From Technology  to Touchnology

From Technology  to Touchnology

GENTLUCA เป็นแบรนด์ของกระดาษซับมัน ซึ่งก่อตั้งโดย พิมมุก รุ้งกมลพันธ์ และน้องชาย รชต รุ้งกมลพันธ์ 

เริ่มจากไอเดียจุดประกาย ที่พิมมุกสำเร็จการศึกษาได้รับ Certificate ด้านเครื่องสำอางจากญี่ปุ่นและมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นบอกว่า 

“น่าจะทำกระดาษซับมันดีๆให้คนไทยใช้นะ สิ่งที่พวกคุณใช้อยู่มันแย่มาก” พิมมุก จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าหาแหล่งวัตถุดิบและคัดสรรผู้ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลิต GENTLUCA ต่อมาในปี 2559 ก็ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท บีแอททิวด์ จำกัด ขึ้นที่ประเทศไทยเพื่อนำเข้าผลิตภัณฑ์ GENTLUCA จากญี่ปุ่น โดย GENTLUCA ได้เริ่มว่างจำหน่ายสินค้าในเดือนก.พ. 2560 เป็นครั้งแรก ผ่านช่องทาง Modern Trade ที่ร้านมัสซึคิโยะ 33 สาขาทั่วประเทศ

แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์คือ การใช้เทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างนวัตกรรม โดย GENTLUCA กระดาษซับมันที่มีนวัตกรรมมากกว่ากระดาษซับมันทั่วไปในท้องตลาด โดยผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ คือ ถ่านไม้ไผ่ ที่ดูดซับความมันและฝุ่นละอองได้มากกว่ากระดาษซับมันทั่วไป 10 เท่า ทำให้ไม่ต้องใช้กระดาษซับมันวันละหลายครั้ง และไม่อุดตันรูขุมขนเหมาะสำหรับผู้ที่ผิวหน้ามันมาก ช่วยลดอาการอักเสบสำหรับผู้ที่เป็นสิวและผิวแพ้ง่าย ไม่ทำให้เมคอัพหลุด 

และด้วยใยกระดาษที่ผลิตจาก ปอป่านออแกร์นิค ทำให้เนื้อกระดาษนุ่มนวลให้ความรู้สึกสะอาด อ่อนโอนไม่บาดผิวและไม่ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย จึงเป็นมากว่า Technology แต่เป็นการสร้าง Touchnolgy ที่ลูกค้าสามารถสัมผัสจริงได้ด้วยประสาทสัมผัส

สำหรับกลุ่มเป้าหมายนั้น รชต กำหนดไว้ให้เป็นกลุ่มผู้ชาย Metrosexual ที่ต้องการภาพลักษณที่ดูดี 

รชตเล่าว่า การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีคาแรคเตอร์ลักษณะเฉพาะตัวและชัดเจน มาจาก pain point ของตัวเองที่ว่า เวลาที่จะใช้กระดาษซับมันไม่กล้าหยิบออกมาใช้ในที่สาธารณะเพราะมันดูไม่ดี ดูไม่ใช่ผู้ชาย จึงอยากให้มีกระดาษซับมันที่สามารถพกพาถือไปได้ทุกที่และต้องดูดีด้วยไม่ต้องกังวลเรื่องภาพลักษณ์เวลาใช้งาน

รชตเล่าว่า ในการทำในสินค้านวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมายนั้น ผู้ประกอบการต้องเริ่มจาก การมองว่าตัวเราเองเป็นลูกค้า จึงจะรู้ว่าลูกค้าทำไมลูกค้าเลือกที่จะซื้อ GENTLUCA ซึ่งพบว่า กลุ่มเป้าหมายแบรนด์ต้องการภาพลักษณที่ดูดี มีรสนิยม ไม่ใช่แค่การตอนใช้แต่ต้องดูดีมีรสนิยมตั้งแต่ตอนซื้อ กลยุทธ์จึงเริ่มต้นตั้งแต่ทำอย่างให้คนที่เลือกหยิบสินค้า คำตอบคือ Package 

ขณะที่การสื่อสารผ่าน Packaging จึงเป็นอีกเรื่องสำคัญ ซึ่ง รชตเน้นให้ความสำคัญที่ สี โดยเลือกใช้สี PRUSSIAN BLUE เป็นสีที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ มีความสุขุม ให้ความรู้สึกถึงความมีประสิทธิภาพและความรับผิดชอบ 

นอกจากนี้ Packaging ได้ออกแบบการใช้งานเป็นการดึงกระดาษแบบ Pull-pop ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน สะอาดไม่มีแทบกาวซึ่งเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย เป็นต้น และยังใช้ Emotional Connection-Based คือ Packaging ก่อให้เกิดการซื้อครั้งแรก เหมือนเป็น Sense ที่ตรงใจลูกค้า และเมื่อลูกค้าได้ใช้ ยิ่งทำให้เกิด Touchnology จากคุณภาพระดับพรีเมียมของสินค้าจะสร้าง loyalty ให้เกิดกับลูกค้าได้

สำหรับการสื่อสารการตลาดนั้น เริ่มแรกภาพกลุ่มเป้าหมายเป็นภาพของพวกนักบินหรือสจ๊วต ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมี connection ในสังคมออนไลน์ค่อนข้างมาก และมีlifestyle ที่น่าสนใจ สิ่งที่แบรนด์ทำคือการเข้าไปติดต่อบุคคลเหล่านี้และเล่าถึงภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งภาพลักษณ์ที่วางไว้ชัดเจนมากในเรื่องของคุณภาพและความดูดีมีรสนิยม

กรณีศึกษาของ GENTLUCA สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจที่ผู้ประกอบการมีความชัดเจนในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย ในการผลิตสินค้าใดๆนั้น เทคโนโลยีอย่างเดียวไม่สามารถการันตีถึงความสำเร็จ แต่การออกแบบสินค้าและPackage เพื่อลด pain point ทำให้ได้สินค้าที่ใช่สำหรับคนที่ใช่ สื่อสารโดยคนที่ใช่โดนคนใช้ได้ไม่ยากในสภาพตลาดในปัจจุบัน

---------------

เครดิตกรณีศึกษา..การสัมภาษณ์ รชต รุ้งกมลพันธ์ โดยเบญญาภา จิรจริต ,อรณิชา เต็งณฤทธิ์ศิริ ,ศรัณย์ รัตนกุลวรานนท์ ,จอมพัฒน์ เทศประสิทธิ์ .รุจีพัชร มัฎฐาพันธ์ ,กิรณา มุ่งเจริญ และอภิญญา สำราญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล