ภาวะจิตตื่นรู้ : เพื่อความอยู่รวดแห่งมนุษยชาติ

ภาวะจิตตื่นรู้ : เพื่อความอยู่รวดแห่งมนุษยชาติ

หากจะกล่าวถึงจิต หลายท่านอาจมองเป็นนามธรรม หรือผนวกเข้ากับจิตวิญญาณไปด้วย เลยโยงไปถึงภูตผีอะไรไปทำนองนั้น

แม้แต่วงการวิจัยตรวจสอบคำตอบทฤษฏีต่างๆ ก็โน้มไปในเชิงประจักษ์นิยมผ่านประสาทสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่สามารถสัมผัส จับ วัด ตักตวงได้ ส่วนเรื่องจิตไม่ประจักษ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ว่า มี รู้สึกได้ หรือตระหนักรู้ได้ บางอย่าง สิ่งที่พบเห็น และการได้ยินที่มีปฏิกิริยาตอบสนองตามสัญชาตญาณ หากไม่คิด ไม่นำสิ่งที่พบเห็น และการได้ยินเข้าสู่กระบวนการของจิต สิ่งที่พบเห็น และการได้ยินนั้นเป็นแค่วัตถุดิบยังไม่แปรสภาพ วิชาหรือเรียกว่าปัญญา จึงเป็นไปตามสัญชาตญาณ กระบวนการของจิตเป็นตัวพัฒนาการได้พบเห็นและได้ยินออกจากสัญชาตญาณ ด้วยเหตุนี้จิตเป็นสำคัญในฐานะขับเคลื่อนพฤติกรรมปัจเจก ท้ายที่สุดขับเคลื่อนโลก หากจิตขาดการบริหารดูแลด้วยปัญญาแล้ว จิตจะมีอาการพร่ามัว (อวิชชา) นำไปสู่การสังเคราะห์ นำทางสู่เป้าหมายผิด ขับเคลื่อนไม่ตรงที่ควรจะเป็น หรือเรียกว่าเป็นอาการของจิตไม่รู้ แม้ตื่นตัว ก่อกรรม และสร้างนวัตกรรมใด ๆ ย่อมเป็นไปในทางที่ไม่ตรงความจริง เมื่อเป็นเช่นนี้ พฤติกรรมของสังโลกจึงเอียงไปตามด้วย แต่ในขณะเดียวกันแม้เราหลับตาไม่ได้ดูไปที่วัตถุนั้นๆ แต่มีการคิดตริตรองเรื่องนั้นๆ ด้วยการตระหนักรู้ อาการแบบนี้ ขอใช้คำว่า อาการเห็นจากภายใน จึงเป็นการเห็นทั้งบริบท เห็นปัจจัยที่สัมพันธ์ในฐานะเป็นเหตุเป็นผล (อย่าตีความเป็นเข้าทรงเจ้า) ซึ่งนัยนี้สอดคล้องตามพุทธพจน์ “ สภาวธรรมทั้งหลายมีจิต เป็นแดนเกิดและเป็นปฐมเหตุ” และวาทของไอสไตน์ “จิตนาการสำคัญกว่าความรู้” 

อาการของจิต คือการทำงานของกลุ่มเซลล์ประสาทต่างๆ เป็นเพียงการทำงานของกลุ่มเซลล์ประสาทธรรมชาติตามเหตุปัจจัยและดับไป โดยแยกออกเป็นส่วนสัมผัสข้อมูลซึ่งเป็นความรู้สึกทางประสาท (sensation) ส่วนรับ (perception) เพื่อเข้าใจความหมาย และส่วนประมวลผลสังเคราะห์ จึงทำให้จิตสามารถตอบสนองการทำการรับรู้ตามความเป็นจริง หากรับรู้จำข้อมูลผิดๆ ย่อมส่งผลให้การปรุงแต่งประมวลผลก็ผิด (อวิชชา) ทำให้จิตขาดคุณภาพทำงานผิดตามไปด้วย การเรียนรู้ของจิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ไม่ว่าดีหรือชั่ว ต่างก็เป็นเพียงธรรมชาติของการประมวลผลของเซลล์ประสาทต่าง ๆ ในสมอง ทำให้เกิดการเรียนรู้เป็นประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะถูกนำมาใช้เมื่อจิตมีการรับรู้อารมณ์ใหม่ ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้นับตั้งแต่การรู้สึกตามสัญชาตญาณ (Sensation) การรับรู้สื่อความเข้าใจ (Perception) และการประมวลผลการทำงาน (Cognition) ของจิต ตามลำดับ จนเป็นการกระทำกรรมของกายตอบสนองต่อโลกในที่สุด

