ควันหลงจากความรุนแรงในสถานพยาบาลรัฐ

ควันหลงจากความรุนแรงในสถานพยาบาลรัฐ

มีคำถามว่า ถ้าความรุนแรงที่เกิดในสถานพยาบาลรัฐบ้านเรายังเกิดขึ้นต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

 แล้วจะเกิดเหตุการณ์ประท้วงหรือถึงขั้นลาออกของแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์สถานพยาบาลรัฐนับหมื่นๆ คน เหมือนที่เกิดที่อินเดียหรือไม่

คลับคล้ายคลับคลาว่าเพิ่งเขียนอะไรไปว่าน่าจะแตกต่างกัน เพราะบ้านเราข้าราชการไม่สามารถประท้วงหยุดงานได้ เป็นเรื่องต้องห้ามที่กำหนดไว้ในกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน นอกจากจะลาออกจากระบบราชการ 

แต่ที่คิดก็คือ ในที่สุดแล้ววงการแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์บ้านเราจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ที่มีความรู้ความสามารถจบจากโรงเรียนแพทย์ชั้นนำจะหันไปทำงานภาคเอกชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งที่จบจากโรงเรียนแพทย์ใหม่ๆ ที่เพิ่งตั้งขึ้นไม่นานจะเข้าทำงานกับสถานพยาบาลภาครัฐแทนที่

ต่อไปเราจะไม่มีแพทย์ใช้ทุน เราจะมีการผลิตแพทย์ชนบท แพทย์โควต้าจังหวัดเพิ่มอีกนับพันคนต่อปีเพื่อให้เป็นหมอชุมชน แพทย์ชนบทอยู่โรงพยาบาลรัฐเหล่านี้จะต้องสู้รบปรบมือกับเรื่องราวที่แพทย์โรงพยาบาลเอกชนไม่ต้องเจอ ในขณะที่แพทย์โรงพยาบาลเอกชนถ้ามีปัญหาก็ฟ้องร้องเป็นคดีความในศาล มากกว่าการใช้ความรุนแรงในสถานพยาบาล

เราคงไม่สามารถป้องกันเหตุความรุนแรงในสถานพยาบาลรัฐได้มากนัก สถานพยาบาลของรัฐต้องรับสภาพที่จะต้องเจอกับประชาชนที่ต้นทุนทางสังคมมีน้อย ที่ความอดทนอดกลั้นก็มักจะน้อยตาม และพร้อมที่จะระเบิดออกมาได้ทุกเมื่อสถานพยาบาลรัฐจึงหนีเรื่องความรุนแรงและอะไรๆหลายอย่างที่ไม่เกิดกับโรงพยาบาลเอกชน ไม่พ้น จนกว่าสังคมจะยกระดับขึ้นมาสูงกว่านี้

บ้านเราโชคดีที่มีทางออกคือภาคเอกชนที่สามารถรองรับแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์จำนวนมากและยังขยายตัวต่อเนื่อง นอกเหนือจากผู้ที่เปลี่ยนไปมีอาชีพอื่น นอกจากนี้ภาคเอกชนเรายังขยายบริการไปกลุ่ม CLMV คือแคมโบเดีย ลาว เมียนม่าร์ และเวียตนามที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านได้อีก เพราะคุณภาพของบุคคลากรทางการแพทย์ของเราเป็นที่ยอมรับ และไม่แพงเกินไป

แนวโน้มเรากำลังผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นจากประมาณ 2,000 เป็น 3,000 กว่า จึงมีความเป็นไปได้สูงที่แพทย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์ที่มีชื่อเสียงจะไปทำงานตลาดบนภาคเอกชนที่มีค่าตอบแทนสูง ส่วนแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ใหม่น่าจะเข้าสู่ระบบสาธารณสุขภาครัฐ ที่ต้องพร้อมที่จะสู้รบปรบมือ รับกับความรุนแรงในสถานพยาบ