กฎหมายใหม่ 3 ฉบับ รองรับไทยสู่ยุค “ดิจิทัล”

กฎหมายใหม่ 3 ฉบับ รองรับไทยสู่ยุค “ดิจิทัล”

ในช่วงที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับดิจิทัลรวมสามฉบับ ซึ่งบ่งบอกได้ว่า กฎหมาย 3 ฉบับ

เป็นกฎหมายเพื่อรองรับการบริหารงาน การให้บริการภาครัฐ การพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยใช้ระบบดิจิทัลเกือบเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเข้าสู่ยุค “ดิจิทัล” แล้ว กฎหมายทั้งสามฉบับผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระสามแล้ว ดังนี้

1. กฎหมายที่ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการประชาชน คือ ร่าง พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ... ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติในวาระ สามเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย ขณะนี้อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เหตุผล ที่เสนอให้มีการตรากฎหมายฉบับนี้ คือปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแต่การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐยังมิได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนอย่างเต็มที่ สมควรให้มีกฎหมายในการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน และเพื่อยกระดับการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐให้อยู่ในระบบดิจิทัลอันจะนำไปสู่เป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีระบบการทำงานและข้อมูลเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานของรัฐอย่างมั่นคงปลอดภัยมีประสิทธิภาพรวดเร็วเปิดเผยและโปร่งใสรวมทั้งให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการรับบริการและสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้

มีสาระสำคัญคือ

คำนิยาม

"ดิจิทัล" หมายความว่าเทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูยน์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้างหรือก่อให้เกิดระบบต่างฯเพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์

"รัฐบาลดิจิทัล"หมายความว่า า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐและการบริการสาธารณะโดยปรับ ปรุงการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคง ปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณชน และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

มาตรา 4ให้หน่วยงานภาครัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบช่องทางดิจิทัล ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในวรรคสอง ห้าข้อ

มาตรา5ให้มีแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารงานภาครัฐ และการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัล

มาตรา6 กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา7

มาตรา11 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐส่งเอกสารหลักฐานของทางราชการที่หน่วยงานอื่นต้องใช้ประกอบการพิจารณาการดำเนินการตามกฎหมายในการอนุมัติ ออกใบอนุญาต รับจดทะเบียน รับจดแจ้ง ทางช่องทางดิจิทัล. โดยห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียม.

ถ้ามีการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วให้ถือว่าได้มีการยื่นเอกสารหรือหลักฐานมาแสดงตามกฎหมายของหน่วยงานนั้นแล้ว โดยหน่วยงานนั้นไม่ต้องส่งมาทางช่องทางดิจิทัลอีก

2. กฎหมายจัดตั้งสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย  มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการจัด ตั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คือ

พระราชบัญญัติสภาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่30 เมษายน 2562 มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่1 พฤษภาคม 2562เป็นต้นไป

เหตุผล สมควรจัดคั้งสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย อันเป็นการรวมตัวของภาคเอกชนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านกำลังพล ความรู้ความสามารถ. ประสบการณ์โดยตรง เพื่อให้เป็นองค์กรสำคัญในการทำงานร่วมกับรัฐบาลและภาคเอกชนอื่นฯ ในการสนับสนุนการผลิตและการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล

สาระสำคัญ

คำนิยาม.

ดิจิทัล” หมายความว่าเทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูยน์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้างหรือก่อให้เกิดระบบต่างฯเพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์

มาตรา 5 ให้จัดตั้งสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ตามาตรา6

กำหนดให้มีสมาชิกสามประเภท คือสมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญและสมาชิกกิตติมศักดิ์

สมาชิกสามัญได้แก่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและประกอบธุรกิจหรือออุตสาหกรรมดิจิทัล และสมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลโดยกรรมการสมาคมทั้งหมดจำนวนเกินกึ่งหนึ่งและสมาชิกของสมาคมทั้งหมดจำนวนเกินกึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

3. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้มีสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีลักษณะทำนองเดียวกันกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่25มกราคม 2562 เป็นต้นไป

สาระสำคัญคือ 

คำนิยาม 

ดิจิทัล” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้าง หรือก่อให้เกิดระบบต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์ 

“ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” หมายความว่า ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีการติดต่อสื่อสาร การผลิต การอุปโภคบริโภค การใช้สอย การจำหน่ายจ่ายแจก การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ การศึกษา เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การเงินการลงทุน ภาษีอากร การบริหารจัดการข้อมูล และเนื้อหาหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นใด หรือการใดๆ ที่มีกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ 

ทั้งในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม กิจการโทรคมนาคม กิจการสื่อสารดาวเทียมและการบริหารคลื่นความถี่ โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมทั้งเทคโนโลยีที่มีการหลอมรวมหรือเทคโนโลยีอื่นใดในทำนองเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ซึ่งต้องมีเป้าหมายและแนวทางตามมาตรา6 เป็นอย่างน้อย

ให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 11 โดยคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ได้