จะจัดการศึกษาในยุคหุ่นยนต์แย่งงานคนกันได้อย่างไร

จะจัดการศึกษาในยุคหุ่นยนต์แย่งงานคนกันได้อย่างไร

หุ่นยนต์และหรือระบบอัตโนมัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ทั้งหมด กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถทำงานได้หลายอย่างแทนคนได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 ทั้งงานที่ใช้แรงงานแบบง่ายๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนเพื่อการสินค้าอุตสาหกรรม การขายสินค้าและบริการไปจนถึงการใช้แรงงานสมอง เช่น การทำบัญชี การธนาคาร การเงิน ประเมินการให้สินเชื่อ การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การรักษาพยาบาล ฯลฯ แต่ไม่ว่ามนุษย์จะสามารถลงทุนพัฒนาหุ่นยนต์ให้ทำงานได้ซับซ้อนขึ้น ดีขึ้น แม่นยำขึ้นขนาดไหน หุ่นยนต์ก็มีขีดจำกัดที่หาไม่สามารถให้มันทำบางอย่างเหมือนมนุษย์ได้

หุ่นยนต์ทำงานได้แบบกลไกคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา ทำงานได้เฉพาะงานที่เราสามารถป้อนข้อมูล และโปรแกรมให้หุ่นยนต์ประมวลผลออกมาได้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความแม่นยำ ชัดเจน ของข้อมูลที่เราป้อนให้หุ่นยนต์ ระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์จะประมูลสรุปผลออกมาทางใดทางหนึ่ง ไม่ขาวก็ดำ มันไม่อาจเข้าใจสิ่งที่มีลักษณะกำกวม (Ambivalent) หุ่นยนต์ไม่มีจิตสำนึก และไม่มีการหยั่งรู้แบบลางสังหรณ์ (Intuition) หรือการคาดคะเนเรื่องบางอย่างที่ไม่แน่ชัดจากประสบการณ์ได้เหมือนมนุษย์ และหุ่นยนต์ต้องทำงานทีละอย่าง ไม่สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้เหมือนมนุษย์ (นิโคลัสคาร์ ผู้เขียนเรื่อง The Shallow ให้สัมภาษณ์ อ้างไว้ใน Andrew Keen How to Fix The Future Atlantic Books 2018)

บริษัทโตโยต้า ต้องจ้างกลับช่างฝีมือทำรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพกลับมาทำงานแทนหุ่นยนต์ที่โรงงานบางแห่ง เมื่อเจอสถานการณ์กำกวมที่หุ่นยนต์ไม่เข้าใจและไม่สามารถปฏิบัติการต่ออย่างได้ผลได้ ในกรณีเช่นนี้ช่างฝีมือที่มีประสบการณ์จะแก้ปัญหาได้ดีกว่า ในเรื่องการรักษาพยาบาลก็เช่นกัน หุ่นยนต์อาจจะวิเคราะห์และให้การรักษาหรือแม้แต่ผ่าตัดกรณีที่ชัดเจนไม่ซับซ้อนได้ แต่โรคบางอย่างที่มีความซับซ้อนและมีความเป็นไปได้หลายทาง แพทย์หรือกลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์จะวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งได้ดีกว่า

การจัดการศึกษาในยุคการเติบโตของหุ่นยนต์จึงไม่ใช่แค่สอนให้คนรู้จักเรื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพื่อจะได้รู้จักหุ่นยนต์และทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ รวมทั้งเป็นการดูแลซ่อมแซมหุ่นยนต์และหัวหน้างานหุ่นยนต์เท่านั้น แต่เราต้องจัดการศึกษาให้คนพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ ที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ (หรือทำไม่ได้ดีเท่าคนที่เก่งจริงๆ) เช่น การคิดวิเคราะห์อย่างวิพากษ์วิจารณ์ การคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ การรู้จักและตระหนักในตัวเอง มีวินัยในตนเอง มีจิตสำนึก มีความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางสังคม ความเข้าใจ เห็นใจเพื่อนมนุษย์ (และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักใช้สมองทั้งด้านเหตุผลและอารณ์อย่างสมดุล) ความมีวุฒิภาวะ ประสบการณ์ที่จะคิดตัดสินใจแบบใช้ Intuition – ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำให้ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์ การพัฒนาภาวะผู้นำ การรู้จักแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง การเป็นผู้ประกอบการหรือทำงานอิสระด้วยตนเอง หรืออาจกล่าวโดยรวมก็คือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่เก่งดี มีคุณธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

นี่คือแนวคิดของนักปรัชญา นักการศึกษา ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ พระพุทธเจ้าและนักปราชญ์ มนุษย์นิยม ก่อนยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ที่เป็นพื้นฐานการศึกษาที่สำคัญ ที่เราต้องนำกลับมาพัฒนาขึ้นใหม่อีกในสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบัน เพราะในสังคมตั้งแต่หลังยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม เมื่อ 200-300 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เราใช้แนวคิดแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมได้จัดการศึกษาแบบแย่งงานทำตามความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อผลิตคนไปทำงานรับใช้ระบบเศรษฐกิจ (เพื่อเพิ่มผลผลิตและหารายได้) มากกว่าเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราจัดการศึกษาแบบให้มนุษย์มีความรู้ ทักษะเฉพาะทางไปทำงาน เพื่อเพิ่มผลผลิตสินค้าและบริการคล้ายๆ กับมนุษย์หุ่นยนต์ ......ประเทศและบริการที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้มากที่สุด สามารถผลิตหุ่นยนต์จริงๆ มาทำงานแทนมนุษย์ได้แล้ว ถ้าเรายังจัดการศึกษาแบบเก่าอยู่คนที่เรียนมาเพื่อทำงานแบบมนุษย์หุ่นยนต์อย่างที่ผ่านมา ต่อไปคนที่ทำได้แค่นั้นก็มีสิทธิต้องตกงาน

ในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมเอง ก็มีนักปรัชญาการศึกษาที่มองเรื่องการศึกษาแตกต่างไปจากการศึกษากระสหลักที่แค่ผลิตคนให้ความรู้ทักษะจำนวนหนึ่งที่สามารถไปรับทำงานรับใช้ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมได้ เช่น มอนเตลซอรี่ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งแรกของเธอในโรงเรียนในปี 1907 เธอเชื่อว่าเด็กจะพัฒนาได้ดีที่สุด ถ้าได้รับการฝึกฝนในเรื่องจิตใจและประสาทสัมผัส (Senses) โรงเรียนของเธอเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบกระจายและสอบในห้องเรียนเป็นการเรียนศิลปะของการใช้คือ เช่น การทำสวน การทำงานบ้าน ยิมนาสติก การเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ ที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาให้เด็กได้พัฒนาธรรมชาติความเห็นมนุษย์ มีแรงจูงใจที่จะทำสิ่งต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์และมีวินัยในตัวเองไปตลอดชีวิต ในยุคนั้นพวกนักการศึกษาแบบดั้งเดิมวิจารณ์ว่าแนวคิดเธอเป็นเรื่องเพ้อฝันเชิงอุดมคติ แต่ปัจจุบันโรงเรียนมอนเตลซอรี่ที่พัฒนาตามแนวคิดของเธิกว่า 25,000 แห่งใน 110 ประเทศ นักเรียนเก่าจากโรงเรียนมอนเตลซอรี่ที่มีคนรู้จักมากที่สุด คือ คนร่วมก่อตั้ง Google 2 คน Sergei Brin และ Larr Page

นักปรัชญาการศึกษาที่เสมอการศึกษาทางเลือกที่แพร่หลายอีกคนคือ Rudole Steiner ผู้ก่อตั้งโรงเรียนแนว Walddoffที่ปัจจุบันมีโรงเรียนแนวมากกว่า 1,000 แห่ง ใน 60 ประเทศ เน้นความสำคัญของการมีการศึกษาแนววอลดอล์ฟ ความคิดจิตใจที่เป็นอิสระ จินตนาการ และเจตนารณ์ ความตั้งใจแน่วแน่ –Will (การรู้จักควบคุมตนเอง การตัดสินใจเป็นและมีความผูกพันธ์รับผิดชอบ) ในการพัฒนาเด็ก การสอนของเขาเน้นการฟูมฟักการสร้างสรรค์และการพัฒนาทางด้านอารมณ์ สุนทรียและจริยธรรม เด็กจะได้รับการส่งเสริมให้เล่นเกมกีฬาแบบมีปฏิสัมพันธ์กัน ดนตรี การสร้างสรรค์ และกิจกรรมการเล่นที่เกี่ยวกับการออกกำลัง ในโรงเรียนระดับสูงขึ้นมาพวกเขาเน้น “การศึกษาเพื่อสังคม” ให้ความสำคัญต่อคุณค่าของสังคมมากกว่าการแจ่งขันของปัจเจกชน ในสหรัฐฯ โรงเรียนแนววอลดอล์ฟเป็นที่รู้จักในแง่ พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กดูโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในระดับชั้นต้นๆ แม้เรื่องนี้จะมีคนเห็นแตกต่าง แต่ปรากฎว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ หลายคนนิยมส่งลูกไปเรียนโรงเรียนวอลดอล์ฟ

แนวคิดไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กดูทีวีและจอคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนวอลดอล์ฟ อาจจะมองแบบขาวดำมากไปหน่อย แต่ก็มีเหตุผลสำหรับพ่อแม่หลายคนที่ห่วงผลด้านลบของการที่เด็กติดจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป บางคนคิดว่าเด็กควรเรียนรู้ได้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และทีวีได้มาก ถ้าพ่อแม่รู้จักและนำ ดูแลให้ลูกจัดสรรเวลาและเลือกโปรแกรมที่เหมาะสม ปัญญาชนหัวก้าวหน้าหลายคนก็เริ่มคัดค้านการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์มากเกินไป และหันกลับไปอ่านหนังสือเล่ม ไปฟังเพลงจากแผ่นเสียงสมัยเก่า และทำกิจกรรมในชีวิตแบบดั้งเดิม แบบใช้ชีวิตแบบช้าๆ ไม่รีบร้อนมากขึ้น

กล่าวโดยรวมก็คือ เราต้องพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมดุล สร้างสรรค์ รับผิดชอบ เอื้ออาทร เทคโนโลยีดิจิทัล มีทั้งส่วนที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อำนวยความสะดวกที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคมมนุษย์ รวมทั้งยังคงให้มนุษย์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเห็นแก่ได้ การแก่งแย่งแข่งขัน เอารัดเอาเปรียบความเหลื่อมล้ำต่ำสูง การทำลายสภาพแวดล้อมระบบนิเวศ การสร้างความแปลกแยก ปัญหาความเครียด โรคซึมเศร้า โรคจิตโรคประสาท การเสพติดชนิดต่างๆ และปัญหาสังคมต่างๆ เทคโนโลยีเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์จักต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ใช่นายทุนบริษัทเทคโนโลยีส่วนน้อยเท่านั้น