การที่พฤติกรรมของมนุษย์ขับเคลื่อนด้วยจิต จิตเป็นสำคัญ นวัตกรรม เครื่องมือหรือแม้แต่การศึกษาไม่ควรมองข้ามเกี่ยวกับการบริหารจิต (เอาจิต หรือใกล้เคียงมากก็คือ การพัฒนาที่ใช้วัฒนธรรมเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดขององค์การสหประชาติว่าด้วยการศึกษา) เพื่อให้จิตมีสภาวะ หรือมีคุณสมบัติเข้มมากพอที่จะมีแรงขับ แรงจูงในรูปอิทธิพลสังคม เพื่อให้พลังสังคมได้ดึงสิ่งดีงามมารวมศูนย์เป็นพลัง หากกระทำได้ดังนี้ จิตสังคม กล่าวคือการที่จิตของคนในสังคมมีพลังด้านบวกเข้มกว่า ด้านลบ อนึ่งนั้นเรามิอาจปฏิเสธสัญชาตญาณดิบ (id) ในฐานะจิตด้านลบ หรืออกุศลจิต สุดแต่จะนิยามความ เนื้อแท้แล้วคือพลังงานของจิตแปรปรวน ทำปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอันเนื่องจากจิตขาดตัวรู้

การบริหารจิต จึงเป็นวิธีการทำให้จิต 1. มีความมุ่งมั่น มีสมรรถนะ มีพลัง (สมาธิ) ทำงานสัมพันธ์กับพฤติกรรมกาย สังคม ตลอดจนกิจการต่างๆ ลุล่วงด้วยการตื่นตัว 2.มีสุขภาวะดี (มีความสุข) ทำงานสัมพันธ์กับปัญญา มองโลก ชีวิต แยกวิเคราะห์สิ่งที่กระทบจิต และ3. มีคุณภาพทำงานสัมพันธ์กับความดีงาม คุณค่า ที่นี้เพื่อความชัดเจนจึงขอสังเคราะห์สภาวะของจิตทั้งสามให้เห็นภาพดังนี้ จิตมีคุณสัมพันธ์กับความอยู่รวดของสังคม และการอยู่รอดนั้นวุ่นวายหรือไม่ และกิจการต่างๆ ลุล่วงตามเป้าหมาย จากการสังเคราะห์นี้เพื่อตอบโจทย์ สภาวธรรมทั้งหลายมีจิต เป็นแดนเกิดและปฐมเหตุ และวาทของไอสไตน์ จิตนาการสำคัญกว่าความรู้

การเรียนแบบจำ แบบอ่านแบบจด หากขาดกระบวนการทำงานของจิต ปัญญาเป็นเพียงรู้เห็นเท่านั้น ตามหลัก การที่เรารู้เห็นได้แค่ไหน ก็จะทำให้คิดเห็นเท่านั้น ความรู้แบบจำแบบจดแบบฟัง ไม่ทันการคิด ที่มีความเร็วเหนือเสียง พอเห็นก็เป็นตัวคิด หรือคิดไม่ทันได้เห็น คิดตามประสบการณ์ต่างๆ ดังนั้นเนื่องจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ มีทั้งดี และเสีย เมื่อการสัมผัสแล้วส่งไปยังจิตตลอดเวลา จิตเห็น จิตรู้ ด้วยการใส่เคมีที่เรียกว่า สติ ควบคู่กับจิตตลอดเวลา ด้วยวิธีการนี้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้จิต ตื่นรู้ ด้วยปัญญา หากจิตทำงานไม่สัมพันธ์กับปัญญาแล้ว เป็นเพียงตื่นตัว ตื่นตูม ขาดการตื่นรู้ การใด ๆ ที่ขาดจิตตื่นรู้ ย่อมมีผลกระทบโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารจิตหรือฝึกจิตตามแนวสติปัฏฐาน เป็นวิธีการทำให้จิตตื่นรู้ และมีงานวิจัยรองรับว่าเป็นทั้งวิธีทำให้จิตผ่อนคลาย และเกิดปัญญา ประเทศไทยโชคดีที่มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการบริหารจิต ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งสำนักที่จัดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ สถาบัน และวัด 

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือบริษัท กูเกิล (Google) search engine ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา ได้มีการพัฒนาบุคลากรโดยใช้การฝึกการเจริญสติอย่างจริงจังเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อจิตสงบมีความละเอียดที่กรองการสัมผัสอารมณ์ เวลาเกิดอารมณ์กิเลส (Emotion) อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เราจะรู้สึกว่าหัวใจกับปอดทำงานผิดปกติ และมีมโนภาพเกิดในสมองมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นการทำงานที่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น อารมณ์กิเลสจึงก่อความเหนื่อยทางใจและกายขึ้นเป็นความเครียดทางสรีระวิทยาทราบว่า ปรากฏการณ์ทางจิตทุกอย่าง ย่อมเกิดพร้อมทั้งปรากฏการณ์ทางกาย และสื่อถึงสังคม 

โดย... 

ผศ.ดร.ชมพู โกติรัมย์

วิทยาลัยดุสิตธานี