว้ก่อนดังนี้ เพื่อรอดูทิศทางตลาด หากตัวแปรต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง เราค่อยมาปรับกลยุทธ์การลงทุนกันใหม่อีกรอบครับ ...

ช่วงนี้นักลงทุนอาจต้องติดตามข่าวสารการลงทุนกันมากหน่อยนะครับ และควรลงทุนด้วยความระมัดระวังนะครับ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนสามารถติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST ได้ที่ “มุมมองความรู้” ทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th หรือ และทางwww.facebook.com/ktbst.th หรือสามารถขอคำปรึกษาการลงทุนได้ที่ KTBST 02-648-111