เวียดนาม : อุปสรรค โอกาสของ SME ไทย(ต่อ)

เวียดนาม : อุปสรรค โอกาสของ SME ไทย(ต่อ)

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นถึง 7.08% ในปี 2561 สูงสุดในรอบ 11 ปี

ทำให้เวียดนามเป็นตลาดที่น่าสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ประชากรของเวียดนามที่มีจำนวน 93.7 ล้านคน 70% อยู่ในวัยแรงงาน (อายุ 15-64 ปี) การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม มุ่งเน้นแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตสินค้าส่งออก ประชากรที่เป็นนักธุรกิจวัยหนุ่มสาวและมีการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นกำลังซื้อที่สำคัญ ทำให้แบรนด์ชั้นนำของโลกอย่าง แอปเปิ้ล สตาร์บัคส์ และแมคโดนัล เข้าไปลงทุนในเวียดนาม ช่วยเสริมสร้าง เทคโนโลยีของเวียดนามให้มีการพัฒนาตามไปด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีกระแสเงินทุนจากประเทศพัฒนาในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ที่เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตมากกว่า 90% ทำให้เวียดนามกลายเป็นส่วนสำคัญในห่วงอุปทานสินค้าของโลกทั้งสินค้า

สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เวียดนามยังได้ออกกฎหมายล่าสุด โดยกระทรวงการคลัง ได้ยกเลิกการกำหนดอัตราการถือครองหุ้นต่างชาติในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่กำหนดไว้ 49% สามารถถือหุ้นใหญ่ในบริษัทในเวียดนามสูงถึง 100 %

Price waterhouse Coopers ได้สำรวจบรรดาผู้นำทางธุรกิจในกลุ่มเอเปค ถึงความสนใจในการลงทุน ปรากฎว่าเวียดนามเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคืออินโดนีเซีย โดยประเทศไทยตามมาเป็นอันดับที่ 3 เมื่อ EVFTA มีผลบังคับใช้ จะมีกลุ่มนักลงทุนชั้นนำที่ลงทุนในไทยย้ายฐานการลงทุนไปเวียดนามมากขึ้นส่งผลกระทบต่อการลงทุนใน EEC ของประเทศไทยอย่างแน่นอน

เวียดนามมีปัจจัยสนับสนุนทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะจุดเด่นทางด้านประชากรในวัยแรงงานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ค่าจ้างแรงานที่ไม่สูง มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เมืองดั๊กนงที่มีประชากร 1.5 ล้านคนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์สัตว์ป่าและพันธ์พืชที่สำคัญ มีน้ำตกกว่า 20 แห่ง มีถ้ำ Son Doong ที่เกิดจากภูเขาไฟ

ซึ่งดับสนิทแล้ว มีความยาว 25 กิโลเมตร มีอากาศเย็นตลอดปี มีแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ มีพืชเมืองหนาวหลากหลายสายพันธ์ เป็นแหล่งปลูกกาแฟเป็นอันดับ 1 ของเวียดนาม มีสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนต่างชาติคือการยกเว้นค่าเช่าที่ดิน 11 ปี ใน 4 ปีแรกยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ใน 9 ปีถัดไป คิดภาษีเพียง 10% ให้ส่วนลดอีก 50% ของจำนวนเงินที่เสียภาษี มีนักลงทุน จากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เยอรมันนี เข้าไปลงทุนธุรกิจที่พัก และโรงแรม บริษัท CP ของไทยเข้าไปลงทุนธุรกิจด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารแล้ว

ในระยะสั้นการบรรลุ EU-VN FTA ยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการลงทุนของไทยอย่างชัดเจน เนื่องจากโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยและเวียดนามยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก ในระยะยาวถ้าเวียดนามสามารถยกระดับภาคการผลิตและทักษะแรงงานให้รองรับการผลิตที่ซับซ้อนได้ เวียดนามนามจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในการส่งออกได้

ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัววางแผนการผลิตและการตลาด เร่งพัฒนาทักษะด้านแรงงานที่ใช้เท็คโนโลยี่และนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ให้กับสินค้าส่งออกที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น

การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามทำให้มีชนชั้นกลางและชนชั้นมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นกำลังซื้อที่สำคัญพร้อมที่ซื้อสินค้าในราคาที่สูงและมีคุณภาพ สินค้าไทยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวเวียดนาม เนื่องจากมีภาพลักษณ์ที่มีคุณภาพคุ้มราคา สินค้าอุปโภคและบริโภคของไทยเป็นที่นิยมของชาวเวียดนาม ไทยในฐานะที่ติด 1 ใน 10 ประเทศที่ลงทุนในเวียดนามเป็นลำดับต้นในเวียดนาม ลงทุนทั้งในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อสังหามทรัพย์และเทคโนโลยี่ ผู้ประกอบการไทยจึงควรใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสจับมือเป็นพันธมิตรกับเวียดนามเพื่อบุกตลาดเวียดนามให้มากที่สุด

ตลาดที่มีประชากรมากกว่า 90 ล้านคน ธุรกิจที่เป็นดาวเด่นและมีความน่าสนใจในเวียดนามในขณะนี้ ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถที่จะเข้าไปลงทุนได้ ธุรกิจที่เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยมีธุรกิจอะไรบ้าง ติดตามต่อไปนะครับ..